Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10802
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มุรธา วัฒนะชีวะกุล | - |
dc.contributor.advisor | วรรณชัย บุญบำรุง | - |
dc.contributor.author | รชฎ บุญสินสุข | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-31T07:41:52Z | - |
dc.date.available | 2009-08-31T07:41:52Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741733143 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10802 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวคิดและรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และซิวิลลอว์ เพื่อวิเคราะห์ว่า ควรนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายใดมาปรับใช้ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า การดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์กำหนดให้ การดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เอกชนคนใดคนหนึ่งสามารถดำเนินคดีแบบ กลุ่มได้ ภายใต้การกำกับดูแลโดยศาล ทนายความและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี แบบกลุ่ม ในขณะที่การดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ หน่วยงานของรัฐหรือสมาคม ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเป็นผู้ดำเนินคดีแบบกลุ่มเท่านั้น ทั้งนี้ อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และคุณสมบัติการใช้สิทธิ ดำเนินคดีแทนของสมาคมตามที่กฎหมายกำหนด โดยมิได้แก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การวิเคราะห์การนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้ในประเทศไทย พบว่า การนำรูปแบบการ ดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซิวิลลอว์มาปรับใช้จะมีข้อจำกัด ดังนี้ (1) ข้อจำกัดด้าน ลักษณะคดีที่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม (2) ข้อจำกัดด้านการแปลความการใช้สิทธิดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งข้อ จำกัดดังกล่าวนี้ รูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากการดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์จัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายวิธิ พิจารณาความแพ่งจึงสามารถนำการดำเนินคดีแบบกลุ่มไปปรับใช้ได้กับทุกคดีแพ่ง และผู้ใช้สิทธิในการดำเนินคดีดัง กล่าวต้องเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายที่จะดำเนินคดีแบบกลุ่มได้ จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาการแปลความการ ใช้สิทธิดำเนินคดีแบบกลุ่มดังเช่นในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้ยอมรับการจัดให้ มีการดำเนินคดีแบบกลุ่มเช่นเดียวกันกับกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ซึ่งผู้เขียนมีข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ในสาระสำคัญดังต่อ ไปนี้มาปรับใช้ (1) กำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่มขั้นต่ำที่สามารถได้รับการดำเนินคดีแทนได้ (2) ให้ตรวจสอบทักษะ ทนายความในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยจัดให้ผู้แทนกลุ่มจัดทำแผนการดำเนินคดีแบบกลุ่มล่วงหน้าและวิธีการจัด ส่งคำบอกกล่าวที่มีประสิทธิภาพแก่สมาชิกกลุ่ม (3) กำหนดให้มิให้มีการแสดงเจตนาออกจากกลุ่ม ในคดีที่ศาล เห็นว่า คดีดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงก่อให้เกิดความเสี่ยงในคำพิพากษาที่แตกต่างกันของจำเลยและของสมาชิกกลุ่ม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลที่ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ (4) จัดให้มีชนิดของการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยฝ่ายจำเลย และให้สิทธิจำเลยร้องขอต่อศาลให้โจทก์ดำเนินคดีแบบกลุ่มต่อจำเลยได้ (5) การจัดให้มีกลุ่มย่อย เพื่อรองรับการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่ประเด็นสมาชิกกลุ่มไม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับกลุ่ม (6) กำหนดให้มีการ คิดค่าธรรมเนียมทนายความในผลได้เสียแห่งคดี (Contingent Fees) เฉพาะการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยให้ศาลเป็น ผู้พิจารณาการทำสัญญาลักษณะดังกล่าว และให้รัฐจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี แบบกลุ่ม รวมถึงให้กำหนดการยกเว้นความรับผิดในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของสมาชิกกลุ่มให้ชัดเจน | en |
dc.description.abstractalternative | To study the concept and the character of the class action in common and civil law to look for appropriate adaptation to suit. The class action in common law is part of civil procedure. Individuals themselves can lead the class action under Judges through counsel and civil procedure while collective actions in civil law can be done by administrative agencies or associations for a specific group, under provisions and qualifications of rights of representative action of law of administrative agencies or associations. Civil law does not change any rules of civil procedure to allow collective action. The analysis of adaptation of the class action to Thailand found that, there are two limitations of adaptation of collective action in civil law. First, limitation is types of case to be tried under class action and second is the interpretation of law to initiate class action. The limitation of collective action in civil law can be resolved by applying the method under the class action in common law. The class action in common law is part of civil procedure, hence it can be used in any cases of civil actions. Moreover, individuals who lead the class action shall determine to initiate class action because they are real party in interest to initiate this action. The limitation of collective action in civil law can be rectified by the class action in common law. However, Thailand has been drafting civil procedure on the class action. The concept and the character of class action in common law is a model law for applying to draft the bill. I would like to recommend adaptation of class action in common law to Thailand as follows : (1) Stipulating minimum of numbers of individuals who can initiate class action. (2) Producing a plan for a workable method of advancing of the class proceedings and of notifying class members of the proceeding. (3) A ban on opt-out in the types of cases which would create a risk of inconsistent adjudications for defendants and class members or are to make injunctive relief to class. (4) Giving defendant the right to class action and the right to move for certification of plaintiff class. (5) Creating subclass for class proceeding when the question of subgroup are not the same as a group. (6) Recognizing contingent fees arrangement only in class actions under terms and conditions regulated by court and a governmental fund for disbursements in class proceedings. Waiving of cost and fees for class members even in unsuccessful cases should be clearly provided | en |
dc.format.extent | 12749849 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคล | en |
dc.subject | คอมมอนลอว์ | en |
dc.subject | กฎหมายแพ่ง | en |
dc.title | การดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และซิวิลลอว์ | en |
dc.title.alternative | Class action in common and civil law | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rachod.pdf | 12.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.