Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1126
Title: การวิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ
Other Titles: Creative analysis of television commercials in service business
Authors: เฉลิมพล จันทร์ขจร
Advisors: รัตยา โตควณิชย์
วรวัฒน์ จินตกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Rataya.T@chula.ac.th
Worawat.C@chula.ac.th
Subjects: ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์
ความคิดสร้างสรรค์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ 1) การใช้กลยุทธ์การสร้างสรรค์ 2) วิธีการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ และ 3) จุดจูงใจ โดยศึกษาภาพยนตร์โฆษณาของธุรกิจบริการ 4 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจบริการประเภทที่ 1 บริการเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องได้ มุ่งไปยังร่างกายคน ธุรกิจบริการประเภทที่ 2 บริการเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องได้ มุ่งไปยังสิ่งของ ธุรกิจบริการประเภทที่ 3 บริการเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มุ่งไปยังจิตใจคน และธุรกิจบริการประเภทที่ 4 บริการเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มุ่งไปยังทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ที่ออกอากาศในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2545 -ตุลาคม 2546 จำนวน 384 ชิ้น ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ธุรกิจบริการประเภทที่ 1 นิยมใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย ธุรกิจบริการประเภทที่ 2 นิยมใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย ธุรกิจบริการประเภทที่ 3 นิยมใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์แบบทั่วไปและกลยุทธ์การเร้าอารมณ์ ขณะที่ธุรกิจบริการประเภทที่ 4 นิยมใช้กลยุทธ์การเร้าอารมณ์มากที่สุด 2) วิธีการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์งานโฆษณา พบว่าธุรกิจบริการประเภทที่ 1 นิยมการนำเสนอที่ตัวสินค้า ธุรกิจบริการประเภทที่ 2 นิยมวิธีการนำเสนอแบบเสี้ยวหนึ่งของชีวิต และการนำเสนอที่ตัวสินค้า ธุรกิจบริการประเภทที่ 3 นิยมใช้การนำเสนอที่ตัวสินค้า และการนำเสนอเชิงสารคดี ธุรกิจบริการประเภทที่ 4 นิยมใช้การนำเสนอรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ใช้สินค้า และเสี้ยวหนึ่งของชีวิต 3) จุดจูงใจในงานโฆษณาพบว่าธุรกิจบริการประเภทที่ 1 นิยมใช้จุดจูงใจด้านคุณลักษณะ และจุดจูงใจด้านประสาทสัมผัส ธุรกิจบริการประเภทที่ 2 นิยมใช้จุดจูงใจด้านราคาหรือความคุ้มค่า ธุรกิจบริการประเภทที่ 3 นิยมใช้จุดจูงใจด้านราคาหรือความคุ้มค่า และจุดจูงใจด้านประสาทสัมผัสในจำนวนที่เท่ากัน ธุรกิจบริการประเภทที่ 4 นิยมใช้จุดจูงใจด้านความรัก
Other Abstract: This research is a content analysis of television commercials of service business, aimed to compare 1) creative strategy 2) execution 3) appeals in service business. Four categories of service business: 1) People processing, 2) Possession processing, 3) Mental stimulus processing and 4) Information processing, airing during November 2002 - October 2003 were analyzed, with a total of 384 commercials. The results showed that: Promotional strategy was mostly used in People processing and Possession processing; Promotional strategy, Generic strategy and Emotional strategy were mostly used in Mental stimulus processing; while Emotional strategy was mostly utilized in Information processing. Product presentation was the most popular execution used in People processing; Slice of life and Product presentation were mostly utilized in Possession processing; Product presentation and Documentary were mostly used in Mental stimulus processing; while Lifestyle and Slice of life were the most popular execution in Information processing. In terms of appeals, Feature appeal and Sensory appeal were mostly used in People processing; Price or Value appeal was most frequently used in Possession processing; Price or Value appeal and Sensory appeal were mostly found in Mental stimulus processing; finally, Love appeal was mostly utilized in Information processing.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1126
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1471
ISBN: 9741763476
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1471
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charoempon.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.