Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10624
Title: ผลของการใช้หัวเรื่องต่างกันในแบบสอบเลือกตอบต่อคะแนนสอบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับความสามารถต่างกัน
Other Titles: The effects of using different headings within multiple choice test on the test scores of prathom suksa six students with different ability levels
Authors: ธีรยุทธ ภูเขา
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Subjects: ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ความจำ
การจำ (จิตวิทยา)
การระลึก (จิตวิทยา)
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการใช้หัวเรื่องต่างกันในแบบสอบเลือกตอบที่มีต่อคะแนนสอบของนักเรียนที่มีระดับความสามารถต่างกัน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลชัยนาท จ.ชัยนาท จำนวน 208 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 52 คน แต่ละกลุ่มมีนักเรียนที่มีระดับความสามารถสูง ปานกลาง และต่ำ จำนวนเท่าๆ กัน สุ่มให้เป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ 1 ทำแบบสอบเลือกตอบแทรกหัวเรื่องแบบเป็นชื่อเรื่อง กลุ่มทดลองที่ 2 ทำแบบสอบเลือกตอบแทรกหัวเรื่องแบบเป็นข้อความ กลุ่มทดลองที่ 3 ทำแบบสอบเลือกตอบแทรกหัวเรื่องแบบเป็นคำถาม และกลุ่มควบคุม ทำแบบสอบเลือกตอบธรรมดาที่ไม่แทรกหัวเรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบเลือกตอบ เรื่อง พลังงานและสารเคมี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง (Two-way Analysis of Variance) ซึ่งสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ทำแบบสอบแทรกหัวเรื่องต่างกันและแบบสอบที่ไม่แทรกหัวเรื่องมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนสอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. นักเรียนที่มีระดับความสามารถสูงและทำแบบสอบแทรกหัวเรื่องแบบเป็นชื่อเรื่องมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนสอบสูงกว่านักเรียนที่ทำแบบสอบไม่แทรกหัวเรื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: Studies the effect of headings within multiple choice test on test scores of students with different ability levels. The subjects of this research were 208 prathom suksa six students at Anuban Chainat School, Chainat. The subjects were divided into four groups (fifty-two students in each). Each group comprised of students whose ability levels were high, moderate and low. They were randomly assigned into three experimental groups and one control group. The first experimental group took a test with headings in the form of titles, the second took a test with headings in the form of statements, the third took a test with headings in the form of questions and the control group took a test without heading. The instrument of this research was a multiple choice test on "Energy and Chemicals". Two-way analysis of variance was used to analyze the collected data. The results of this research were as follows: 1. The arithmetic mean of the scores of the students who took the test with headings were not significantly different from the students who took the test without heading at 0.05 level. 2. The arithmetic mean of the scores of the high ability level students taking the test with headings in the form of title was significantly higher than those taking the test without heading at 0.05 level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10624
ISBN: 9746388142
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thirayut_Ph_front.pdf834.62 kBAdobe PDFView/Open
Thirayut_Ph_ch1.pdf833.93 kBAdobe PDFView/Open
Thirayut_Ph_ch2.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Thirayut_Ph_ch3.pdf989.18 kBAdobe PDFView/Open
Thirayut_Ph_ch4.pdf808.59 kBAdobe PDFView/Open
Thirayut_Ph_ch5.pdf814.31 kBAdobe PDFView/Open
Thirayut_Ph_back.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.