Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10999
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว | - |
dc.contributor.author | สุภาวดี แก้วประดับ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-09-08T02:29:45Z | - |
dc.date.available | 2009-09-08T02:29:45Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741736177 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10999 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเหตุผลที่แนวคิดสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรชุมชนไม่มีผลในทางปฏิบัติ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนไว้แล้วก็ตาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารและอาศัยการรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหาความขัดแย้งเรื่องสิทธิชุมชนจากกรณีตัวอย่าง สมมติฐานของการศึกษามีว่า อิทธิพลของแนวคิดเรื่องการใช้อำนาจรัฐในการจัดการทรัพยากร และอิทธิพลของแนวทางพัฒนาแบบทุนนิยมเสรีเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้แนวคิดเรื่องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ส่งผลต่อการนำไปปฏิบัติ ในการวิเคราะห์ได้อาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิ แนวคิดการเพิ่มอำนาจ และแนวคิดนิเวศวิทยาการเมือง ประกอบกับข้อมูลทางวิชาการ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าสิทธิชุมชนถูกใช้ในทั้งสองระดับ คือ สิทธิชุมชนในระดับเข้มข้น เป็นสิทธิที่ใช้อ้างถึงการจัดการทรัพยากรที่ยึดโยงอยู่กับหน่วยพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ และจารีตประเพณี ดังปรากฏในการเคลื่อนไหวกรณีป่าชุมชน สิทธิชุมชนในระดับกว้าง เป็นสิทธิที่ใช้อ้างถึงในการเคลื่อนไหวต่อรองกับอำนาจรัฐและทุน โดยไม่ยึดติดกับหน่วยพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือจารีตประเพณี แต่เป็นอำนาจในการมีส่วนร่วมกำหนด ทิศทางการพัฒนา ดังในกรณีการต่อต้านของคนในท้องถิ่นจากการก่อสร้างโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ การใช้สิทธิชุมชนทั้งสองระดับนั้นต้องเผชิญกับอุปสรรคที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของการใช้อำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีการแข่งขันสูงในกระบวนการและการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ เช่น พื้นที่ป่า และการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีในกรณีโครงการขนาดใหญ่ จึงทำให้แนวคิดสิทธิชุมชนไม่ได้รับการสนับสนุนในทางปฏิบัติ อุปสรรคดังกล่าวเป็นทั้งปัญหาเชิงแนวคิดและการนำนโยบายไปปฏิบัติ เงื่อนไขในการปฏิบัติของสิทธิชุมชนขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการกระจายอำนาจ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการตัดสินใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | en |
dc.description.abstractalternative | This study attempts to explain the reasons behind the ineffectiveness of the implementation of community rights concept in community resource management despite recognized by the 1997 Constitution. The study is a documentary research based on the review of prominent cases of conflicts over the application of community rights concept. The hypothesis of the study is that the reason why community rights is not effectively implemented at the present time is based on the prevailing state power over the management of natural resources and the influence of neo-liberal idea of development. The concepts of rights, empowerment, and political ecology are used to provide an analytical framework. The study finds that community rights are used in two different situations. It is applied comprehensively for the practice of traditional resources management where the community is closely linked to the common ground resources such as the community forest. In another situation community rights are referred to the right to negotiate with the state and the corporate. This latter situation does not clearly confined to the physical space or traditional practices of the community but is seen as the rights to participation and to local determination against big development schemes designated to be located in the vicinity of local communities. The application of community rights concepts are constrained by intense use of the state authority in natural resource management where it appears high competition of utilization and conservation such as the forest reserve; and by the acceleration of neo-liberal economic development such as the large scale projects. These constrains are conflicts in both ideology and practicality. The effectiveness of the implementation of community rights concepts relies on the fulfillment of decentralization, information accessibility and people's participation in decision-making process in environment and natural resources management. | en |
dc.format.extent | 1514538 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ | en |
dc.subject | การจัดการสิ่งแวดล้อม | en |
dc.subject | ชุมชน | en |
dc.title | สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : จากจารีตปฏิบัติสู่การปฏิรูปการเมืองไทย | en |
dc.title.alternative | Community rights in natural resources and environmental management for sustainable development : from traditional practice to political reform in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การปกครอง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chantana.B@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supawadee.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.