Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11038
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorลัดดา เหลืองศศิพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-09T09:49:25Z-
dc.date.available2009-09-09T09:49:25Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741751761-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11038-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการให้คำปรึกษาของครูคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรร ด้านสถานภาพส่วนตัวของครูคอมพิวเตอร์ ด้านสถานภาพส่วนตัวและคุณลักษณะของครูผู้ขอคำปรึกษา กับรูปแบบการให้คำปรึกษาของครูคอมพิวเตอร์ และ 3) ศึกษาตัวแปรคัดสรรที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของรูปแบบการให้คำปรึกษา ของครูคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นหัวหน้าหมวดคอมพิวเตอร์และครูคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 349 คน ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2546 จาก 214 โรงเรียน การวิจัยนี้ศึกษากรณีการให้คำปรึกษา 2 กรณีคือ การผลิตสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และศึกษารูปแบบการให้คำปรึกษา 3 รูปแบบ คือ 1) The Product Model 2) The Prescription Model และ 3) The Collaboration Model ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเอกชน มีรูปแบบการให้คำปรึกษากรณีที่ 1 ทุกรูปแบบในระดับปานกลาง และกรณีที่ 2 มีการให้คำปรึกษาแบบ The Product Model และ The Prescription Model ในระดับมาก 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรกับรูปแบบการให้คำปรึกษาทั้ง 3 รูปแบบ พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ กรณีที่ 1 พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการให้คำปรึกษาแต่ละรูปแบบ จำนวน 7, 7 และ 1 ตัวตามลำดับ ตัวแปรทางบวกที่พบซ้ำกันมากที่สุดได้แก่ ครูผู้ขอคำปรึกษาชอบตั้งคำถาม และครูผู้ขอคำปรึกษายอมรับฟังคำติชมของผู้อื่น และพบตัวแปรที่สัมพันธ์ทางลบจำนวน 2, 6 และ 2 ตัวตามลำดับ ตัวแปรทางลบที่พบซ้ำกันมากที่สุดได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก และครูผู้ขอคำปรึกษาระดับการศึกษาปริญญาตรี กรณีที่ 2 พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการให้คำปรึกษาแต่ละรูปแบบ จำนวน 11, 6 และ 7 ตัวตามลำดับ ตัวแปรทางบวกที่พบซ้ำกันมากที่สุดได้แก่ (1) ครูคอมพิวเตอร์อายุน้อยกว่า 25 ปี (2) ครูคอมพิวเตอร์จบสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (3) ครูผู้ขอคำปรึกษามีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน (4) ครูผู้ขอคำปรึกษามีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น (5) ครูผู้ขอคำปรึกษาชอบทดลองสิ่งใหม่ ๆ (6) ครูผู้ขอคำปรึกษาปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่น และพบตัวแปรที่สัมพันธ์ทางลบจำนวน 2, 3 และ 3 ตัว ตามลำดับ ตัวแปรทางลบที่พบซ้ำกันมากที่สุดได้แก่ ครูคอมพิวเตอร์อายุ 36 45 ปี และครูผู้ขอคำปรึกษาอายุ 3645 ปี 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) พบตัวแปรที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของรูปแบบการให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ดังนี้ กรณีที่ 1 พบตัวแปรจำนวน 2, 3 และ 3 ตัวตามลำดับ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 21.60, 26.20 และ 22.60 กรณีที่ 2 พบตัวแปรจำนวน 1, 2 และ 2 ตัวตามลำดับ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 25.20, 27.20 และ 24.50 ตัวแปรที่พบซ้ำกันในทั้ง 2 กรณี คือ ครูผู้ขอคำปรึกษาต้องฝึกปฏิบัติบ่อยๆen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the consultation model of computer teachers in secondary private schools under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission 2) to study relationship between consultation model of computer teachers and selected variables : current status of computer teachers and current status and characteristics of consultee and 3) to identify predictor variables that effect consultation model of computer teachers. The samples were 349 heads of computer teachers and computer teachers in secondary private schools teaching in the academic year of 2003 in 214 schools. The consultation cases studied were media production by computer and application program utilization. Three consultation models included in the study were The Product Model, The Prescription Model and The Collaboration Model. The findings revealed that: 1. In case 1, computer teachers performed consultation in moderate level in all three models. In case 2, they performed in The Product Model and The Prescription Model in high level. 2. There were statistically sinificant relationships at .05 between each consultation model and selected variables. In case 1, there were positive relationships between each consultation model and 7, 7 and 1 variables, respectively. The positive variables mostly found were consultee prefers asking questions and consultee accepts others' comments. There were negative relationship between 2, 6 and 2 variables and three consultation model respectively. The mostly found variables were small-size school and consultee with bachelor education. In case 2, there were negative relationships between each consultation model and 11, 6 and 7 variables respectively. The mostly found variables were (1) computer teachers younger than 25 years of age (2) computer teachers with computer science degree (3) consultee with specific goals (4) consultee with good relationships (5) consultee with experimental habits and (6) well-adjusted consultee. There were negative relationships between 2, 3 and 3 variables and three consultation model respectively. The mostly found were computer teachers with 36-45 years of age and consultee with 36-45 years of age. 3. In enter multiple regression analysis at .05 level, there were variables predicting the consultation models of computer teachers as follows: In case 1, there were 2, 3 and 3 predictor variables together were able to account for 21.6%, 26.2% and 22.6% of the varience. In case 2 there were 1, 2 and 2 predictor variables together were able to account for 25.2%, 27.2% and 24.5% of the variance.en
dc.format.extent3361480 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.418-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครูคอมพิวเตอร์en
dc.subjectการให้คำปรึกษาen
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษาen
dc.subjectโรงเรียนเอกชนen
dc.titleตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อรูปแบบการให้คำปรึกษาของครูคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeSelected variables affecting the consultation model of computer teachers in secondary private schools under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commissionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.418-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LaddaL.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.