Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10655
Title: การสังเคราะห์ยางธรรมชาติกราฟต์สไตรีนเพื่อเป็นสารเสริมทนแรงกระแทกสำหรับพอลิไวนิลคลอไรด์
Other Titles: Synthesis of natural rubber grafted styrene as impact modifier for poly (Vinyl chloride)
Authors: วัฒนชัย ล้วนแก้ว
Advisors: ภัทรพรรณ ประศาสน์สารกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ppattara@netserv.chula.ac.th, Pattarapan.P@Chula.ac.th
Subjects: สไตรีน
โพลิไวนิลคลอไรด์
ยาง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการกราฟต์สไตรีนบนยางธรรมชาติด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบคอร์ชลล์อิมัลชัน โดยออกแบบการทดลองเป็นแบบแฟกทอเรียลสองระดับ ศึกษาผลของตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อร้อยละการเปลี่ยนและประสิทธิภาพการกราฟต์ ตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิปฏิกิริยา อัตราส่วนสไตรีนต่อยางธรรมชาติ และความเข้มข้นตัวริเริ่มปฏิกิริยา จากการศึกษาแบบแฟกทอเรียลสองระดับ พบว่า ทั้งอุณหภูมิปฏิกิริยา อัตราส่วนสไตรีนต่อยางธรรมชาติ และความเข้มข้นตัวริเริ่มปฏิกิริยามีผลต่อร้อยละการเปลี่ยนและประสิทธิภาพการกราฟต์และภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ยางธรรมชาติกราฟต์สไตรีน คือ อุณหภูมิปฏิกิริยา 50 องศาเซลเซียส อัตราส่วนสไตรีนต่อยางธรรมชาติเท่ากับ 1.0 และความเข้มข้นตัวริเริ่มปฏิกิริยา 2 ส่วน โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 8 ชั่วโมง วิเคราะห์หมู่ฟังก์ชั่นของยางธรรมชาติกราฟต์สไตรีนด้วยอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ สัณฐานวิทยาของยางธรรมชาติกราฟต์สไตรีนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่งผ่าน พบว่ามีลักษณะเป็นแบบคอร์-เชลล์ นอกจากนี้ศึกษาการนำยางธรรมชาติกราฟต์สไตรีนมาใช้เป็นสารเสริมทนแรงกระแทกสำหรับพอลิไวนิลคลอไรด์ โดยการเตรียมพอลิเมอร์ผสมของพอลิไวนิลคลอไรด์กับยางธรรมชาติกราฟต์สไตรีน ศึกษาผลของปริมาณยางธรรมชาติกราฟต์สไตรีนที่มีผลต่อสมบัติเชิงกล สมบัติเชิงความร้อนและสัณฐานวิทยาของพอลิเมอร์ผสม
Other Abstract: Graft copolymerization of styrene onto natural rubber in the emulsion process was studied. A two-level factorial experimental design was applied to determine the main effect on conversion and grafting efficiency. The variables investigated in this work were reaction temperature, ratio of styrene and natural rubber and initiator concentration. The two-level factorial experimental design showed that temperature, ratio of styrene and natural rubber and initiator concentration have a significant effect on the conversion and grafting efficiency. The optimum condition of graft copolymerization was found to be at 100 parts by weight of styrene per 100 parts by weight of natural rubber, 2.0 parts by weight of initiator and at a temperature of 50 ํC for 8 hours. The functional group determined by FT-IR and the particle morphology determined by TEM shows the core-shell structure. The grafted natural rubber could be used as an impact modifier for PVC. The effect of grafted natural rubber content on mechanical properties, thermal properties and morphology of polymer blends was investigated.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10655
ISBN: 9741721161
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wattanachai.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.