Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10795
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชวลิต รัตนธรรมสกุล | - |
dc.contributor.author | รองเพชร บุญช่วยดี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-31T07:24:08Z | - |
dc.date.available | 2009-08-31T07:24:08Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741746636 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10795 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบอีจีเอสบีร่วมกับเม็ดเซลล์ตรึงจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียชุมชนที่มีความเข้มข้นต่ำ โดยศึกษาถึงความเหมาะสมของความเข้มข้นของจุลินทรีย์ และความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนตต่อสภาพของเม็ดเซลล์ตรึง โดยทำการแปรค่าความเข้มข้นของเซลล์จุลินทรีย์ที่ 10,000 20,000 และ30,000 มก./ล. และความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนตที่ร้อยละ 2.0 2.5 และ3.0 ตามลำดับ รวมทั้งผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ และความเร็วไหลขึ้นในถังปฏิกรณ์ต่อประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์ของระบบอีจีเอสบี โดยให้ระบบอีจีเอสบีรับภาระบรรทุกสารอินทรีย์เท่ากับ 1 และ 2 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน คิดเป็นเวลากักน้ำเสียเท่ากับ 4 และ 2 ชั่วโมง ตามลำดับ ความเร็วไหลขึ้นในถังปฏิกรณ์ชุดที่ 1 และ 2 ซึ่งมีความเร็วไหลขึ้น 3 และ 6 ม./ชม. ตามลำดับ เช่นกัน ผลการทดลองเพื่อหาความเหมาะสมของเซลล์ตรึงจุลินทรีย์ ได้เลือกความเข้มข้นของเซลล์ตรึงที่ 30,000 มก./ล.และความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนตที่ร้อยละ 3.0 โดยสร้างเป็นเม็ดเซลล์ตรึงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 3.0 มม มีความเร็วในการตกตะกอนเท่ากับ 102 ม./ชม. ผลการทดลอง พบว่า ที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 1 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน เวลากักน้ำเสีย 4 ชั่วโมง ถังปฏิกรณ์ใบที่ 1 (ความเร็วไหลขึ้น 3 ม./ชม.) และถังปฏิกรณ์ใบที่ 2 (ความเร็วไหลขึ้น 6 ม./ชม.) มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยร้อยละ 68 และ 75 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดบีโอดีเฉลี่ยร้อยละ 61 และ 66 ตามลำดับ และประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยร้อยละ 37 และ 25 ตามลำดับ ขณะที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 2 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน เวลากักน้ำเสีย 2 ชั่วโมงถังปฏิกรณ์ใบที่ 1 (ความเร็วไหลขึ้น 3 ม./ชม.) และถังปฏิกรณ์ใบที่ 2 (ความเร็วไหลขึ้น 6 ม./ชม.) มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยร้อยละ 64 และ 68 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดบีโอดีเฉลี่ยร้อยละ 47 และ 54 ตามลำดับ และประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยร้อยละ 36 และ 26 ตามลำดับ ตลอดการทดลองทั้งหมดไม่มีฟองก๊าซชีวภาพเกิดขึ้น เนื่องจากน้ำเสียมีค่าซีโอดีต่ำทำให้ก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นละลายอยู่ในน้ำเกือบทั้งหมด หลังจากการทดลองเดินระบบอีจีเอสบีผ่านไปเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า เม็ดเซลล์ตรึงมีการผุกร่อนเกิดขึ้น จึงได้ทำการทดลองเพื่อหาสาเหตุการผุกร่อน ซึ่งพบว่าเกิดจากการที่จุลินทรีย์ของระบบได้ย่อยสลายโครงสร้างของแคลเซียมอัลจิเนต ทำให้โครงสร้างดังกล่าวไม่สามารถกักเซลล์จุลินทรีย์ไว้ในขอบเขตของเม็ดเซลล์ตรึงได้ | en |
dc.description.abstractalternative | The aim of this research is to study an efficiency of applying "Expanded Granular Sludge Bed (EGSB) system in association with immobilized microganism cells" in the treatment of low concentrated domestic wastewater. First, the appropriated immobilized cell will be found by examining the proper concentration of microganism cells and sodium alginate which the concentration of microganism cells varied by 10,000 20,000 and 30,000 mg/l and the concentration of sodium alginate varied by 2.0, 2.5 and 3 percent were used, respectively. Subsequently, the organic loading rate and the upflow velocity levels of the reactor which result in the efficiency of COD removal in EGSB system were investigated by using organic loading rate at 1 and 2 kgCOD/m[superscript 3]-day (equivalent to Hydraulic Retention Time, HRT 4 and 2 hours, respectively), and the upflow velocity at 3 and 6 m/hr, respectively. From the experiment, the concentration of microganism cells at 30,000 mg/l and the concentration of sodium alginate at 3 percent were chosen to produce immobilized cell at diameter 3 mm. which lead to settling velocity rate at 102 m/hr. At organic loading rates 1 kgCOD/m3-day and HRT 4 hours. In reactor 1 (upflow velocity 3 m/hr) and reactor 2 (upflow velocity 6 m/hr), The efficiency of COD removal were 68 and 75 percent, efficiency of BOD removal were 61 and 66 percent, efficientcy of suspended solid removal were 37 and 25 percent, respectively. At organic loading rates 2 kgCOD/m3-day and HRT 2 hours. In reactor 1 (upflow velocity 3 m/hr) and reactor 2 (upflow velocity 6 m/hr), The efficiency of COD removal were 64 and 68 percent, efficiency of BOD removal were 47 and 54 percent, efficientcy of suspended solid removal were 36 and 26 percent, respectively. There was no biogas in all experiments since low COD in wastewater resulted in the dissolve of all produced biogas. Nevertheless, After running the EGSB system for 4 months, there was an erosion of immobilized cell was eroded. Therefore, an additional experiment was done to find reason. The finding shows that microganism had decomposed the structure of calcium alginate. The structure, thus, could not hold the microganism cells. | en |
dc.format.extent | 2840278 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด | en |
dc.subject | การตรึงเซลล์ | en |
dc.title | การใช้เซลล์ตรึงในการบำบัดน้ำเสียชุมชนที่มีความเข้มข้นต่ำด้วยระบบอีจีเอสบี | en |
dc.title.alternative | immobilized cell in treating low strength domestic sewage with EGSB system | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chavalit.R@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rongphet.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.