Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1109
Title: ผลของดนตรีประจำรายการที่คุ้นเคยที่มีต่อการระลึกถึงรายการวิทยุ
Other Titles: The effects of familiar theme music on radio program recall
Authors: วัลลภ เจียรสถิตย์, 2521-
Advisors: โอฬาร วงศ์บ้านดู่
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: รายการวิทยุ
วิทยุกับดนตรี
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการระลึก ประเภท ชื่อ และเนื้อหาของรายการ ระหว่างการใช้ดนตรีประจำรายการที่คุ้นเคย และที่ไม่คุ้นเคย ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งเป็นการศึกษาในลักษณะ Pilot Study โดยใช้วิธีศึกษาเชิงทดลอง (Experimental Study) แบบ Post Test Only มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 18-22 ปี รวม 50 คน มีตัวแปรอิสระคือ รายการที่ใช้เพลงประจำรายการที่คุ้นเคย และรายการที่ใช้เพลงประจำรายการที่ไม่คุ้นเคย ตัวแปรตามคือประสิทธิผลในการระลึกรายการของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การเปรียบเทียบค่าสัดส่วนที่ได้จากการทดลอง (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนของการระลึกได้ในกลุ่มที่ได้ฟังรายการที่มีเพลงประจำรายการเป็นที่คุ้นเคยมากกว่า กลุ่มที่ได้ฟังรายการที่มีเพลงประจำรายการไม่เป็นที่คุ้นเคย แต่มากกว่าในอัตราที่ต่ำ ซึ่งในทางสถิติไม่ถือว่ามีนัยสำคัญ (มีค่านัยสำคัญ เกิด 0.05 ตามที่ได้กำหนดไว้) ดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวโดยสรุปคือ รายการที่ใช้ดนตรีประจำรายการที่คุ้นเคย ไม่สามารถทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดการระลึกถึง ประเภท ชื่อ และเนื้อหา ของรายการได้มากกว่ารายการที่ใช้ดนตรีประจำรายการที่ไม่คุ้นเคย ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ดนตรีประจำรายการที่คุ้นเคยไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือช่วยจำที่ดีว่าดนตรีที่ไม่คุ้นเคยเกิดขึ้นจากการที่ กลุ่มตัวอย่างเคยได้ฟังดนตรีที่คุ้นเคยมาหลายครั้งจากหลายรายการ รวมไปถึงอาจจะเคยได้ยินจากแหล่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่รายการวิทยุอีก (ซึ่งเป็นเหตุทำให้รู้สึกคุ้นเคย) จึงทำให้สับสนและไม่สามารถระบุได้ว่าดนตรีดังกล่าวเป็นดนตรีประจำรายการใด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด "Interference Effect" ที่ได้สันนิษฐานว่า ความคล้ายคลึงกันของสารที่อาจก่อให้เกิดการรบกวนความจำของผู้รับสาร โดยยับยั้งการระลึกได้
Other Abstract: This is a pilot study using experimental research method based on post test sampling of 50 male and female between 18-22 years old from Suan Dusit Rajabhat University. The independent variables are the radio programs that contain familiar theme music and the radio programs that contain unfamiliar theme music. The dependent variables are the effectiveness in recalling of sample. The study use the comparison of ration scale from Chi-Square statistical test. The assumption of this thesis is to study the effectiveness in recalling a category, a name and a content of radio program between using of familiar theme music and unfamiliar one. The research found that the radio program which has familiar theme music is more likely to be recalled than the one that does not have. However, the differences of the statistics between both factors are low which is not significant in statistical term. (significance more than 0.05 as noted) As a result, this research cannot prove the assumption. In conclusion the radio programthat use a familiar theme music cannot influence the audience to recall a name, a category or a content of the program more than the program that use unfamiliar theme music. The reason why the familiar theme music did not work as a mnemonic device is, for example, the group might have heard the familiar theme music from many radio programs which include other sources besides the program under our experimentation. (the reason they are familiar with the theme music) Therefore, the confusion might occur from hearing the same theme music from their past expriences. The audience cannot identify which one is a real theme music of each radio program.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1109
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1223
ISBN: 9745321397
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1223
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wallop.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.