Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10526
Title: | ผลการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยบูรณาการการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Effects of teaching art history by using computer intergrated learning for upper secondary school students in Bangkok Metropolis |
Authors: | ทวิ ไพสิฐพัฒนพงษ์ |
Advisors: | ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Poonarat.P@Chula.ac.th |
Subjects: | การเรียนการสอนผ่านเว็บ อินเตอร์เน็ตในการศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลป์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยบูรณาการการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ที่กำลังศึกษาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2545 จำนวน 24 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ โดยเรียนจากคอมพิวเตอร์ในลักษณะเว็บเพจ จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 1 คาบเรียน โดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าเฉลี่ย ([Mean] ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยบูรณาการการเรียนของนักเรียนเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการทดสอบค่าสถิติที (t-test) แล้วพบว่าความแตกต่างกัน โดยคะแนนของผลสัมฤทธิ์หลังเรียน ([Mean] = 32.08) สูงกว่าก่อนการเรียน ([Mean] = 11.46) 2) ด้านความคิดเห็นต่อการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยบูรณาการการเรียนแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ความคิดเห็นด้านความพึงพอใจต่อการใช้เว็บเพจในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ([Mean] = 3.61) ตอนที่ 2 ความคิดเห็นด้านการนำเว็บเพจไปใช้ในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ([Mean] = 3.92) ตอนที่ 3 ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมของการใช้เว็บเพจกับลักษณะรายวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ([Mean] = 3.92) สรุปว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยบูรณาการการเรียน อยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก ([Mean] = 3.85) |
Other Abstract: | The Purposes of this research were to study academic achievement and opinions of upper secondary school students in Bangkok metropolis who studied art history by integrated computer. The sample consists of 24 upper secondary school students in the academic year 2002 from Chulalongkorn University Demonstration secondary school. The numbers of sample participated in studying art history by integrating computer in the form of web pages for four periods of fifty minutes session. The academic achievement test and the attitude test were used as data collection instruments. The t-test, mean and standard deviation were utilized for data-analysis by program SPSS for testing the hypothesis. The results were as follows: 1) After the treatment, the posttest scores on the academic achievement were higher than its posttest scores at the .05 level of significance by the t-test. The result shows that posttest scores are higher than pretest scores. 2) The results of opinions test categorized in to three parts are outlined below. Part 1 The opinions about the satisfaction with the use of web pages in art history instruction is at high level. Part 2 The opinions about using web pages in art history instruction is at high level. Part 3 The opinions about the appropriateness between web pages and art history course is at high level. It is concluded that student's opinions about teaching art history integrated computer are high level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10526 |
ISBN: | 9741730837 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.