Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11231
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราเบี้ยประกันสุขภาพ
Other Titles: Analysis of factors affecting the premium rate of health insurance
Authors: พรรณอร ธีระบุญชัยกุล
Advisors: จลีพร โกลากุล
สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chaleeporn.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ประกันสุขภาพ
เบี้ยประกันสุขภาพ
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
การวิเคราะห์ตัวประกอบ
การวิเคราะห์การถดถอย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราเบี้ยประกันสุขภาพ และคำนวณหาอัตราเบี้ยประกันสุขภาพ การคำนวณหาขนาดของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคำนวณเบี้ยประกันสุขภาพ ใช้วิธีศึกษาด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว และเปรียบเทียบสัดส่วนของค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยในการรับประกันสุขภาพ การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ปัจจัยที่นำมาศึกษาคือ เพศ อาชีพ และอายุ โดยข้อมูลที่ใช้ศึกษาเป็นข้อมูลการรับประกันและการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ของการประกันสุขภาพของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง จากการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว และเปรียบเทียบสัดส่วนของค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยในการรับประกันสุขภาพ สามารถคำนวณหาขนาดของอิทธิพลในแต่ละส่วนประกอบของปัจจัยต่างๆ การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักไม่สามารถคำนวณหาขนาดของอิทธิพลของปัจจัยได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านลักษณะข้อมูลที่วิเคราะห์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สามารถคำนวณหาขนาดของอิทธิพลของแต่ละปัจจัยได้แต่ไม่เหมาะสม เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนของค่าประมาณค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาขนาดของอิทธิพลในแต่ละปัจจัยพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้นขนาดของอิทธิพลจะสูงขึ้น เพศหญิงมีขนาดของอิทธิพลสูงกว่าเพศชาย และอาชีพชั้น 1 มีขนาดของอิทธิพลสูงกว่าอาชีพชั้น 2 และอาชีพชั้น 3
Other Abstract: To analysis the effect of factors to premium rating and to calculate the health insurance premium rate. The methods using to find such factors are one-way analysis of variance and claim ratio comparison, factor analysis method and multiple regression analysis method. The factors under consideration are sex, occupation and age, using the data of health insurance and claim payment of a life insurance company. The result of this study that one-way analysis of variance and claim ratio comparison can determine the effect of each factors. Whereas, factor analysis method is unable to do so because of the limited data. Also, multiple regression analysis method is not capable to find out suitable effect of factors because of hight error in the estimation. In consideration the effect of each factors, it indicates that if the age increase, the effect will higher, female has higher effect than male and the least hazardous class has higher effect than the mildly hazardous class and the most hazardous class.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11231
ISBN: 9746362003
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punorn_Te_front.pdf830.68 kBAdobe PDFView/Open
Punorn_Te_ch1.pdf723.48 kBAdobe PDFView/Open
Punorn_Te_ch2.pdf740.08 kBAdobe PDFView/Open
Punorn_Te_ch3.pdf815.17 kBAdobe PDFView/Open
Punorn_Te_ch4.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Punorn_Te_ch5.pdf730.97 kBAdobe PDFView/Open
Punorn_Te_back.pdf900.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.