Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิ่งแก้ว วัฒนเสริมกิจ-
dc.contributor.authorดาราพร รินทะรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-15T07:36:13Z-
dc.date.available2009-09-15T07:36:13Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741713711-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11156-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อตับและไตของปลานิล Oreochromis niloticus Linn. ภายหลังได้รับสารสกัดใบยาสูบ Nicotiana tabacum Linn. เป็นเวลานาน 8 เดือน โดยทดลองหาค่าความเป็นพิษเฉียบพลันตามวิธี Acute static toxicity test ใช้ลูกปลานิลอายุ 1 เดือน แบ่งการทดลองออกเป็นกลุ่มทดสอบสารสกัดใบยาสูบกับกลุ่มควบคุม โดยทดลองกลุ่มละ 3 ซ้ำ ทดลองหาค่า LC 50 ที่ 96 ชั่วโมง โดยใช้โปรแกรมโพรบิท ได้ค่าความเข้มข้นเท่ากับ 838.46 ไมโครลิตร/ลิตร และจากค่าดังกล่าว นำมาคำนวณหาค่าความเข้มข้นของสารสกัดใบยาสูบ ที่จะใช้ในการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง ได้ค่าความเข้มข้นเท่ากับ 0.68 ไมโครลิตร/ลิตร (มีปริมาณนิโคติน 0.034 มิลลิกรัม/ลิตร) ทดลองโดยนำปลานิลมาเลี้ยงเป็นเวลานาน 8 เดือน สุ่มจับปลาโดยไม่ระบุเพศ จำนวนกลุ่มละ 30 ตัว ทุกเดือน เก็บตัวอย่างตับและไตของปลา ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมาชั่งน้ำหนักตับ ดองรักษาสภาพและทำสไลด์ถาวรเพื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ผลการศึกษา % R ของตับ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในเดือนเดียวกัน พบว่าทุกเดือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<=0.05) การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของตับปลากลุ่มทดลอง ในเดือนที่ 1 พบว่าช่องไซนูซอยด์ขยายตัว และพบเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมากคั่งอัดแน่นอยู่ภายใน เซลล์ตับบางเซลล์มีการสะสมไฮยาลินกรานูลและแวคิวโอลไขมัน เซลล์มีลักษณะบวม ในเดือนที่ 2 และ 3 พบว่าเซลล์ตับสะสมไฮยาลินกรานูลและแวคิวโอลไขมันเพิ่มมากขึ้น เริ่มมีการตายของเซลล์ตับเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะเซลล์ตับที่อยู่รอบๆ บริเวณตับอ่อนและใกล้หลอดเลือด พบมีการสลายของนิวเคลียสและบางเซลล์นิวเคลียสติดสีเข้ม และพบการแทรกของเซลล์มาโครฟาจบริเวณเซลล์ตับที่เกิดความเสียหาย การเปลี่ยนแปลงในเดือนที่ 4 และ 5 พบว่าเกิดการสะสมแวคิวโอลไขมันเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงในไซโทพลาสซึมของเซลล์ตับ จนเห็นเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเซลล์ตับที่อยู่รอบๆ ตับอ่อน พบการตายของเซลล์ตับ โดยการสลายของนิวเคลียส เซลล์อะซินาร์ของตับอ่อน มีการสะสมไฮยาลินกรานูล และแวคิวโอลไขมัน และบางเซลล์มีลักษณะบวมพอง พบเซลล์มาโครฟาจ แทรกเข้ามาบริเวณเซลล์ตับและเซลล์ตับอ่ออนที่เสียหาย และพบเซลล์อิโอสิโนฟิลิค กรานูลาร์ บริเวณหลอดเลือด ในเดือนที่ 6 และ 7 พบการตายของเซลล์ตับเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่านิวคลีโอลัสมีการหดตัวและรวมกลุ่มกัน อยู่ที่ขอบของนิวเคลียส จนเห็นเป็นสีทึบ เซลล์ของตับอ่อนสะสมแวคิวโอลไขมันมากขึ้นทั่วทั้งตับอ่อน มีการแทรกของเซลล์มาโครฟาจ ทั้งในบริเวณเซลล์ตับและเซลล์ตับอ่อน การเปลี่ยนแปลงในเดือนที่ 8 พบว่ามีการเกิดซิสท์ขึ้นในเนื้อตับ มีการแทรกของเซลล์เม็ดเลือดขาวและมาโครฟาจเป็นจำนวนมาก รอบๆ ซิสท์ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของเนื่อเยื่อไตตั้งแต่เดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 8 พบว่า มีการหดตัวของโกลเมอรูลัส โดยพบว่าในช่วงเดือนที่ 6-8 โกลเมอรูลัสมีการหดตัวมาก เซลล์ท่อไตส่วนต้นมีลักษณะบวมและพบการสะสมไฮยาลินกรานูลและแวคิวโอลไขมัน โดยมีการสะสมเพิ่มมากขึ้นในเดือนที่ 4-8 ตามลำดับ มีการแทรกของเซลล์มาโครฟาจตั้งแต่เดือนที่ 2 เป็นต้นไป จนถึงเดือนที่ 8 โดยพบมากขึ้นในช่วงเดือนที่ 7 และ 8 และในเดือนที่ 8 ยังพบว่ามีการแทรกของเซลล์อิโอสิโนฟิลิค กรานูลาร์ จำนวนมาก อยู่ภายในหลอดเลือด ใกล้กับเซลล์ที่เกิดความเสียหาย การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อตับและไตของปลานิลมีความเสียหายรุนแรง สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ปลาได้รับสารสกัดใบยาสูบ สรุปได้ว่าสารสกัดใบยาสูบมีผลทำให้เกิดความเสียหายในลักษณะกึ่งเรื้อรังต่อเนื้อเยื่อตับและไตของปลานิลen
