Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1085
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนา ทองมีอาคม-
dc.contributor.authorเพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์กิจ, 2525--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-25T06:32:10Z-
dc.date.available2006-07-25T06:32:10Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741764758-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1085-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ1.เพื่อศึกษาว่ามีปัญหาสังคมอะไรบ้างที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ 2.เพื่อศึกษาลักษณะการนําเสนอปัญหาสังคมโดย สื่อสาธารณะว่ามีความเหมาะสมหรือไม่และน่าจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมาหรือไม่ 3.เพื่อศึกษาถึงเกณฑ์การนําเสนอปัญหาสังคมโดยสื่อสาธารณะเพื่อให้มีการนําเสนอปัญหาสังคมอย่างเหมาะสม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดําเนินการเก็บข้อมูลด้วยการระดมสมอง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัญหาสังคมที่มีความสําคัญ น่าสนใจ และมีคุณค่าต่อการศึกษา ที่ปรากฏในสื่อสาธารณชน 10 อันดับแรก โดยเรียงตามลําดับความสําคัญ จากมากไปน้อย ได้แก่ 1.การนําเสนอความผิดวินัยของพระสงฆ์บ่อยๆ 2.การนําเสนอข่าวด้วยความไม่รอบคอบ 3.การโฆษณาสินค้าที่ก่อให้เกิดการบริโภคนิยม 4.การนําเสนอภาพโป้เปลือย 5.การโฆษณาที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ 6.การนําเสนอเรื่องที่เป็นการหมิ่นประมาท ถูกดูหมิ่นจากคนรอบข้าง 7.การวิเคราะห์การแข่งขันฟุตบอล, ทํานายผลการแข่งขันล่วงหน้า, บอกราคาต่อรองที่สนับสนุนการเล่นการพนันฟุตบอล 8.การนําเสนอเรื่องสื่อวีซีดีลามกโดยบ่งชี้นําแหล่งขาย 9.การนําเสนอเรื่องคนรวย ฟุ้งเฟ้อ ทําให้คนจนดูแล้วเกิดการเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างชนชั้น 10.การนําเสนอข่าวที่ทําให้ประชาชนเชื่อถือ งมงายกับการเล่นหวย 2. ลักษณะการนําเสนอปัญหาสังคมโดยสื่อสาธารณะ พบว่ามีปัญหาสังคม 8 เรื่องที่สื่อสาธารณะมีการนําเสนอที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ 1.การนําเสนอข่าวด้วยความไม่รอบคอบ 2.การโฆษณาสินค้าที่ก่อให้เกิดการบริโภคนิยม 3.การนําเสนอภาพโป้เปลือย 4.การโฆษณาที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ 5.การนําเสนอเรื่องที่เป็นการหมิ่นประมาททําให้ถูกดูหมิ่นจากคนรอบข้าง 6.การวิเคราะห์การแข่งขันฟุตบอล, ทํานายผลการแข่งขันล่วงหน้า, บอกราคาต่อรองที่สนับสนุนการเล่นการพนันฟุตบอล 7.การนําเสนอเรื่องคนรวย ฟุ้งเฟ้อ ทําให้คนจนดูแล้วเกิดการเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างชนชั้น 8.การนําเสนอข่าวที่ทําให้ประชาชนเชื่อถือ งมงายกับการเล่นหวย และพบว่าการนําเสนอเรื่องการนําเสนอความผิดวินัยของพระสงฆ์บ่อยๆ นั้น สื่อสาธารณะมีการนําเสนอที่มีความเหมาะสม และพบว่าสื่อสาธารณะไม่มีการนําเสนอเรื่องสื่อวีซีดีลามกโดยบ่งชี้นําแหล่งขาย และจากการนําเสนอปัญหาสังคมโดยสื่อสาธารณะจะก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบตามมา ซึ่งสารที่สื่อสาธารณะนําเสนอไปจะมีผลต่อการรับรู้ที่เป็นการสร้างประสบการณ์แบบสะสมให้กับผู้รับสารและจะแสดงออกมาเมื่อมีสถานการณ์หรือปัจจัยที่เหมาะสม 3. สื่อสาธารณะควรมีเกณฑ์การนำเสนอปัญหาสังคม เพื่อมให้มีการนำเสนอปีญหาสังคมอย่างเหมาะสม ดังนี้ 3.1 การนำเสนอความผิดวินัยของพระสงฆ์บ่อยๆ ควรบอกข้อเท็จจริง โดยใช้ภาษาที่สุภาพ โดยไม่สอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกและควรบอกแหล่งอ้างอิงเป็นหลักฐานประกอบแต่หากยังมีข้อมูลไม่มีหลักฐานยืนยันการกระทำผิดก็ยังไม่ควรนำเสนอ 3.2 การนำเสนอข่าวด้วยความไม่รอบคอบ ควรมีกระบวนการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าวโดยการสัมภาษณ์จากหลายๆแหล่งข่าวและใช้เวลาพิจารณาข่าวก่อนนำเสนอเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง 3.3 การโฆษณาสินค้าที่ก่อให้เกิดการบริโภคนิยม สื่อสาธารณะผลิตรายการเพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้รับสารมีสติในการอุปโภคบริโภคสินค้าและชี้ให้เห็นโทษของการบริโภคนิยมหรือการสอนให้มีเหตุผลในการเลือกรับและปฏิเสธสิ่งต่างๆ 3.4 การนำเสนอภาพโป๊เปลือย