Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11072
Title: | บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง |
Other Titles: | The role of the constitutional court on the performance of the Election Commission |
Authors: | ศุพรรษา กุศลพัฒนา |
Advisors: | นันทวัฒน์ บรมานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nantawat.B@Chula.ac.th |
Subjects: | ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง การเลือกตั้ง |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อการดำเนินงาน ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะที่ทั้งสององค์กร ต่างก็เป็นองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งและรับรองอำนาจหน้าที่ไว้ในรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ผลการศึกษาพบว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ได้กำหนดให้มีองค์กรต่างๆ ขึ้นมา ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหลายองค์กรด้วยกัน โดยองค์กรเหล่านี้ต่างก็มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันออกไปที่เรียกว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีทั้งองค์กรศาลและองค์กรที่ไม่เป็นองค์กรศาล โดยในส่วนขององค์กรศาลนั้น ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรศาลที่มีบทบาทสำคัญองค์กรหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือ อำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งคือ อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีปัญหา เกี่ยวกับการใช้อำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอำนาจประการนี้ของศาลรัฐธรรมนูญ มีข้อพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นหากองค์กรดังกล่าวมิใช่องค์กรตามตามรัฐธรรมนูญแล้ว ย่อมไม่อาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ และเนื่องจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น นอกจากจะมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว องค์กรดังกล่าวยังมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติรวมทั้งกฎหมายลำดับรองต่างๆ ด้วยเหตุผลด้งกล่าวจึงส่งผลให้องค์กรศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัย ย่อมแตกต่างกันไปด้วยกล่าวคือ หากองค์กรเหล่านั้นปฏิบัติหน้าที่โดยอาศัยอำจานตามรัฐธรรมนูญ ศาลที่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมตรวจสอบก็คือศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีสภาพเด็ดขาดและผูกพันทุกองค์กรของรัฐ แต่หากเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือกฎหมายลำดับรองต่างๆ ศาลที่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมตรวจสอบคือ ศาลปกครอง อย่างไรก็ดีหากพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญมิได้กำหนดเขตอำนาจศาลในการพิจารณาวินิจฉัยการกระทำต่างๆ ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจน โดยจากการศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับ องค์กรตามรัฐธรรมนูญในบางกรณีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของคณะกรรมการเลือกตั้งในฐานะองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม ดำเนินการวัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง อันมีผลทไให้เป็นการขยายขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ในการตรวจสอบองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทั้งที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ ซึ่งโดยหลักแล้วศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเฉพาะเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจตึความเพื่อขยายเขตอำนาจหรือปฏิเสธเขตอำนาจของศาลอื่นได้ หรือบางกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า หากเป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ การกระทำดังกล่าวถือเป็นข้อยุติ ไม่อาจถูกตรวจสอบโดยองค์กรใดได้ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะว่า ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะองค์กรศาลกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยหลักแลัวการกระทำทั้งหลายขององ |
Other Abstract: | To focuse on the role of the Constitutional Court on the Performance of the Election Commission. The powers and duties of the Constitutional court and the Election Commission are as the constitutional organs established by the Constitution. The study reveals that many constitutional organs are established by the Constitution of the Kingdom of Thailand 'B.E. 2540'. The constitutional organs will exercise the power to examine the State organs. The State organs consist of the organizations of the courts and non-organization of the court. The suggestion is based on the principle of restrictive interpretation of the Constitution. Since the jurisdiction of the Constitutional Court is restricted only as specified by the law, the provisions of the Constitution should not be interpreted to expand it. As for the problem of what court should have the jurisdiction over the rules and regulations of the constitutional organizations, we conclude that they fall within the jurisdiction of the Administrative Court rather than that of the Constitutional Court. If they are interpreted to be within the powers of the Constitutional court, its jurisdiction will become broader than that specified by the Constitution. As for the issue of the exercise of the powers and duties of the Constitutional Court in relation to the Election Commission, the thesis recommends that the Constitutional court should really put the limit on itself not to interfere the powers of constitutional organizations. This is because the Constitutional Court has not obtained the proper status for doing that. The thesis makes the final conclusion that the restrictive interpretation of the Constitutional Court will push it to actaually serve as the proper autonomous organization, and ultimately, will bring about precedents for future cases. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11072 |
ISBN: | 9741741685 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supansa.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.