Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10964
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา พงศาพิชญ์ | - |
dc.contributor.author | จิตรกร เอมพันธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | - |
dc.date.accessioned | 2009-09-03T02:26:41Z | - |
dc.date.available | 2009-09-03T02:26:41Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741715803 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10964 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | ตำนานพญางูใหญ่ หรือ "พญานาค" เป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่และทรงอิทธิพลต่อชุมชนสองฝั่งแม่น้ำโขง ร่องรอยความคิดเรื่องพญานาคปรากฏในวรรณกรรมปรัมปรา ความเชื่อ พิธีกรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วิถีชีวิต และจิตรกรรม การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาระบบความเชื่อพื้นบ้านเรื่องพญานาค ทางด้านเนื้อหาและบทบาทของความเชื่อตามโลกทัศน์ของชาวอีสานในอดีต ว่ายังคงอยู่ในสังคมปัจจุบันหรือคลี่คลายความเชื่อไปในลักษณะใด ตลอดจนการศึกษาบทบาทของความเชื่อเรื่องพญานาค ที่มีอิทธิพลในการดำรงชีวิตของชาวอีสานว่าเป็นในรูปแบบใด โดยศึกษาจากนิทานปรัมปราที่ว่าด้วยเรื่องพญานาค อันเป็นคติชนรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏเป็นตำนานแห่งราชอาณาจักรล้านช้าง และชุมชนอีสานแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ผู้ศึกษาได้นำแนวความคิดและหลักทฤษฎีมานุษยวิทยาสัญลักษณ์ และสำนักการหน้าที่นิยมมาเป็นแนวทางการศึกษา เพื่ออธิบายถึงหน้าที่ทางสังคมของความเชื่อเรื่องพญานาคในปัจจุบันและการ ร่วมสมัย จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ พบว่า ระบบสัญลักษณ์ของพญานาค หากแบ่งตามกฎเกณฑ์ตามบริบททางสังคมวัฒนธรรม อันเป็นร่องรอยความคิดแห่งอดีตที่ว่าด้วยเรื่อง "พญานาค" สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประการด้วยกัน คือ 1. พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนดั้งเดิม 2. พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของเจ้าแห่งดินและน้ำ 3. พญานาคเป็นลัทธิทางศาสนา ร่องรอยแห่งอดีตมักปรากฏเป็นนัยยะความหมายและเค้าโครง ที่ซ่อนอยู่ในนิทานปรัมปราแห่งโลกจินตนาการผสานความเป็นจริง ร่องรอยความคิดเรื่องพญานาคจึงมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต กำหนดความคิดทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งด้านสันทนาการ ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลอันเป็นพลังทางศาสนาอันเนื่องมาจาก "ร่องรอยความคิดเรื่องพญานาค" ทั้งหมดทั้งสิ้น สำหรับระเบียบวิธีการวิจัยใช้วิธีการค้นคว้าจากเอกสาร และการวิจัยทางมานุษยวิทยา ด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับพญานาค ที่หมู่บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย โดยใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ "พิธีบวงสรวงบูชาบั้งไฟพญานาค" อันได้แก่ พ่อพราหมณ์ จ้ำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุตั้งแต่ 60-80 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า การคลี่คลายร่องรอยความคิดเรื่องพญานาคจำแนกออกเป็นความเชื่อกับโลกและ จักรวาล ความเชื่อเรื่องพญานาค ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา และการแสดงออกของความเชื่อในรูปแบบของพิธีกรรม จากการประมวลความรู้และบูรณาการทางความคิดพบว่า พญานาคมักปรากฏอยู่ใน "ลัทธิความอุดมสมบูรณ์" ของสังคมวัฒนธรรมอีสาน ถูกผสานความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อทางพุทธศาสนาในเรื่องสวรรค์และนรก นอกจากนี้ยังพบว่า ระบบสัญลักษณ์ของพิธีกรรมมีความหมายที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่นุษย์มีต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ ประการสำคัญที่สุดของพิธีกรรมนี้ ทำให้ผู้ที่อยู่ในหมู่บ้านได้มีโอกาสพบปะกันก่อให้เกิดความเป้นปึกแผ่นทางสังคม | en |
dc.description.abstractalternative | The mythical serpent as "Naga" is major cultural symbols prevalent among people of the Mekong River area. Naga is represented in local literature, ritual, architecture, textile, design and painting. This thesis explores the symbolic meaning and function of naga through the study of myth on naga. Its purpose is to describe naga as symbol of the Lao Vien and Thai-Esarn culture. This paper discovers 3 meaning of naga : 1. Naga : an indigenous group 2. Naga : a fertility god 3. Naga : a belief system. Naga as a belief system can be seen in ritual performed in agricultural society and reflects in people's way of life, which may be political, economic, or social. The structure and meaning specified by society have been influenced by the belief in naga. Which also function as a social control mechanism in society. This dissertation is a study of naga in the context of a particular rite known as "Pithi Bluing Suang Bucha Bongfai Phayanak" take place in the town of Ahong in Nong Khai Province. The methodology adopted in the study is documentary research and anthropological fieldwork employing participant observation and interview of key informants. The analyses of the belief of naga are presented in 4 aspects : 1. Cosmology 2. Naga Cult 3. Animism 4. Rites. It is found that symbol in the rituals are integrated in folk belief and Buddhist belief in the term of heaven and hell. Symbols in the ritual also represent the relationships between human being and supernatural spirits. Furthermore, Ritual event bring relatives who usually live far away back to the village and hence create social solidarity. Finally naga is a symbol of rich natural resources, earth, water, and fertility of the Esarn society. | en |
dc.format.extent | 6118941 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความเชื่อ | en |
dc.subject | คติชาวบ้าน | en |
dc.subject | นาค | en |
dc.subject | พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | en |
dc.subject | บั้งไฟพญานาค | en |
dc.subject | ตำนาน -- ไทย | en |
dc.title | พญานาค เจ้าแห่งแม่น้ำโขง : พิธีกรรมกับระบบความเชื่อพื้นบ้านแห่งวัฒนธรรมอีสาน | en |
dc.title.alternative | Naga, The King of the Mekong : ritual and belief system in Northeasten Thai culture | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | มานุษยวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Amara.P@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chitrakorn.pdf | 5.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.