Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10586
Title: | สภาร่างรัฐธรรมนูญกับการร่างรัฐธรรมนูญตามแนวรัฐธรรมนูญนิยม |
Other Titles: | The constitution drafting assembly and the constitution drafting under constitutionalism |
Authors: | วลัยมาศ แก้วศรชัย |
Advisors: | บวรศักดิ์ อุวรรณโณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Borwornsak.U@Chula.ac.th |
Subjects: | รัฐธรรมนูญนิยม สภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในรัฐเสรีประชาธิปไตย แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) ในฐานะที่เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการจำกัดการใช้อำนาจรัฐ ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศทั้งหลายเหล่านั้น มีรัฐธรรมนูญที่สามารถจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ตลอดจนองค์กรทางการเมืองต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีความชอบธรรม อันนำมาซึ่งระบอบรัฐธรรมนูญที่มีความมั่นคงได้ แต่สำหรับในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญซึ่งมีที่มาจากวิธีการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มิได้เกิดจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นระบบ ได้เป็นสาเหตุสำคัญซึ่งทำให้แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม ไม่อาจสถาปนาขึ้นในระบอบรัฐธรรมนูญไทยได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นผลให้รัฐธรรมนูญซึ่งเคยมีการบังคับใช้ในจำนวนมากถึง 15 ฉบับ ตลอดช่วงระยะเวลา 60 กว่าปีที่ผ่านมา ไม่อาจแก้ไขปัญหาของระบบการเมืองไทยได้ อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งองค์กรพิเศษ เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ ในรูปแบบของ "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 ภายใต้องค์ประกอบและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญที่แตกต่างไปจากการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญในชุดอื่นใด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยวิธีการยกร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวทางในการยกร่างรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจน โดยคำนึงถึงสภาพปัญหาของระบบการเมืองไทย และวิเคราะห์หามาตรการและกลไกในการแก้ไขปัญหาไว้อย่างเป็นระบบ ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญ ที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น ซึ่งต่อมาได้รับการประกาศและมีผลบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีเนื้อหาและหลักการในสาระสำคัญที่สอดคล้องกับแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมมากกว่าที่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นสำคัญ ในการสถาปนาแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมให้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และถาวรในระบอบรัฐธรรมนูญไทย อันจะเป็นผลให้ประเทศไทยได้มีระบบการปกครอง ที่มีความชอบธรรมและมีประสิทธิภาพดังเช่นนานาอารยะประเทศ |
Other Abstract: | In many democratic States, the Constitutionalism is a fundamental concept for drafting and interpreting the Constitution so as to secure rights and liberties of individuals from an abuse of power. The Constitution of those States are therefore systematic, effective, and justifiable because, under Constitutionalism concept, the relationships between the State, people and political organizations are imposed with regards to rights and liberties of individuals and functions of the States. In Thailand, however, it appears from the result of the research that even though Thailand, along the past 60 years, had 15 Constitutions, but many problems in Thai political system are standstill. This is because those Constitutions had been drafted without regards to problems of the Thai political in all aspects. It could therefore be said that the Constitutionalism never been established completely in Thailand. It is nevertheless noticeable that the new Constitution drafted by the "Constitution Drafting Assembly," the special organization established to drafting of the new Constitution under the Constitution of the Kingdom of Thailand as amended by the Constitution of the Kingdom of Thailand (No.6), B.E. 2539 is quite different from the past Constitutions in essence, especially in rules and for making the draft Constitution. The Constitution Drafting Assembly firstly did collect all problems of Thai political system and, then, analyst the measure to overcome those problems systematically. This is te reason why an essence of the draft Constitution which had been proclaimed to be the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2540 in 1997 comply with the Constitutionalism concept more than its forerunners. It could therefore be said that the Constitutionalism concept is established firstly in Thailand in the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2540 and rights liberties of individuals shall be effectively and completely secured as that of people in any other democratic countries since then. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10586 |
ISBN: | 9743318046 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waldlmas_Ka_front.pdf | 807.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_ch1.pdf | 809.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_ch2.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_ch3.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_ch4.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_ch5.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_ch6.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_ch7.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_ch8.pdf | 820.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Waldlmas_Ka_back.pdf | 844.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.