Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10963
Title: ความเข้มข้นของยาเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกหลังการฉีดล้างยาในพ็อกเก็ต
Other Titles: Concentration of tetracycline hydrochloride in gingival crevicular fluid after pocket irrigation
Authors: ศรึสุดา ถิ่นพังงา
Advisors: ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา
เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chanin.T@Chula.ac.th
Em-on.B@Chula.ac.th
Subjects: โรคปริทันต์
เตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นของยาเตตราซัยคลิ นไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกหลังการฉีดล้างเพียงครั้งเดียวในพ็อกเก็ต และเพื่อหาระยะเวลาที่ระดับความเข้มข้นของยาในน้ำเหลืองเหงือกยังคงสูงพอที่ จะสามารถต้านเชื้อสำคัญที่ก่อโรคปริทันต์อักเสบ (ค่าเอ็มไอซี = 8 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ 45 คน ซึ่งไม่มีโรคทางระบบ และไม่ได้รับยาเตตราซัยคลินที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 200 ตำแหน่ง ทำการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน จากนั้นแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ตำแหน่งที่ฉีดล้างในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้ม ข้นร้อยละ 5 (15 มิลลิลิตร, 5 นาที/ตำแหน่ง) และตำแหน่งที่ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 10 ทำการเก็บน้ำเหลืองเหงือกในแต่ละตำแหน่งด้วยเพริโอเพเพอร์ตามเวลาที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 1 ชั่วโมงหลังการฉีดล้าง 1 วันหลังการฉีดล้าง 3 วันหลังการฉีดล้าง 5 วัน หลังการฉีดล้างและ 7 วันหลังการฉีดล้าง จากนั้นนำไปตรวจวัดความเข้มข้นของยาเตตราซัยคลินด้วยเครื่องโครมาโตกราฟีของ เหลวแบบสมรรถนะสูง ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเข้มข้นของยาเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกที่เวลา 1 ชั่วโมงหลังการฉีดล้าง 1 วันหลังการฉีดล้าง 3 วันหลังการฉีดล้าง และ 5 วันหลังการฉีดล้าง ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และมีค่าระดับความเข้มข้นของยาสูงกว่าค่าเอ็มไอซี แต่ที่เวลา 7 วันหลังการฉีดล้าง พบความแตกต่างของค่าระดับความเข้มข้นของยาระหว่างกลุ่มทั้งสองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามค่าระดับความเข้มข้นของยาทั้งสองกลุ่มไม่สูงกว่าค่าเอ็มไอซี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
Other Abstract: The aims of this study were to compare the concentration of tetracycline hydrochloride (TC) retained in gingival crevicular fluid (GCF) after single pocket irrigation and to determine the duration of TC in sustaining the minimum inhibitory concentration (MIC = 8 ug/ml) level in GCF. Two hundreds sites were selected from 45 moderate-advanced periodontitis patients, who had no systemic diseases and had not received any systemic tetracycline within the past 6 months. All sites were scaled and root planed then devided into two groups: one group using 5% (w/v, 15 ml, 5 min/site) and another 10% TC. The GCF samples were collected on paper strips at 1 hour, 1,3,5 and 7 days after pocket irrigation. The TC in each strip was eluted and analysed by high performance liquid chromatography. The results showed that TC concentrations in GCF from both groups were not statistically different at 1 hour, 1, 3 and 5 days after pocket irrigation (p>0.05). The TC concentrations among both groups were found to be higher than the MIC level upto 5 days (p<0.05). At 7 days after pocket irrigation the TC concentrations were statistically different (p<0.05) between the two groups; however, both of them were not significantly higher than the MIC level (p>0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปริทันตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10963
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.511
ISBN: 9740302653
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.511
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
srisuda.pdf938.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.