ควรควบคุมเรื่องการแต่งกาย การแสดงออกของดารา นักแสดง ให้มีความสุภาพ เรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะและรูปแบบการเสนอรายการแต่ละประเภทอาจทำได้ด้วยวิธีการส่งเทปบันทึกรายการให้คณะอนุกรรมการตรวจก่อนออกอากาศทุกครั้ง 3.5 การโฆษณาที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ผู้ผลิตงานโฆษณาควรตระหนักถึงการนำเอาเรื่องมาใช้กับงานโฆษณาว่าจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลด้านลบทางความคิดของผู้รับสาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาช่วยกันควบคุม สอดส่องดูแลความเหมาะสมของงานโฆษณากันอย่างจริงจัง 3.6 การนำเสนอเรื่องที่เป็นการหมิ่นประมาท ทำให้ถูกดูหมิ่นจากคนรอบข้าง ควรคำนึงถึงว่าเรื่องที่นำเสนอจะมีประโยชน์ต่อสาธารณะชนหรือไม่ หากไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ สื่อก็ไม่ควรนำเสนอเรื่องเหล่านี้ และต้องไม่ใช้ภาษาเหมือนตัดสินผู้ที่ตกเป็นข่าว ไม่ควรพิพากษาการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาก่อนผลการพิจารณาคดีทางกฎหมายจะสิ้นสุดลง 3.7 การวิเคราะห์การแข่งขันฟุตบอล, ทำนายผลการแข่งขันล่วงหน้า, บอกราคาต่อรองที่สนับสนุนการเล่นการพนันฟุตบอล ในเรื่องการบอกราคาต่อรองของการแข่งขันฟุตบอล ถือได้ว่า การนำเสนอในเรื่องนี้ เป็นการสนับสนุนข้อมูลเพื่อนำเอาไปประกอบการเล่นการพนันฟุตบอลเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่ควรนำเสนอราคาต่อรองของการแข่งขันฟุตบอล 3.8 การนำเสนอเรื่องสื่อ วีซีดีลามก โดยบ่งชี้นำแหล่งขาย จากการศึกษาพบว่า ไม่มีการนำเสนอเรื่องสื่อวีซีดีลามก โดยบ่งชี้นำแหล่งขายและแนงทางการนำเสนอที่ดีคือ ไม่ควรนำเสนอข่าวเรื่องวีซีดีลามก โดยใช้ภาพประกอบที่เป็นรูปผู้หญิงแก้ผ้า ภาพโป๊ เปลือย หรือแสดงกิจกรรมทางเพศ 3.9 การนำเสนอเรื่องคนรวย ฟุ้งเฟ้อ ทำให้คนจนดูแล้วเกิดการเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างชนชั้น ควรจะนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง โดยไม่สอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้นๆ รวมทั้งต้องเสนอแนวคิด บทความ เพื่อยกระดับรสนิยมของผู้รับสาร 3.10 การนำเสนอข่าวที่ทำให้ประชาชนเชื่อถือ งมงายกับการเล่นหวย สื่อสาธารณะไม่ควรนำเสนอข้อเท็จจริงที่จงใจชี้นำไปสู่การเล่นหวยได้และต้องนำเสนอผลเสียที่จะเกิดจากการเล่นหวยด้วย พร้อมทั้งการนำเสนอแนวคิดหรือบทความที่ช่วยยกระดับความรุ้ ความคิด รสนิยมของผู้รับสารให้สูงขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThis research has the objectives to: 1. To study the social problems that appear in the public press 2. To study if the social problems in the public press are present in the appropriate way and if they will have any affect 3. To study the criteria of social problem pressing by using qualitative method of researching, collect the data with brain storming and In-depth Interview. The research found that; 1. Top ten important/interesting/studied valuable social problems in the press : 1) pressing of breaking the religious regulations by priests 2) Pressing without consideration 3) Advertising the products that leads the consuming values 4) Pressing porno photos 5) Advertising that leads to sexual arousing 6) Pressing the slanderous stories 7) Football match result analysis, predicting, telling bet price that encourage gambling 8) Pressing stories about porno VCD or media with market recommendation 9) Pressing about rich and extravagant people that showing social class discrimination 10) Pressing stories that make people believing in lottery gambling 2. The way of pressing about social problem: found that there are 8 items pressing in inappropriate ways. 1) Pressing without consideration 2) Advertising the products that leads the consuming values 3) Pressing porno photos 4) Advertising that leads to sexual arousing 5) Pressing the slanderous stories 6) Football match result analysis and predicting that encourage gambling 7) Pressing about rich and extravagant people