Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11041
Title: ผลกระทบของความถี่และความเข้มเสียงที่มีต่อการกัดของยุงลาย (Aedes aegypti linnaeus) โดยใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง
Other Titles: The effects of sound frequency and intensity on the biting of aedes aegypti linnaeus using experimental design technique
Authors: ประทานพร สำเภาเงิน
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.Pua@Chula.ac.th
Subjects: ยุงลาย
คลื่นเสียง
การออกแบบการทดลอง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอิทธิพลของความถี่เสียงและความเข้มเสียงที่มีต่อการกัดเหยื่อของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) โดยงานวิจัยนี้จะเริ่มต้นจากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ไล่และกำจัดยุงภายในประเทศที่ใช้ในปัจจุบัน และสำรวจหาความถี่เสียงที่ใช้ในการไล่ยุง จากนั้นจึงออกแบบการทดลองโดยกำหนดให้เหยื่อที่ใช้ในการทดลองคือ หนูขาว อุณหภูมิควบคุมอยู่ที่ 27-30 ํC ความชื้นสัมพัทธ์ 25-55% ความเข้มแสง 140-170 Lux และอุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาผลการกัดของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) จะสร้างความถี่เสียง 6 ระดับคือ 35, 100, 500, 5,000, 16,000 และ 50,000 Hz และความเข้มเสียงที่ 60, 75 และ 110 เดซิเบล สำหรับการทดลองกับยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และที่ความเข้มเสียง 75 เดซิเบล สำหรับการทดลองกับยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) นำผลการทดลองที่ได้วิเคราะห์ทางสถิติ หลังจากนั้นได้ทดสอบกับเครื่องไล่ยุงที่มีวางขายในท้องตลาด ซึ่งสร้างเสียงที่มีความเข้มเสียง 80 เดซิเบล ในย่านความถี่เสียง 35 Hz และความเข้มเสียง 73 เดซิเบล ในย่านความถี่เสียง 16,000 และ 21,000 Hz จากการวิจัยพบว่า (1) ในสภาวะปกติที่ไม่มีการปล่อยเสียงยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) จะมีจำนวนในการลงกัดเหยื่อเฉลี่ย 320+-70 และ 71+-23 ครั้งในเวลา 15 นาทีตามลำดับ (2) ความถี่เสียงและความเข้มเสียงที่สร้างจากชุดเครื่องกำเนิดเสียงในห้องปฏิบัติการ ไม่มีผลต่อจำนวนในการลงกัดของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) จะมีจำนวนในการลงกัดเหยื่อเฉลี่ยอยู่ที่ 322+-74 ครั้ง และ 76+-29 ครั้งในเวลา 15 นาทีตามลำดับ (3) เครื่องไล่ยุงไม่มีผลต่อการป้องกันการลงกัดของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และ ยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) มีจำนวนในการลงกัดเหยื่อเฉลี่ยเมื่อเปิดเครื่องไล่ยุงอยู่ที่ 343+-74 ครั้ง และ 73+-26 ครั้งในเวลา 15 นาทีตามลำดับ ดังนั้นความถี่เสียงและความเข้มเสียง ไม่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการกัดของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) อย่างสิ้นเชิง
Other Abstract: To examine the effect of sound frequency and intensity on the biting of Aedes Aegypti on the host. The research was begun by conducting questionnaires concerning mosquito repellents in Thailand as well as making informative research about sound frequency used to repel mosquitoes. White rats were used as the host to observe Aedes aegypti's and Culex quinquefasciatus' biting in every 15-minute experiments, under laboratory conditions of 27-30 ํC, 25-55% RH and light intensity 140-170 Lux with sound simulation equipment at 6 stipulated sound frequency levels which were 35, 100, 500, 16,000 and 50,000 Hz at intensities of 60, 75 and 110 decibel while testing on Aedes aegypti and at intensity of 75 decibel while testing on Culex quinquefasciatus. Next, the statistical analysis of experimental result was done. After that, mosquito-repelling device emitting sound frequency 35 at the intensity of 80 decibel and frequencies 16,000 and 21,000 at the intensity of 73 decibel was tested to determine the repellency of sound to both mosquito species. The result of this research showed that (1) The mean numbers of biting in normal environment, having no simulated sound, of Aedes aegypti and Culex quinquefasciatus were 320+-70 and 71+-23 respectively. (2) The sound frequency and intensity generated by sound simulator equipment did not have any significant effect on the biting of Aedes aegypti and Culex quinquefasciatus at alpha = 0.05. The mean numbers of biting of Aedes aegypti and Culex quinquefasciatus were 322+-74 and 76+-29 respectively. (3) The mosquito-repelling device did not have any effect on biting of Aedes aegypti and Culex quinquefasciatus at alpha = 0.05; the mean numbers of biting of Aedes aegypti and Culex quinquefasciatus were 343+-74 and 73+-26 respectively. Finally, sound frequency and intensity were not remarkably effect on the biting of Aedes aegypti.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11041
ISBN: 9741735863
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pratanporn.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.