Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10620
Title: | ผลของการสอนแบบมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย |
Other Titles: | Effects of participatory teaching self-care knowledge and self-care agency of myocardial infarction elderly patients |
Authors: | ชุติมา ผังชัยมงคล |
Advisors: | พิชญาภรณ์ มูลศิลป์ จิราพร เกศพิชญวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pichayaporn.M@Chula.ac.th Jiraporn.Ke@Chula.ac.th |
Subjects: | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ผู้สูงอายุ -- การดูแล กล้ามเนื้อหัวใจตาย Self-care, Health Older people -- Care Myocardial infarction |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการสอนแบบมีส่วนร่วมในการดูแล ตนเอง ต่อ ความรู้ และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีอายุ 60 ปี เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยหอผู้ป่วยอายุรกรรม ของโรงพยาบาล และอยู่ในช่วงวางแผนจำหน่ายกลับบ้าน จำนวน 30 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการจับคู่ ได้กลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนแบบมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติจากพยาบาลประจำการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสอนแบบมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง แบบทดสอบความรู้ในการดูแลตนเอง แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ในการดูแล ตนเอง และแบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเอง ได้ค่าเท่ากับ .81 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ภายหลังการสอนแบบมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนได้รับการสอนแบบมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ภายหลังการสอนแบบมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนได้รับการสอนแบบมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 3. ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ได้รับการสอนแบบมีส่วนร่วม ในการดูแลตนเอง สูงกว่าผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ได้รับการสอนแบบมี ส่วนร่วมในการดูแลตนเอง สูงกว่าผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this quasi-experimental research were to study effects of participatory teaching on self-care knowledge and self-care agency of myocardial infarction elderly patients. The quasi-experimental research of pretest - posttest control group design was utilized. Samples were 30 myocardial infarction elderly patients, medical ward in Ramathibodi hospital and were selected by matched pairs into one experiment group and one control group, 15 in each group. The experimental group received participatory teaching while the control group received regular health teaching. Research instruments were a participatory teaching plan, a self-care knowledge of myocardial infarction test and a self-care agency questionnaire of myocardial infarction. The instruments were tested for content validity by group of experts. The reliability of the self-care knowledge test and the self-care agency questionnaire were .81 and .72 respectively. Data were analyzed by mean, standard deviation and t - test statistic. Major findings were as follows: 1. The self-care knowledge of myocardial infarction elderly patients after receiving the participatory teaching was significantly higher than before receiving the teaching, at the .05 level. 2. The self-care agency of myocardial infarction elderly patients after receiving the participatory teaching was significantly higher than before receiving the teaching, at the .05 level. 3. The self-care knowledge of myocardial infarction elderly patients after receiving the participatory teaching was significantly higher than regular health teaching , at the .05 level. 4. The self-care agency of myocardial infarction elderly patients after receiving the participatory teaching was significantly higher than regular health teaching , at the .05 level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10620 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.661 |
ISBN: | 9741706359 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.661 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chutima.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.