Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10839
Title: | ทรรศนะของวิตต์เกนสไตน์เกี่ยวกับจิตของสัตว์ |
Other Titles: | Witigenstein on animal minds |
Authors: | ธน วงศ์เครือมั่น |
Advisors: | สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | siriphen.p@chula.ac.th |
Subjects: | วิตเก็นสไตน์, ลุควิก, ค.ศ. 1889-1951 ความฉลาดของสัตว์ สัตว์ จิต |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัญหาเรื่องสวัสดิการของสัตว์ (animal welfare) เป็นปัญหาที่ได้รับการถกเถียงอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เหตุผลหนึ่งที่นำมาอ้างก็คือ การมีอยู่ของจิตของสัตว์ วิตต์เกนสไตน์เป็นนักปรัชญาคนสำคัญซึ่งความคิดของเขา มีอิทธิพลต่อวงการปรัชญาปัจจุบันอย่างมาก เขากล่าวเรื่องจิตของสัตว์เอาไว้แต่ไม่ชัดเจนนัก ดังนั้นวัตถุประสงค์ประการแรกของวิทยานิพนธ์นี้ก็คือ ตีความทรรศนะของวิตต์เกนสไตน์ในเรื่องจิตของสัตว์ หลังจากนั้นจะเป็นการวิจารณ์ทรรศนะของวิตต์เกนสไตน์ที่ตีความได้ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ประการที่สองของวิทยานิพนธ์นี้ ผลจากการศึกษาพบว่านักปรัชญาท่านต่างๆ ได้เสนอการตีความทรรศนะของวิตต์เกนสไตน์จาก Philosophical Investigations และ Zettle ดังนี้ โรลลิน (Bernard E. Rollin) จากหนังสือ The Unheeded Cry : Animal Consciousness Animal Pain and Science และเฟรย์ (R.G. Frey) จากหนังสือ Interests and Rights : The Case Against Animals ตีความวิตต์เกนสไตน์จากข้อถกเถียงเรื่องภาษาส่วนตัว (private language argument) อย่างเป็นเอกเทศ ส่วน เดอกราเซีย (David DeGrazia) จากบทความ "Wittgenstein and the Mental Life of Animals" ตีความโดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกันของระบบปรัชญาของวิตต์เกนสไตน์โดยรวม ผู้วิจัยเห็นว่าการตีความวิตต์เกนสไตน์จากข้อถกเถียงเรื่องภาษาเฉพาะตัวอย่างเป็นเอกเทศ จะทำให้ข้อสรุปที่ได้ออกนอกกรอบความคิดของวิตต์เกนสไตน์ แนวทางการตีความที่น่าเชื่อถือ จะต้องตีความโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับระบบปรัชญาของวิตต์เกนสไตน์โดยรวม ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปว่าสัตว์สามารถมีความเจ็บปวด อารมณ์ ความเชื่อ และความคิดได้ ในทรรศนะของวิตต์เกนสไตน์ภาษาเป็นศักยภาพที่สัตว์ไม่มี ซึ่งทำให้มันไม่สามารถมีความหวังในสิ่งที่ไม่ได้อยู่ต่อหน้า และไม่มีความคิดในระดับที่ซับซ้อนเช่นในมนุษย์ แม้กระนั้นการทดลองร่วมสมัยเกี่ยวกับสัตว์บางประการ ก็ทำให้น่าเชื่อว่าสัตว์บางชนิดมีศักยภาพทางภาษา |
Other Abstract: | Animal's welfare is a problem which has been severely argued in the past twenty years. One reason of those argument is an existence of animal mind. Wittgenstein, the great philosopher which his idea has strongly influenced comtemporary philosophy, cited the problem of animal mind obscurely in his work. Thus, the first objective of this thesis is to interpret Wittgenstein's idea of animal mind. Then, I will criticize that interpreted idea, the second objective of this thesis. The result of this study finds that many Philosophers Interpret Wittgenstein's idea from his works, Philosophical investigations and Zettle. Bernard E. Rollin's book, The Unheeded Cry : Animal Consciousness Animal Pain and science, and R.G.Frey's book, Interests and Rights : The Case Against Animals, interpret Wittgenstein's idea from private langauge argument. But David DeGrazia's article, "Wittgenstein and the Mental Life of Animals", interprets by considering the coherence in the whole of Wittgenstein's philosophical system. I see that the interpretation of Wittgenstein's idea from only private language argument leads to the conclusion which is external from framework of his idea. The convinced interpretation must consider the coherence in the whole of his philosophical system. This conclude that animal can have pain, emotion, belief and thought. In Wittgenstein's idea, animal does not have linguistic ability which makes animal cannot hope for unpresented thing and cannot have more complicate thought as human. However, some contemporary experiments lead to the belief that few animals have linguistic ability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10839 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.366 |
ISBN: | 9740312675 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.366 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.