Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11237
Title: | การติดตามการจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 ในโครงการต้นแบบผลิตช่างเทคนิคเพื่ออุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
Other Titles: | A follow-up study of the organization of the-higher vocational certificate curriculum B.E.2546 in a prototype project of techincian production for industry, the vocational education commission |
Authors: | เรืองวิทย์ ปอสูงเนิน |
Advisors: | เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Permkiet.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษาทางการช่าง -- หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามสภาพและปัญหาการจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 ในโครงการต้นแบบผลิตช่างเทคนิคเพื่ออุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ วิทยาลัยเทคนิค 4 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ที่ปรึกษา โครงการผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและบุคลากรจากสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอในรูป ความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ขั้นเตรียมการจัด วิทยาลัยเทคนิคมีการวางแผนการจัดหลักสูตร การเตรียม บุคลากร การจัดทำแผนการสอน การเตรียมวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการเรียน การเตรียมการ คัดเลือก นักศึกษา การเตรียมการฝึกงาน การเตรียมการวัดและประเมินผลการเรียนและสมรรถนะและ การประชาสัมพันธ์หลักสูตร ปัญหาที่พบ ได้แก ครูผู้สอนมีภาระงานด้านการสอนมาก ครูพี่เลี้ยงติด ภาระงานในภาคการผลิตของโรงงานทำให้การสื่อสารในการดำเนินโครงการขาดความต่อเนื่อง วัฒนธรรมด้านการทำงาน การดำเนินโครงการและการจัดหลักสูตรระหว่างสถานประกอบการกับ วิทยาลัยเทคนิคแตกต่างกัน 2. ขั้นดำเนินงานการจัด วิทยาลัยเทคนิคมีการปรับปรุงหลักสูตรฐาน สมรรถนะ โดยการเลือกอาชีพในสถานประกอบการให้ตรงตามระดับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง โดยนำอาชีพที่เลือกมาวิเคราะห์สมรรถนะหลักที่ช่างเทคนิคต้องมี และเขียนสมรรถนะ หลักแต่ละอย่าง แบ่งออกเป็นสมรรถนะย่อยที่เป็นคุณสมบัติของช่างเทคนิค เปรียบเทียบกับหลักสูตร ปัจจุบันระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะถ้าสมรรถนะใดไม่มีในหลักสูตรดำเนินการโดยบูรณาการหลักสูตรอาชีวศึกษาท้องถิ่น มีการเตรียมความพร้อมครูผู้สอน โดย การอบรมเชิงปฏิบัติ การในเรื่องวิธีการสอนและการจัดทำแผนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเตรียมความพร้อม ครูพี่เลี้ยงโดยการอบรมการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาฝึกงาน การจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ในสถานศึกษาแบบหลากหลายปัญหาที่พบ ได้แก่ การปรับปรุงหลักสูตรฐาน สมรรถนะต้องคัดสรรหลักสูตร ที่เหมาะสมแล้วปรับปรุงเนื้อหาการสอนต้องใช้ระยะเวลาสังเคราะห์ จากเอกสารหลายเล่ม สื่อการเรียน การสอน วัสดุ ครุภัณฑ์ในวิทยาลัยเทคนิคมีปริมาณไม่เพียงพอและมี ตรงกับสาขางานในสถานประกอบ การ 3. ขั้นติดตามประเมินผลการจัด วิทยาลัยเทคนิคมีการติดตาม ประเมินผลขั้นเตรียมการจัดหลักสูตร และติดตามประเมินผลขั้นดำเนินงานการจัดหลักสูตร โดยที่ปรึกษา โครงการ และการรายงานผลการ ปฏิบัติการโครงการให้กับปริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) การดำเนินงานโครงการส่วนใหญ่เป็น ไปตามแผนงานที่ได้วางไว |
Other Abstract: | The purposes of this research were to follow-up the state and problems of the organization of the higher vocational certificate curriculum B.E. 2546 in a prototype project of technician production for industry, the vocational education commission. The subjects consisted of four colleges that attend the project by which data were gathered from project counselor, college administrators, teachers and private sector personnel. Sumi-structured interviews were used in this study. The data have been analyzed by using content analysis. Information represent by description. The results were as follows: 1. At the preparation stage, the curriculum implementation was planned with composed of the personnel preparation, teaching plan, educational resources and materials, student selection plan, training plan, measurement and evaluation plan, competency test and public relations activities. The problem encountered were teacher teaching load, private sector personnel had insufficient time to take care of student and the difference of working culture between private sector and colleges. 2. At the operation stage, colleges improved competency based curriculum by selecting occupation in which match to the higher vocational certificate career. They analyzed the competency and set up the qualification techniques, compared them with the present curriculum. The techniques beyond, they integrated them to the local vocational curriculum. The teacher preparation done by training on teaching methods and student center teaching plan. The private sector personnel had trained on teaching sill. Colleges also had planned on varied teaching methods. They encounter insufficient time to improving competency based curriculum. They were lacking of educational resources, training resources and durable articles. And most of the materials, they had hid not associate with industrial need. 3. At the evaluation stage, the evaluation done by project counselor. They follow-up every stages, improved and reported to Siam Cement public Co. Ltd. The follow-up study showed that most of stages in the project were done as specify in a master plan. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11237 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.555 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.555 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ruangwit.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.