Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10808
Title: การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วย ในหอศัลยกรรมทั่วไปชายที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Other Titles: Pharmaceutical care for patients in male-surgical ward at Maharat Nakhornratchasima Hospital
Authors: พรชัย ปุ่นโพธิ์
Advisors: สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์
วิมลมาลย์ พงษ์ฤทธิ์ศักดา
ณัฏฐ์ บุญนิธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Sutathip.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบริบาลทางเภสัชกรรม -- ไทย -- นครราชสีมา
เภสัชกรรมของโรงพยาบาล -- ไทย -- นครราชสีมา
เภสัชกรกับผู้ป่วย -- ไทย -- นครราชสีมา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลการดำเนินงานให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปชายใน ด้านต่างๆ คือ จำนวน และชนิดของปัญหาจากการรักษาด้วยยาที่พบและที่ได้รับการแก้ไขหรือป้องกัน โดยศึกษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปชายชั้น 5 ขวา (ตึก 8 ชั้น) ในโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2545 ถึง กุมภาพันธ์ 2546 โดยเภสัชกรสัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อทราบประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย ติดตามผลการรักษาด้วยยา อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้คำแนะนำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยและทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ประสานงาน เพื่อแก้ไขหรือป้องกันปัญหาจากการรักษาด้วยยา และติดตามผลของการประสานงาน จากผลการศึกษาพบว่าเภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยหอศัลยกรรม จำนวน 227 ราย ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 64.8) และมีจำนวนยาที่ใช้เฉลี่ย 6 ราย สามารถระบุปัญหาจากการรักษาด้วยยาได้ 66 ปัญหา ในผู้ป่วย จำนวน 58 ราย (ร้อยละ 25.1) เภสัชกรเสนอแนะการแก้ไขปัญหาทั้งหมด 33 ปัญหา และได้รับการแก้ไข จำนวน 26 ปัญหา จำนวนและปัญหาจากการรักษาด้วยยาที่พบและแก้ไขได้มี ดังนี้ 1) ปัญหาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาเพิ่มเติม 23 ปัญหา ได้รับการแก้ไข 9 ปัญหา 2) ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่จำเป็น 4 ปัญหา 3) ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่เหมาะสม 2 ปัญหา ได้รับการแก้ไข 1 ปัญหา 4) ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องในขนาดที่น้อยเกินไป 21 ปัญหา ได้รับการแก้ไข 6 ปัญหา 5) ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 4 ปัญหา ได้รับการแก้ไข 2 ปัญหา 6) ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องในขนาดที่มากเกินไป 10 ปัญหา ได้รับการแก้ไข 6 ปัญหา 7) ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาตามสั่ง 2 ปัญหา ได้รับการแก้ไข 2 ปัญหา การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโดยเภสัชกร มีบทบาทในการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ การระบุ การดำเนินการป้องกัน หรือ แก้ไขปัญหาจากการรักษาด้วยยา จะช่วยป้องกันและลดผลอันไม่พึงประสงค์จากยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย
Other Abstract: Examines the outcome of pharmaceutical care services for surgical patients in the following areas : numbers and category of drug therapy problems (DTPs) that were found and were resolved or prevented. The study was done at fifth-right floor male-surgical ward at Maharat Nakhonratchasima Hospital during December 2002 to February 2003. The pharmacist performed the pharmaceutical care services by interviewed the patients to collect the medication history, monitored drug therapy process, and adverse drug reaction outcome, counseled the patients about drug usage, teamed up and coordinated with other health professions to resolve or to prevent the DTPs, and finally followed up on the suggestion. Two hundred twenty-seven patients were serviced by the pharmacist. Most of the patients were 41 years old and over (64.8%). The mean drug used was 6 items for each patient. Sixty-six DTPs were detected from 58 patients (25.1%). The pharmacist made suggestions to resolve 33 DTPs, however only 26 of them were resolved. The numbers and category of DTPs found and resolved were as followed: 1) patients needed additional drug therapy, 23 problems detected, 9 resolved. 2) patients were taking unnecessary drug, 4 problems detected. 3) patients were taking wrong drugs, 2 problems detected, 1 resolved. 4) patients were taking too little of the correct drug, 21 problems detected, 6 resolved. 5) patients were experiencing on adverse drug reaction, 4 problems detected, 2 resolved. 6) patients were taking too high of correct drug, 10 problems detected, 6 resolved. 7) patients were noncompliance 2 problems detected, 2 resolved. The study sggested that in the pharmaceutical care service provided by pharmacist plays an important role in drug therapy monitoring by identifying, preventing and solving drug therapy problems. It will prevent and decrease the adverse drug reactions that might occur. This in turn improves efficacy in the patient care services
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10808
ISBN: 9741728603
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornchai.pdf751.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.