Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11152
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิสา วัชรสินธุ-
dc.contributor.advisorเดชา ลลิตอนันต์พงศ์-
dc.contributor.authorประภัสสร สิริวิชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-15T07:19:59Z-
dc.date.available2009-09-15T07:19:59Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741728182-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11152-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดจุดเวลาหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาความชุกของภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดกองการศึกษาเพื่อคนพิการ กรมสามัญศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 207 คน อายุ 13 - 24 ปี แบ่งเป็นชาย 102 คน และหญิง 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเป็นลักษณะการตอบด้วยตนเองผ่านล่ามภาษามือ ได้แก่ แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า CES-D (Center for Epidemiologic Studies Depression scale) โดยมีจุดตัดคะแนนตั้งแต่ 22 คะแนนขึ้นไปมีภาวะซึมเศร้า, แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม PRQ Part II(The Personal Resource Questionnaire: Part II), แบบสอบถามความภูมิใจในตนเอง CSEI (The Coopersmith Self-Esteem Inventory: Adult form) และแบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, chi-square test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ความชุกของภาวะซึมเศร้าของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเท่ากับร้อยละ 43 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 คือ ความภูมิใจในตนเองต่ำ และการไม่ได้รับการศึกษาของมารดา ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ในการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น ควรมุ่งเน้นในการสนับสนุนและพัฒนาให้นักเรียนมีความภูมิใจในตนเองในด้านต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าในนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้ต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this cross-sectional descriptive study was to study the prevalence of depression and factors associated with depression among impaired-hearing students in secondary school under Division of Education for the Disabled, Department of General Education, Ministry of Education, Bangkok. The samples were 207 grade 7-12 impaired-hearing students, age 13-24. 102 males and 105 females attended in this study. All measurements were self-rating scales via sign language interpreter. The measurements included CES-D scale (Center for Epidemiologic Studies Depression scale) at the cut off point score >= 22, PRQ Part II (The Personal Resource Questionnaire: Part II) ,CSEI (Coopersmith Self-Esteem Inventory: Adult Form) and questionnaires about personal data. The data were analyzed by mean, percentage, standard deviation, chi-square test with SPSS/FW program. The results of this study were: 1. The prevalence of depression among impaired-hearing students was 43% 2. Factors that had been significantly associated with depression among impaired-hearing students at the level of .05 were low self-esteem and mother's non-education. The results from this study suggested that taking care of impaired-hearing students should emphasize on promoting and encouraging self-esteem in every areas to prevent depression in impaired-hearing students.en
dc.format.extent850294 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความนับถือตนเองen
dc.subjectความซึมเศร้าen
dc.subjectเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินen
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen
dc.subjectความภาคภูมิใจในตนเองในเด็กen
dc.titleภาวะซึมเศร้าของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดกองการศึกษาเพื่อคนพิการ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDepression among impaired-hearing students in secondary school under Division of Education for the Disabled, Department of General Education, Ministry of Eduation, Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAlisa.W@Chula.ac.th-
dc.email.advisorDecha.L@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapatsorn.pdf830.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.