Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10852
Title: ผลของความเข้มข้นซีโอดีและซัลเฟตต่อระดับการเกิดซัลเฟตรีดักชัน
Other Titles: Effects of COD and sulfate concentrations on sulfate reduction level
Authors: อุรชา เศรษฐ์ธีรกิจ
Advisors: มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- ระบบยูเอเอสบี
ซัลเฟต
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอิทธิพลของความเข้มข้นซีโอดีและซัลเฟต ที่มีต่อระดับการเกิดซัลเฟตรีดักชัน และประเมินปริมาณซัลไฟด์ที่เกิดขึ้นจากระบบไร้อากาศ การวิจัยใช้ถังปฏิกรณ์ยูเอเอสบีระดับห้องปฏิบัติการ จำนวน 3 ถังที่เหมือนกัน แยกป้อนด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีน้ำตาลทรายและโซเดียมซัลเฟต เป็นแหล่งคาร์บอนอินทรีย์และแหล่งซัลเฟต ตามลำดับ โดยใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นสารบัฟเฟอร์ในทุกการทดลอง เชื้อแบคทีเรียไร้อากาศเริ่มต้นมีลักษณะเป็นเม็ดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 มม. การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ชุด ตามค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟต คือ 4 และ 2 ในแต่ละอัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟตใช้ความเข้มข้นซีโอดี 5 ค่า คือ 400, 600, 800, 1000 และ 1,200 มก./ล. ผลการทดลองที่อัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟต 4 พบว่า ประสิทธิภาพการเกิดซัลเฟตรีดักชันเท่ากับ 86.8, 89.3, 92.0, 91.9 และ 92.7% และอัตราส่วนซัลไฟด์น้ำออกต่อซัลเฟตน้ำเข้าเท่ากับ 0.264, 0.258, 0.268, 0.266 และ 0.256 สำหรับความเข้มข้นซีโอดี 400, 600, 800, 1000 และ 1200 มก./ล. ตามลำดับ ส่วนการทดลองที่อัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟต 2 พบว่าประสิทธิภาพการเกิดซัลเฟตรีดักชันเท่ากับ 91.1, 93.5, 94.3, 95.1 และ 95.1% และอัตราส่วนซัลไฟด์น้ำออกต่อซัลเฟตน้ำเข้าเท่ากับ 0.264, 0.273, 0.275, 0.262 และ 0.270 สำหรับความเข้มข้นซีโอดี 400, 600, 800, 1000 และ 1200 มก./ล. ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีละลายมีค่าสูงมากกว่า 95% ในทุกๆ การทดลอง โดยค่าเฉลี่ยสัดส่วนการใช้ซีโอดีระหว่างแบคทีเรียผลิตมีเทน และแบคทีเรียรีดิวซ์ซัลเฟต มีค่าเท่ากับ 82.0%MPB/18.0%SRB และ 62.9%MPB/37.1%SRB ที่อัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟต 4 และ 2 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มบทบาทมากขึ้นของแบคทีเรียรีดิวซ์ซัลเฟต โดยที่ไม่เกิดผลยับยั้งจากพิษของซัลไฟด์ ไม่มีผลกระทบต่อระบบในการกำจัดสารอินทรีย์ละลาย สรุปได้ว่า การแปรค่าความเข้มข้นซีโอดีและซัลเฟตเพิ่มขึ้น ในขอบเขตที่ใช้ในงานวิจัย ทำให้ระดับการเกิดซัลเฟตรีดักชันเพิ่มขึ้น แต่มีนัยสำคัญน้อย เนื่องจากค่าที่ได้อยู่ในช่วงสูงระหว่าง 86.8-95.1% นอกจากนั้น สามารถสร้างสมการประเมินความเข้มข้นซัลไฟด์จากระบบไร้อากาศ ที่อัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟตมากกว่า 2 ได้ดังนี้ คือ ความเข้มข้นซัลไฟด์น้ำออก (มก./ล.) = 0.265 x ความเข้มข้นซัลเฟตน้ำเข้า (มก./ล.)
Other Abstract: To investigate the effects of COD and sulfate concentrations on sulfate reduction level and to estimate the concentration of effluent sulfide from anaerobic process. Three separately indentical laboratory scale UASB reactors were fed with a synthetic wastewater which was made from sucrose and sodium sulfate as organic carbon and sulfate source respectively. In all experiments, sodium bicarbonate was used as a buffering chemical. All reactors were seeded with 1-3 mm. diameter granulated anaerobic sludge. There were two sets of experiments in this study at ratio of COD/sulfate 4 and 2. In each ratio, five levels of 400, 600, 800, 1000 and 1200 mg COD/l were applied. At the ratio COD/sulfate of 4 experiment, the sulfate reduction efficiencies were 86.8, 89.3, 92.0, 91.9 and 92.7% and effluent sulfide/influent sulfate ratios were 0.264, 0.258, 0.268, 0.266 and 0.259 for COD concentrations of 400, 600, 800, 1000 and 1200 mg./l respectively. At the ratio COD/sulfate of 2 experiment, the sulfate reduction efficiencies were 91.1, 93.5, 94.3, 95.1 and 95.1 and effluent sulfide/influent sulfate ratios were 0.264, 0.273, 0.275, 0.262 and 0.270 for COD concentrations of 400, 600, 800, 1000 and 1200 mg/l respectively. The soluble organic COD removal efficiencies were over 95% in all experiments and % electron flow between methane producing bacteria and sulfate reducing bacteria were 82.0%MPB/18.0%SRB and 62.9%MPB/37.1%SRB for COD/sulfate ratio of 4 and 2 respectively. It showed that if there was no toxic effect from sulfide, the increased role of SRB would not affect soluble organic removal efficiencies of the system. In conclusion, the variation of COD and sulfate concentration in this study did not significantly affect the fairly high sulfate reduction efficiencies in the range of 86.6-95.1%. Moreover, the empirical equation for estimation of sulfide concentration from anaerobic process at the COD/sulfate ratio over 2 was obtained as follows: Effluent sulfide (mg/l) = 0.265 x Influent sulfate (mg/l).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10852
ISBN: 9743345841
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uracha_Sa_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Uracha_Sa_ch1.pdf924.37 kBAdobe PDFView/Open
Uracha_Sa_ch2.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Uracha_Sa_ch3.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Uracha_Sa_ch4.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Uracha_Sa_ch5.pdf735.78 kBAdobe PDFView/Open
Uracha_Sa_ch6.pdf682.05 kBAdobe PDFView/Open
Uracha_Sa_back.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.