dc.description.abstractalternativeHistopathological alteration of tilapia Oreochromis niloticus Linn. Liver and kidney after long term exposure for 8 months to Nicotiana tabacum Linn. leaf extract was studied. Acute static toxicity tests were carried out on young tilapia at 1 month old for treatment and control groups, each group consists of 3 replication. The LC 50 at 96 hours was analyed by probit analysis, it was determined at 838.46 micro l/l. and from the application value, a sublethal concentration for subchronic toxicity test was calculated at 0.68 micro l/l. (nicotine content 0.034 mg/l) the subjects were exposed to this sublethal concentration for 8 months. The both sexes were randomly selected (n=30) in every month, the liver and kidney of treated and control groups were fixed and taken for conventional histological method and the liver was weighted. The comparative of the % reletive liver weight between treated and control group in the same month were determined. (P<=0.05). Results obtained showed that the histopathological alteration of liver at 1 month revealed sinusoid dilation and blood congestion, hydropic swelling of hepatocyte, hyaline droplet and fat vacuolation in cytoplasm of some hepatocyte. For 2 and 3 months exposure, the hepatocyte increased hyaline droplet and fat vacuolation, focal necrosis of peripancreatic hepatocyte and which near blood vessels, karyolysis and pyknosis of nucleus. There were macrophage invasion near inflammatory site. For 4 and 5 months exposure, fat vacuolation were change to severe. There were a large space of fat vacuole near pancreatic tissue, karyolysis, hyaline droplet and fat accumulation in acinar cells were determined. Macrophage invasion in both hepatocyte and acinar cell, Eosinophilic granular cells (EGCs) were found near blood vessels. For 6-7 months exposure, there were increased hepatocyte necrosis, perichromatin clumping and vacuolation in pancreas. Macrophage and EGCs invasion near inflammatory area. At 8 months of exposure, cyst were determined, blood congestion and macrophage invasion near cyst area. For histological change of kidney since 1-8 months, showed golmerulus contraction, especially, at 6-8 months of exposure. There were blood congestion and hydropic swelling of proximal tubules, hyaline droplet accumulation and fat vacuolation, tubular necrosis of proximal tubules. Since 2-8 months for exposure, were found macrophage invasion near inflammatory site and there were changed from mild to severe. At 8 months of exposure, there were found EGCs invasion inflammatory blood vessels. The severity of change were depended on the duration of treatment, it can be conclude that tobacco leaf extract caused subchronic effects on liver and kidney of tilapia.en
dc.format.extent4626294 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectยาสูบ -- พิษวิทยาen
dc.subjectยาสูบ -- ผลกระทบทางสรีรวิทยาen
dc.subjectนิโคติน -- -- พิษวิทยาen
dc.subjectนิโคติน -- ผลกระทบทางสรีรวิทยาen
dc.titleผลกึ่งเรื้อรังของสารสกัดใบยาสูบ Nicotiana tabacum Linn. ต่อตับและไตของปลานิล Oreochromis niloticus Linnen
dc.title.alternativeSubchronic effects of nicotiana tabacum Linn. leaf extract on liver and kidney of tilapia Oreochromis niloticus Linnen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสัตววิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKingkaew.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Daraporn.pdf4.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.