Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11060
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนัย ทายตะคุ-
dc.contributor.authorมนตรี ตั้งศิริมงคล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-09T12:00:12Z-
dc.date.available2009-09-09T12:00:12Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741752776-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11060-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractศึกษาองค์ประกอบภูมิทัศน์เมืองบริเวณถนน ที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศบริเวณถนน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อสภาวะน่าสบายในเรื่องอุณหภูมิอากาศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเป็นเมืองน่าอยู่อันหนึ่ง ความเข้าใจในเรื่องผลของลักษณะขององค์ประกอบ ที่แตกต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศ จะช่วยให้ภูมิสถาปนิกซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกแบบภูมิทัศน์บริเวณถนน ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาออกแบบสภาพแวดล้อมบริเวณถนน โดยใช้องค์ประกอบภูมิทัศน์เมืองต่างๆ เพื่อช่วยให้บริเวณถนนอยู่ในสภาวะน่าสบาย น่าใช้งานนอกเหนือจากการพิจารณาในเรื่องความสวยงามด้วย วิธีการศึกษาเป็นการเปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศในจุดสังเกต 8 จุด ที่มีลักษณะแตกต่างกันตามแนวตัดขวางของถนนและภูมิทัศน์รอบๆ นั้น โดยในแต่ละจุดสังเกตมีองค์ประกอบภูมิทัศน์เมืองและสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน โดยองค์ประกอบภูมิทัศน์เมืองที่ศึกษา ได้แก่ วัสดุพื้นผิวปกคลุมและพืชพันธุ์ต่างๆ ของบริเวณถนน แนวตัดขวางถนน ประกอบด้วยบริเวณพื้นที่โล่งระหว่างอาคารกับทางเท้า บริเวณทางเท้า ถนน และเกาะกลางถนน บันทึกข้อมูลโดยบันทึกตั้งแต่เวลา 7.00-17.00 น. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในแต่ละช่วงเวลา 1 วัน โดยให้มีการเก็บข้อมูลทุกๆ 15 นาที ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะองค์ประกอบของภูมิทัศน์เมืองที่ต่างกัน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ โดยจุดที่มีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ บริเวณขอบเกาะกลางถนนฝั่งตะวันออก โดยที่พื้นผิวดินไม่มีต้นไม้ปกคลุม และจุดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด ได้แก่ บริเวณพื้นที่โล่งระหว่างอาคารกับถนน เป็นพื้นผิวหญ้า มีต้นไม้ปกคลุม ซึ่งค่าความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศระหว่างสองจุด เท่ากับ 1.88 ํC สำหรับข้อเสนอแนะในการออกแบบภูมิทัศน์บริเวณถนนเพื่อให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบ ได้แก่ ควรมีการใช้ต้นไม้ในการสกัดกั้นการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ เพื่อลดปริมาณความร้อนที่แผ่ลงมายังพื้นผิว และเรื่องการใช้วัสดุพื้นผิวที่ปกคลุมด้วยพืชพันธุ์ และการเลือกใช้พื้นผิวที่มีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนที่เหมาะสมen
dc.description.abstractalternativeTo study the effects of urban landscape element characteristics on air temperature around street. Air temperature is an important factor of thermal comfort. Changes in air temperature affect thermal comfort which is one of healthy city indicators. The understanding of the characteristics of urban landscape element and their effects on air temperature will guide landscape architect to a proper design of a landscape around street concerning not only aesthetic but also thermal comfort. The method of this research is comparing temperature data of eight different observation points along a cross section of a street and surrounding landscape. Each observation point consists of different urban landscape element characteristics and environmental conditions. The data are recorded in15 minutes interval from 7.00 a.m. to 5.00 p.m. to compare differences throughout the period of recording. The study shows that different urban landscape element characteristics result in different air temperature in each location. The average highest temperature point is at the east of street median area, which is an open area without tree cover. The average lowest temperature point is at the area in front of the building with a large tree cover. The different temperature is 1.88 ํC. Pertaining to themal comfort, a design of landscape around street need to have tree cover to reduce radiation from the sun and a proper selection of a landscape materials in term of proper albedo value, and vegetative surface cover.en
dc.format.extent9177704 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1102-
dc.subjectภูมิสถาปัตยกรรมเมืองen
dc.subjectสถาปัตยกรรมกับภูมิอากาศen
dc.subjectภูมิอากาศวิทยาเมืองen
dc.subjectโดมความร้อนของเมืองen
dc.subjectภูมิอากาศจุลภาคen
dc.subjectพืชกับภูมิอากาศen
dc.titleลักษณะขององค์ประกอบภูมิทัศน์เมืองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศบริเวณถนน : กรณีศึกษา ถนนเจริญราษฎร์en
dc.title.alternativeThe effect of urban landscape element characteristics to air temperature around streets : a case study of Charoenratch RD.en
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDanai.Th@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1102-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montri.pdf8.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.