Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10574
Title: การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรของไทยกับสหรัฐอเมริกาในสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493)
Other Titles: Thailand's allying with the United States in the Korean War (1950)
Authors: นที เจียมเจริญ
Advisors: ปณิธาน วัฒนายากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Panitan.W@chula.ac.th
Subjects: ไทย -- ความร่วมมือทางทหารกับต่างประเทศ -- สหรัฐอเมริกา
สงครามเกาหลี, ค.ศ. 1950-1953 -- ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสาเหตุการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรของไทยกับสหรัฐอเมริกาในสงครามเกาหลีเมื่อปี พ.ศ. 2493 ในช่วงสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยการดำเนินนโยบายต่างประเทศไทยดังกล่าวนั้น ในบริบทของสงครามเย็นที่เป็นระบบ 2 ขั้วอำนาจ เป็นการแสดงนัยถึงการเข้าเป็นฝักฝ่ายกับโลกเสรี และถือเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นพันธมิตรระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาที่เป็นรูปธรรม เนื่องจาก ความช่วยเหลือต่างๆ จากสหรัฐอเมริกาต่อไทยนั้นเกิดขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังการเข้าสู่สงครามเกาหลีของไทย งานวิจัยนี้ ได้นำงานวิชาการที่อธิบายการเข้าสู่สงครามเกาหลีของไทย รวมถึง ทฤษฎีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเรื่องการฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และการเข้าเป็นพันธมิตรของรัฐ มาประกอบในการอธิบายสาเหตุนโยบายดังกล่าว โดยวิธีการศึกษานั้น เป็นการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามเกาหลี รวมถึงการนำทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาอธิบายควบคู่ไปกับการอธิบายเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ภาพของการดำเนินนโยบายดังกล่าวมีความสมบูรณ์ขึ้น ผลจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรของไทยกับสหรัฐอเมริกาในสงครามเกาหลี มิได้มีสาเหตุมาจากการมีภัยคุกคามร่วมกันแต่เพียงอย่างเดียว หรือไทยต้องการให้สหรัฐอเมริกาสนับสนุนต่อต้านภัยคุกคามคอมมิวนิสต์เท่านั้น ตามคำอธิบายของงานวิชาการส่วนใหญ่ในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1990 และกรอบการอธิบายของสำนักสัจจนิยมที่ให้น้ำหนักกับปัจจัยภายนอก แต่การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ได้เสริมสร้างความมั่นคงของระบอบของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งในการสยบภัยทางการเมืองภายใน สนับสนุนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของผู้นำทหาร รวมถึงต่อประเทศในภาพรวม โดยสอดคล้องกับคำอธิบายของงานส่วนใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา และเป็นไปตามกรอบการอธิบายที่นำเสนอโดย ไมเคิล เอน บาร์เนท และแจค เอส ลีวี ที่ให้น้ำหนักกับปัจจัยภายใน
Other Abstract: The objective of this thesis is to examine the causes of Thailand's decision to allying herself with the United States in the Korean War in 1950, which occurred in the period of Phibun Songram Government. In the context of the Cold War and bipolar system, the decision implied that Thailand was moving toward the West. It also marked the beginning of a close alliance between Thailand and the United States. Several types of aids from the United States to Thailand began or increased substantially right after that. This study utilized several selected theories of International Relations together with relevant literatures that explained Thailand's decision. The method of this study is a historical approach, using documentary research and interviewing the persons involved in the Korean War. The study found that the alliance between Thailand and the United States in Korean War was not based only on mutual or collective security on the desire to bring the United States to support and protect Thailand from the communist threat, as suggested by most literatures before the decade of 1990. It found that allying with the United States had enhanced the interest of Phibun regime, namely, depressing threat from the domestic politics; supporting the economic interest of other military leaders, and enhanced the security of the country as a whole. This finding is more compatible with literatures after 1990's, and also in accordance with the internal factor explanation by Michael N. Barnett and Jack S. Levy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10574
ISBN: 9741726783
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natee.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.