that showing social class discrimination 8) Pressing stories that make people believing in lottery gambling It is found that the frequent pressing of breaking the religious regulations by priests is quite appropriate. And also found that pressing stories about porno VCD or media is done without market recommendation. Providing social problem information by public press will cause the same problems and other problems as a consequence. The information of the social problems provided will cause negative effect and it will affect the learning process of people. People will take the information and create a collecting experience. This experience is then showed later on when reaching the situation or the right factor. 3. Public pressing should have criteria of pressing social problems appropriately; 3.1 Frequently pressing of breaking the religious regulations by priests: should tell the whole fact with referred evidences in a polite language. An individual emotion should not be added. 3.2 Pressing without consideration: should have investigation process to confirm the reliability of the source by getting the information from many sources and consider the press release before giving out. 3.3 Advertising the products that leads the consuming values: public press produces the programme that motivate the consumers of making the right choice. Also indicate about bad effect or instruct people to be reasonable for doing so. 3.4 Pressing porno photos: should control the outfit and expressing of the celebrities to be polite and appropriate. The pattern of the programmecould be sensored by the subcommittees before releasing 3.5 Advertising that leads to sexual arousing: The ad producers should realize of the bad effect on using the sexual presence in their work. The related departments should take control and seriously supervise. 3.6 Pressing the slanderous stories: should consider if the story will be useful for the public or not. If not, it shouldn{7f2019}t be pressed. And the press must not use the language that imply of judgment on the story person. 3.7 Football match result analysis, predicting, telling bet price that encourage gambling: Telling bet price of the football match gambling should not be done because it is considered that this type of information is used in the gambling only. 3.8 Pressing stories about porno VCD or media and market recommendation: it is found that there is no acting on giving porno market recommendation. The good way to press this story is to do it without showing the porno picture itself. 3.9 Pressing about rich and extravagant people that showing social class discrimination: should give the whole fact without emotion on the situation and also press the article to present the idea to lift up the values of people. 3.10 Pressing stories that make people believing in lottery gambling: the public press should not present the fact that intentionally leads to the lottery gambling, but should present the bad effect of lottery gambling and also giving ideas or articles to elevate the knowledge, thoughts and values of people.en
dc.format.extent1363100 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1153-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปัญหาสังคมen
dc.subjectสื่อมวลชน -- แง่สังคมen
dc.titleปัญหาสังคมที่ควรได้รับการกำหนดเป็นวาระของสาธารณชนen
dc.title.alternativeKey social issues to be set as public agendasen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPana.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.1153-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penpak.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.