Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10704
Title: อุดมการณ์วิชาชีพของบุคลากรสื่อวิทยุโทรทัศน์ของรัฐ
Other Titles: The professional ideology of media practitioners in state television
Authors: จิรันดา กฤษเจริญ
Advisors: อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubonrat.S@chula.ac.th
Subjects: สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11
อุดมการณ์
สื่อมวลชน -- ลูกจ้าง
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ทราบถึงอุดมการณ์วิชาชีพของบุคลากรสื่อวิทยุโทรทัศน์ของรัฐหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 (สทท.11) ว่าประกอบด้วยอุดมการณ์ใดบ้าง ตลอดจนการซ้อนทับของอุดมการณ์วิชาชีพดังกล่าว ว่ามีการซ้อนทับอย่างไร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสังเกตการณ์และวิเคราะห์เนื้อหาโดยเลือกศึกษารายการแนวสนทนา และนิตยสาร 5 รายการ และใช้แนวคิดเรื่องอุดมการณ์ของระบบราชการในอุดมคติ จรรยาบรรณข้าราชการ แนวคิดการประชาสัมพันธ์ แนวคิดความรับผิดชอบทางสังคมของสื่อมวลชน ผลการวิจัยพบว่าอุดมการณ์ทางวิชาชีพของบุคลากรสื่อวิทยุโทรทัศน์ของรัฐหรือ สทท.11 นั้นประกอบไปด้วยอุดมการณ์ประชาสัมพันธ์ อุดมการณ์ข้าราชการ อุดมการณ์ปัจเจกชนนิยมและ อุดมการณ์สื่อสารมวลชน ซึ่งอุดมการณ์ในการปฏิบัติงานของ สทท.11 และอุดมการณ์ที่สะท้อนจากเนื้อหารายการของ สทท.11 นั้นไม่มีความสอดคล้องกัน กล่าวคือในการสังเกตการณ์การปฏิบัติงานของบุคลากร สทท.11 พบว่าจะใช้อุดมการณ์ข้าราชการเป็นหลัก ส่วนการศึกษาจากเนื้อหารายการแนวสนทนา และแนวนิตยสาร 5 รายการพบว่าสะท้อนอุดมการณ์ประชาสัมพันธ์ และอุดมการณ์ประชาสัมพันธ์ผสมผสานกับอุดมการณ์สื่อสารมวลชน สาเหตุสำคัญของการที่บุคลากร สทท 11 มีจิตสำนึกในอุดมการณ์วิชาชีพด้านราชการและประชาสัมพันธ์ มากกว่าด้านสื่อสารมวลชน เนื่องจากบุคลากรทุกคนมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการประชาสัมพันธ์ของรัฐ สทท.11 เป็นเพียงเครื่องมือในการเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของรัฐ มิได้มีฐานะเป็นองค์กรสื่อที่มีความเป็นอิสระในตนเอง อีกทั้งการวิจัยยังพบว่ารายการที่ทำการศึกษาเป็นรายการที่ผลิตโดยความร่วมมือระหว่างส่วนราชการอื่นและเอกชน สทท.11 ไม่ได้ทำหน้าที่บรรณาธิกรณ์เนื้อหาในการผลิตแต่อย่างใด
Other Abstract: The objectives of this research are; to study the professional ideology of the personnel of the state television, Channel 11, and to study how the bureaucratic ideology, public relations and mass media ideologies overlap. Five talk programmes and one magazine programme were selected for study. Content analysis and non-participation observation were used as the research methodology. The result of this research showed that the personnel of Channel 11 employed bureaucratic ideology and public relations ideology in their work routine. At the same time, they practised commercialism and individualism in order to take advantage of the organisation. The talk and magazine programmes reflected the policy of the Public Relations Department and the public relations strategies of the government as well the state agencies who produced the programmes. Media professional ideologies were rarely employed in the programme content although the programme format showed some kind of open responses from the audience and debate. The personnel of Channel 11 are state employees. Hence, they adhere closely to the bureaucratic ideology rather than to the professional ideology of the mass media. Channel 11 is the state public relations organ without any autonomy nor clear media functions. In addition, Channel 11 provided the space for state agencies to produce programmes without co-editing them. As a result, the station and its personnel merely act as media technicians in the production process.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10704
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.407
ISBN: 9741707738
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.407
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirunda.pdf7.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.