Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1115
Title: | การเปรียบเทียบมุมมองความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณาระหว่างนักสร้างสรรค์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาและผู้บริโภค |
Other Titles: | Comparison of advertising creativity views between advertising creative personnel and consumers |
Authors: | นรัฏฐา โชติกวนิชย์ |
Advisors: | วิฎราธร จิรประวัติ, ม.ล. วรวัฒน์ จินตกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vittratorn.C@chula.ac.th Worawat.C@chula.ac.th |
Subjects: | ความคิดสร้างสรรค์ โฆษณา |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มุมมองความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณาของนักสร้างสรรค์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา 2) มุมมองความคิดสร้างสรรค์งานโฆษณาของผู้บริโภค และ 3) เปรียบเทียบมุมมองความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณาระหว่างนักสร้างสรรค์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาและผู้บริโภค ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental research method) แบบวัดครั้งเดียว (One-shot case study) โดยใช้ตัวอย่างโฆษณาจำนวน 15 ชิ้น และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิจัยนี้มีกลุ่มผู้เข้าทดลองจำนวน 120 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักสร้างสรรค์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา จำนวน 60 คน และกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 60 คน โดยสมมุติฐานของการวิจัย คือ "มุมมองความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณาของนักสร้างสรรค์ในบริษัทตัวแทนโฆษณามีความแตกต่างกับมุมมองความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริโภค" ซึ่งจะวัดโดยพิจารณาจากความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณาซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ความแปลกใหม่ ข้อเสนอขาย และรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่าทั้งนักสร้างสรรค์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาและผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านรูปแบบในงานโฆษณาสูงที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบมุมมองความคิดสร้างสรรค์โดยรวมของนักสร้างสรรค์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาและผู้บริโภคแล้ว พบว่าผู้บริโภคพิจารณางานโฆษณาโดยให้คะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์โดยรวมสูงกว่านักสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ |
Other Abstract: | The objectives of this research were: 1) to study advertising creativity view of advertising creative personnel, 2) to study advertising creativity view of consumers, and 3) to compare advertising creativity views between advertising creative personnel and consumers. Pre-experimental research (One-shot case study) was utilized in this study. Fifteen print advertisements were randomly selected to be used as instrument for the research. The experiment was conducted with 120 participants, which were divided into 2 groups: 60 advertising creative personnel and 60 consumers. The hypothesis of this research was "Advertising creativity view of creative personnel is different from advertising creativity view of consumers." There were 3 dimensions judged for advertising creativity: novelty, proposition, and style. The results showed that both advertising creative personnel and consumers rated style dimension highest. However, advertising creative personnel and consumers had different advertising creativity views inthat consumers rated all dimensions of advertising creativity significantly higher than creative personnel which confirmed the research hypothesis. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การโฆษณา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1115 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1246 |
ISBN: | 9745322113 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.1246 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Naratta.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.