Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10552
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์-
dc.contributor.authorพันวิชณ์ โรจนตันติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-08-26T09:55:37Z-
dc.date.available2009-08-26T09:55:37Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741724101-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10552-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาแนวทางหรือวิธีการในการประสานประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพ ของปัจเจกชนในการตรากฎหมาย เนื่องจากกฎหมายที่ถูกตราขึ้นแม้ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ก็อาจมีผลเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตามที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองภายใต้ รัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางในการประสาน “ประโยชน์สาธารณะ” กับ “สิทธิเสรีภาพ” เพื่อใช้เป็นหลักการในการออกกฎหมาย ใ ห้สามารถตอบสนองต่อประโยชน์สาธารณะ โดยที่ไม่เป็นการกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนมากเกินไป จากการศึกษาพบว่าแนวความคิดเรื่อง "ประโยชน์สาธารณะ" อาจถือได้ว่าเป็นขอบเขตที่กว้างขวางที่สุดของกฎหมายมหาชน ซึ่งในการใช้อำนาจรัฐเพื่อตรากฎหมายออกมาใช้บังคับ ต้องเป็นไปเพื่อจัดทำหรือรักษาซึ่งประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของส่วนรวมในสังคมให้มากที่สุด ส่วนแนวความคิดเรื่อง “สิทธิเสรีภาพ” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้มีการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงได้มีการวางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมาย มาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ในมาตรา 29 หากองค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายคือองค์กรนิติบัญญัติ ไม่ได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ในการประสานประโยชน์สาธารณะ กับการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการใช้อำนาจของตนตรากฏหมายแล้ว กฎหมายดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เนื่องจากกฎหมายฉบับใดที่คำนึงถึงแต่ ประโยชน์สาธารณะเพียงด้านเดียว ก็อาจทำให้ประชาชนเดือดร้อน หรือกฎหมายฉบับใดมุ่งที่จะรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนพียงด้านเดียว ก็ไม่อาจก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะได้ ดังนั้นหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการประสาน ประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน ในการตรากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ จะต้องเป็นแนวทางหรือวิธีการที่ทำให้ความเสียหาย จากการถูกกระทบสิทธิเสรีภาพ ของปัจเจกชนโดยรัฐเกิดขึ้นน้อยที่สุด ในขณะที่รัฐสามารถดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะได้สูงสุด นั่นคือ หลักความได้สัดส่วนซึ่งเป็นหลักสำคัญที่ทำให้การตรากฎหมาย สามารถประสานความต้องการของสองสิ่งที่ขัดแย้งกัน ให้ดำเนินไปควบคู่กัน กล่าวคือ หน้าที่ในการการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย ออกมาเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะฝ่ายหนึ่ง กับสิทธิเสรีภาพที่ปัจเจกชน ได้รับความคุ้มครองอีกฝ่ายหนึ่งen
dc.description.abstractalternativeTo study the methods in the reconciliation of public interest and individual liberties in the Thai legislative process. Although an act is passed to enhance public interest, it might result in a limitation of individual liberty protected under the Constitution. Hence, proper methods in the above stated reconciliation are very important to response to the call of public interest and to avoid unnecessary limitation on individual liberty. “Public interest” is the most extensive scope of the public law. That is to say, an act is approved in order to provide public services or maintain public interest as well as social requisition. “Liberty”, on the other hand, must be considered since it is recognized by the constitution. Section 29 of the Thai Constitution states the rule on legislation affecting individual liberty. Unless the legislative branch follows the reconciling way in passing a law, there will be some conflicts in the society. A law promulgated solely for public interest will likely cause individuals to suffer, while a law concerned only individual liberty cannot bring about public interest. Ultimately, the legislative should passes a law uplifting public interest, yet minimizing the lost from lessening individual liberty. The principle behind this goal is so-called “Principle of Proportionality" the most crucial principle in legislation.en
dc.format.extent1027269 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผลประโยชน์สาธารณะen
dc.subjectเสรีภาพส่วนบุคคลen
dc.subjectกฎหมาย -- ไทยen
dc.titleการประสานประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในการตรากฎหมายen
dc.title.alternativereconciliation of public interest and individual liberty in Thai legislation processen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phunwich.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.