Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11105
Title: | ผลของอุณหภูมิและปริมาณออกซิเจนของน้ำทะเลระยอง ต่ออัตราการกัดกร่อนแบบในซอกของเหล็กกล้าไร้สนิม เกรด UNS N 08031 และ UNS R 20033 |
Other Titles: | Effects of temperature and oxygen content of Rayong province sea water on crevice corrosion rate of UNS N 08031 and UNS R 20033 stainless steels |
Authors: | จุลดิษย์ จายนียโยธิน |
Advisors: | กอบบุญ หล่อทองคำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Gobboon.L@Chula.ac.th |
Subjects: | การกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน น้ำทะเล เหล็กกล้าไร้สนิม |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การกัดกร่อนภายในซอก เป็นการกัดกร่อนแบบเฉพาะที่ชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ชิ้นส่วนที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม โดยเฉพาะกับเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดที่ได้รับความนิยม เช่น AISI 304, AISI 304L, AISI 316 และ AISI 316L ไม่สามารถทนทานต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์อยู่ได้ จึงได้มีการนำเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดที่ทนทานกว่ามาใช้ เช่น เหล็กกล้าไร้สนิมดูเพล็กซ์ หรือเหล็กกล้าไร้สนิมที่ผสมธาตุโครเมียมและนิกเกิลสูงมากขึ้น ซึ่งเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด UNS N 08031 และ UNS R 20033 นี้เป็นเหล็กกล้าไร้สนิมที่ผู้ผลิตเสนอว่า สามารถต้านทานการกัดกร่อนแบบในซอกได้ดี งานวิจัยนี้ศึกษาการกัดกร่อนแบบในซอกของเหล็กกล้าไร้สนิมทั้งสองเกรด กับสภาวะใช้งานจริง คือน้ำทะเลของอ่าวไทยที่จังหวัดระยองโดยเทคนิคทางไฟฟ้าเคมี ทั้งนี้ จากงานวิจัยพบว่าเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด UNS N08031 และ UNS R20033 นี้แสดงความต้านทานต่อการกัดกร่อนแบบในซอกได้ดีเยี่ยม แม้สภาวะแวดล้อมของธรรมชาติมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น ปริมาณออกซิเจนที่ละลาย และอุณหภูมิแวดล้อมที่สูงขึ้น ทำให้เหล็กกล้าไร้สนิมทั้งสองเกรดนี้เป็นอีกทางเลือกของวัสดุ ที่สามารถนำไปใช้งานทางด้านเกี่ยวกับทะเล |
Other Abstract: | The crevice corrosion is a type of corrosion which is able to destroy parts made from the stainless steel specifically the utilized popular grades namely AISI 304, AISI 304L, AISI 316 and AISI 316L. These mentioned stainless steels cannot endure in the chloride-containing environment. As a result, the more endurable grade of stainless steel has been utilized for example duplex stainless steel or high chromium and high nickel stainless steel. The two grades of stainless steel, UNS N 08031 and UNS R 20033, are the ones that the manufacturers present that they are capable to well resist the crevice corrosion. This research studies the crevice corrosion of the above-cited two grades of stainless steel in the real practice in the Gulf of Thailand sea at Rayong Province by electrochemical technique. Due to the research study, it is found that UNS N08031 and UNS R20033 show their great resistance towards the crevice corrosion even in the more tougher natural environment such as more oxygen content and higher temperature. It is evident that those two grades of stainless steel can be another alternative of selecting materials for marine applications. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโลหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11105 |
ISBN: | 9741797419 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Juladit.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.