Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10986
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการขนส่งโดยรถตู้ในเขตกรุงเทพมหานครตอนเหนือ
Other Titles: The factors affecting the transportation pattern of vanpooling in northern Bangkok Metropolis
Authors: บุญงาม เอี่ยมศุภวัฒน์
Advisors: วรรณศิลป์ พีรพันธุ์
อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wannasilpa.P@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การขนส่งทางบก
รถตู้
เมือง -- การเจริญเติบโต
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการขนส่งโดยรถตู้ในเขตกรุงเทพมหานครตอนเหนือ รูปแบบการให้บริการของรถตู้ รวมถึงลักษณะและพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้รถตู้โดยสาร พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดการและปรับปรุงรูปแบบการขนส่งดังกล่าวต่อไป โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาเฉพาะบริเวณกรุงเทพมหานครตอนเหนือ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ และสำรวจภาคสนาม ด้วยเครื่องมือการแจกแบบสอบถามจำนวน 156 ชุด ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการขนส่งโดยรถตู้ สามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยด้านอุปสงค์ ได้แก่ การขยายตัวของเมืองสู่ชานเมืองอย่างกระจัดกระจาย และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ส่วนปัจจัยด้านอุปทานได้แก่ การขาดประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะในเมืองและความมีประสิทธิภาพของการขนส่งโดยรถตู้ สำหรับเส้นทางรถตู้ส่วนใหญ่วิ่งให้บริการระหว่างเขตเมืองและชานเมือง และเน้นบริการที่รวดเร็วและรับประกันที่นั่งให้กับผู้โดยสาร จากการสำรวจกลุ่มผู้ใช้โดยสารเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในเขตชานเมือง ระยะเวลาในการเดินทางบนรถตู้โดยเฉลี่ย 41 นาทีต่อเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 49 บาทต่อวัน รูปแบบการเดินทางก่อนและหลังจากใช้รถตู้ คือการเดินเท้า โดยผู้โดยสารรถตู้สามารถเลือกรูปแบบเดินทางโดยรถประจำทางแทนได้ เหตุผลในการเลือกใช้รถตู้โดยสาร คือ การบริการที่ให้ความรวดเร็ว ความสะดวกสบาย โดยปัญหาหลักของรถตู้ได้แก่ ความปลอดภัย หน่วยงานของรัฐในการควบคุมดูแล และการแข่งขันระหว่างรถตู้และรถประจำทาง จึงได้เสนอแนะแนวทางด้านการจัดการ โดยจัดตั้งองค์กรในรูปแบบสหการเพื่อจัดสรรเส้นทางแก่ผู้ประกอบการ ส่วนด้านปรับปรุงการให้บริการของรถตู้ กำหนดอัตราค่าโดยสารระหว่าง 20-25 บาท ระยะทางให้บริการประมาณ 15-20 กิโลเมตร จุดจอดควรอยู่บริเวณที่สามารถเชื่อมกับระบบขนส่งอื่น ๆ ได้สะดวก ส่วนการบริการด้านอื่น ๆ ควรได้มาตรฐาน เช่น การกำหนดรูปแบบรถยนต์ ขนาดบรรทุกผู้โดยสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
Other Abstract: The objective of this research is to study the factors and conditions of the emergence of van services in northern Bangkok Metropolis, their service patterns, as well as the travel behaviors and characteristics of the passengers. At the end of the research, some guidelines are proposed as to how to manage and improve the van services. The geographical scope of this study is limited to northern Bangkok Metropolis, and Nonthaburi and Pathumthani provinces. Using scientific approach, this research adopts field survey with questionnaires as the methodology for data collection. 156 sets of questionnaires are distributed among randomly selected samples. The study results show that the influencing factors are found in both demand and supply sides. The demand-side factors include increasing population and unsystematic suburban expansion. Supply-side factors are inefficient public transportation services and the efficiency and high service levels of van services. Most service routes link urban and suburban areas of Bangkok. The advantages of van services lie in their speed and availability of seats. According to the survey results, most van passengers live in suburban areas. Average time spent in the vans is 41 minutes, while the average expenditure is 49 baht per day. The most popular transportation pattern after using van services is walking. Most passengers are not captive riders; they could choose other modes of transportation, mostly buses. However, due to speed and comfortability, these people opt for van services. Negative factors about van services raised by the questionnaire respondents include the lack of safety and high fare levels. Lack of proper controls and management by responsible authorities and fierce competition between van and bus sevices are important problems. This research proposes that a co-operative organization should be established to manage and allocate the routes among van operators. the fare levels should be fixed between 20-25 baht for 15-20 kilometers. Van terminals should be located at transportation nodes so as to facilitate inter-modal transfers ability. Service standards should also be set up: for instance, vehicle types and maximum number of passengers per van.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10986
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.196
ISBN: 9743348018
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.196
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonngam_Ea_front.pdf784.75 kBAdobe PDFView/Open
Boonngam_Ea_ch1.pdf783.6 kBAdobe PDFView/Open
Boonngam_Ea_ch2.pdf922.52 kBAdobe PDFView/Open
Boonngam_Ea_ch3.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Boonngam_Ea_ch4.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Boonngam_Ea_ch5.pdf857.43 kBAdobe PDFView/Open
Boonngam_Ea_back.pdf888.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.