Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10862
Title: | กลยุทธ์การสื่อสารของกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น |
Other Titles: | The communication strategies of the group of village philosophers on local wisdom |
Authors: | รุ่งนภา มุกดาอนันต์ |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสาร การพัฒนาชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้นำชุมชน |
Issue Date: | 2544 |
Abstract: | ศึกษามุมมองของปราชญ์ชาวบ้านในการจัดการชุมชนท้องถิ่น และบทบาทของปราชญ์ชาวบ้านในการจัดการท้องถิ่น และศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของปราชญ์ชาวบ้านเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึกปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 9 คน ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น และนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า มุมมองของปราชญ์ชาวบ้านในการจัดการชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ การจัดการชุมชนท้องถิ่นต้องเป็นการจัดการกันเองภายในชุมชน โดยมีรัฐบาล องค์กรเอกชน และปราชญ์ชาวบ้าน ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน นอกจากนั้นยังพบว่า ในการจัดการชุมชนท้องถิ่นนั้น ปราชญ์ชาวบ้านมีบทบาทในด้านการเป็นผู้นำทางความคิด ด้านการเกษตรกรรมและศีลธรรม ตลอดจนเป็นนักพั้ฒนาตัวอย่าง นอกจากนั้น ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารของปราชญ์ชาวบ้านเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ 1. กลยุทธ์การสื่อสารโดยการใช้ประสบการณ์ตรง 2. การทำให้ชาวบ้านรู้จักตนเอง 3. การทำตนเองให้เป็นตัวอย่าง 4. การสัมมนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 5. การอิงหลักเกณฑ์ธรรมชาติ 6. การอิงหลักพระพุทธศาสนา 7. การเน้นความสำคัญที่ปัญหาของชาวบ้าน 8. การใช้สื่อของจริง 9. การสื่อสารในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ 10. การใช้ภาษาท้องถิ่น 11. การใช้การสื่อสารแบบตัวต่อตัว 12. การสื่อสารในแนวนอน 13 กลยุทธ์การใช้ข่าวลือ |
Other Abstract: | To study the village philosophers' aspect on local community mangement, their role in local community management, and their communication strategies on local wisdom. This qualitative research was done with the in-depth interview of 9 village philospophers in 4 provinces: Surin, Buriram, Kon Kaen and Nakorn Ratchasima. The results are as follows: The village philosophers believe that local community management should be done by local community. The management should be supported by government, nongovernment organizations and village philosophers. the village philophers in local community management act as the opinion leaders in agriculture and morality, and as the developer. Communication strategies of village philosophers on local wisdom include: (1) Exposing to direct experiences (2) Recognizing oneself (3) Demonstrating oneself (4) Sharing experience in seminars (5) Applying the natural knowledge in sharing ideas (6) Applying Buddhist philosophy (7) Emphasizing on village's problems (8) Communicating among persons (9) Communicating in the informal environment (10) Using local language (11) Communicating with face to face interaction (12) Communicating at the horizontal level and (13) Using rumor. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10862 |
ISBN: | 9740304613 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rungnapa.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.