Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11195
Title: การวิเคราะห์สมรรถนะของการควบคุมการเข้าถึงหลายทาง สำหรับการร่วมบริการเสียงและข้อมูลในระบบสื่อสารไร้สาย
Other Titles: Performance analysis of multiple access control for integrated voice and data services in wireless communication
Authors: พัดชา สุวรรณภักดี
Advisors: ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Lunchakorn.W@Chula.ac.th  
Subjects: ระบบสื่อสารไร้สาย
การเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งเวลา
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของโพรโทคอลการควบคุมการเข้าถึงหลายทางบนพื้นฐานของโพรโทคอล Packet Reservation Multiple Access (PRMA) เพื่อให้ระบบสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้แก่บริการประเภทเสียงและดาตาได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับคุณภาพของการบริการ (PoS) ที่แตกต่างกันและมีค่าวิสัยสามารถของระบบสูงสุด ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จะแยกพิจารณาปัญหาออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ ในส่วนแรกจะพิจารณาถึงลักษณะทางธรรมชาติของบริการแต่ละประเภท เพื่อให้เข้าใจถึงคุณสมบัติพื้นฐานและความต้องการทางด้านบริการของทราฟฟิกแต่ละประเภท จากนั้นจึงพิจารณาถึงผลกระทบของค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ค่า Voice Permission Probability ค่า Data Permission Probability ขนาดของแพ็กเกต ความยาวเฟรม ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจขีดความสามารถตลอดจนข้อจำกัดของโพรโทคอล PRMA และส่วนสุดท้ายซึ่งจัดเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งที่มีผลต่อสมรรถนะของระบบโดยตรง ได้แก่ เทคนิคในการปรับปรุงสมรรถนะของโพรโทคอล PRMA ซึ่งจะพิจารณาตั้งแต่การแก้ปัญหาการสูญเสียทรัพยากรอันเนื่องมาจากการชนกันในช่วงที่ผู้ใช้ร้องขอไทม์สล็อตแบบสุ่มไปยังสถานีฐาน และการหาแนวทางในการจัดสรรไทม์สล็อตให้แก่ผู้ใช้ภายหลังจากที่ผู้ใช้สามารถร้องขอไทม์สล็อตได้สำเร็จ เทคนิคที่นำเสนอเพื่อปรับปรุงสมรรถนะของโพรโทคอล PRMA จะแบ่งออกเป็น 3 แนวทางคือ 1. เทคนิคการปรับค่า Permission Probability ซึ่งประกอบด้วย เทคนิค Variable Probability PRMA (VP-PRMA) และเทคนิค Exponential Back-off 2. เทคนิคการลดจำนวนการร้องขอ ซึ่งประกอบด้วย เทคนิค Piggybacking (PGBK) เทคนิค Multiple packet assignment เทคนิค Slot Stealing และเทคนิค Collision Reduction PRMA (CR-PRMA) 3. เทคนิคการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเฟรมให้อยู่ในรูปของสล็อตร้องขอและสล็อตข้อมูล ทั้งนี้จะมีการทดสอบและวิเคราะห์ผลของแต่ละเทคนิคอย่างละเอียด จากนั้นจึงได้พัฒนาโพรโทคอลที่เกิดจากการรวมเทคนิคต่างๆ บางประเภทข้างต้น ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่า การนำเอาเทคนิคการปรับค่า Permission Probability ด้วยวิธี Exponential Back-off และวิธี VP-PRMA มาใช้ร่วมกับวิธี PGBK จะมีความเหมาะสมกับระบบที่ผู้ใช้ดาตามีความต้องการจะส่งข่าวสารขนาดสั้น ในขณะที่การนำเอาเทคนิคการปรับค่า Permission Probability ด้วยวิธี Exponential Back-off และวิธี VP-PRMA มาใช้ร่วมกับวิธี Multiple packet assignment จะมีความเหมาะสมกับระบบที่ผู้ใช้ดาตามีความต้องการจะส่งข่าวสารขนาดยาว ทั้งนี้โพรโทคอลที่ได้พัฒนาขึ้นนี้จะให้ค่าวิสัยสามารถที่สูง โดยมีเวลาประวิงของแพ็กเกตดาตาที่ต่ำ อีกทั้งยังสามารถรับประกันคุณภาพของการบริการได้ตามต้องการ
Other Abstract: This thesis presents the design and development of an effective Multiple Access Control protocol based on Packet Reservation Multiple Access protocol (PRMA) for integrated voice and data services in wireless communications. In order to achieve high levels of channel utilization and guarantee Quality of Service (QoS), key issues on the protocol design have been identified and extensively investigated. In this thesis, the protocol design problem is divided into various design aspects as follows. First, traffic characteristics are considered in order to understand their behavior and the requirement of each traffic type. Next, the influence of system parameters on PRMA performance, i.e., Voice Permission probability, Data Permission Probability, packet length and frame duration are intensively studied. The main aspect of this research is how to find the operational mechanisms that can reduce the frequency of collisions and serve each successful terminal effectively, thereby leading to improvements in overall system performance. Three distinct techniques have been proposed for developing the PRMA's performance. They are as follows. 1. technique that varies the permission probability, namely, Variable Probability PRMA (VP-PRMA) and Exponential Back-off. 2. technique that reduces the number of requests in the system, namely, Piggybacking (PGBK), Multiple packet assignment, Slot Stealing and Collision Reduction PRMA (CR-PRMA). 3. technique that separates resources for contention and data transmission. This study aims to provide a comprehensive investigation of these schemes and thereupon, we have put together some of these schemes to form a new Multiple Access Control protocol that offers very desirable performance such as high throughput, low data packet delay and QoS guaranteed. The simulation results show that the combination between PGBK with Exponential Back-off and VP-PRMA technique is suitable for integrated voice and data services in short message environments whereas the combination between Multiple packet assignment with Exponential Back-off and VP-PRMA technique is effective in long message environments.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11195
ISBN: 9740304419
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Padcha.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.