Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1128
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชนี เชยจรรยา-
dc.contributor.authorชญานิน เจิมมาก, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-26T10:16:02Z-
dc.date.available2006-07-26T10:16:02Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745315478-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1128-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นของเนื้อหาที่นำเสนอในนิตยสารแนวการเมือง การแสวงหาข่าวสารทางการเมือง จิตสำนึกประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้อ่านนิตยสารแนวการเมือง เปรียบเทียบการแสวงหาข่าวสารทางการเมือง จิตสำนึกประชาธิปไตย และระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้อ่านนิตยสารแนวการเมือง รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสารทางการเมือง จิตสำนึกประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้อ่านนิตยสารแนวการเมือง เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือพิมพ์และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือนิตยสารแนวการเมืองทั้งหมด 3 ชื่อฉบับ ได้แก่ เนชั่นสุดสัปดาห์ มติชนสุดสัปดาห์และสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ จำนวนทั้งสิ้น 36 ฉบับ และผู้อ่านนิตยสารแนวการเมืองที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 ราย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test, One Way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการประมวลผล ผลการวิจัยพบว่าประเด็นเนื้อหาสำคัญที่นำเสนอในนิตยสารแนวการเมือง ได้แก่ การเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองหรือนักการเมืองซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของรัฐบาลหรือฝ่ายค้านโดยตรง การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ และเหตุการณ์ทั่วไปทางการเมือง ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณกับผู้อ่านนิตยสารแนวการเมืองพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการแสวงหาข่าวสารทางการเมืองในระดับต่ำ จิตสำนึกประชาธิปไตยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง และกลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับสูงมาก กลุ่มตัวอย่างมีการแสวงหาข่าวสารทางการเมืองแตกต่างกันตามเพศ และอายุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .001 ตามลำดับ จิตสำนึกประชาธิปไตยแตกต่างกันตามเพศระดับการศึกษา และระดับรายได้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันตามอาชีพที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การแสวงหาข่าวสารทางการเมืองไม่มีความสัมพันธ์กับจิตสำนึกประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง จิตสำนึกประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01en
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the political magazines content, political information seeking, democratic consciousness and political participation of Bangkok magazine readers by comparing political information seeking, democratic consciousness and political participation of Bangkok political magazine readers. Above contents analyse by 36 issues of political magazines which include Nation Weekend, Matichon Weekend and Siamrath. The collected data of questionaire come from 400 samples that more than 18 year olds and alive in Bangkok. The statistical techniques were presented percentage, means, frequency, standard deviation, T-test, One Way ANOVA and Pearson product moment correlation coefficient. The SPSS program was used for data processing. The main content of research was proposed in the political magazines as the movement of politicians or parties that was not concerned with the government and oppositions activities directly, local and national elections and normal political situation. The quantitative research of political magazine readers found the samples have low-level in political information seeking, high-level in democratic consciousness and very high-level in political participation. It also found that different age and sex of readers are significant difference in political information seeking with a statistical significant value of .05 and .001, respectively; readers with different sex, education and income are significant difference in democratic consciousness with a statistical significant value of .05; readers with different occupation are significant difference in political participation with a statistical significant value of .05. Political information seeking was not correlate with democratic consciousness and political participation. Democratic consciousness and political participation was correlate with a statistical significant value of .01.en
dc.format.extent1535778 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1224-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเมือง--วารสารen
dc.subjectการสื่อสารทางการเมืองen
dc.subjectจิตสำนึกen
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางการเมืองen
dc.titleการแสวงหาข่าวสารทางการเมือง จิตสำนึกประชาธิปไตยและการมรส่วนร่วมทางการเมืองของผู้อ่านนิตยสารแนวการเมืองเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativePolitical information seeking, democratic consciousness and political of Bangkok magazine readersen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.1224-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayanin_Ch.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.