Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1135
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ | - |
dc.contributor.author | รังสิมา นิโลบล, 2521- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-26T12:01:27Z | - |
dc.date.available | 2006-07-26T12:01:27Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745310204 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1135 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง "กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม" เป็นงานวิจัยที่เน้นระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารเป็นหลัก (Documentary Research) ซึ่งข้อมูลหลักในการวิเคราะห์ได้จากงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ 2539-2546 ที่อยู่ในขอบเขตงานวิจัยครั้งนี้มีทั้งสิ้น 28 เรื่อง และข้อมูลระดับรองได้จากบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524-2545 ที่อยู่ในขอบเขตงานวิจัยครั้งนี้มีทั้งสิ้น 28 เรื่อง นำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาภาพรวมของกระบวนการทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสุขภาพ (2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของการใช้แนวทางประชาสังคมในการสร้างเสริมสุขภาพ (3) เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม (4) เพื่อแสวงหาแนวทางในการสื่อสารของประชาสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ การสื่อสารของประชาสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในกระบวนทัศน์ใหม่ในงานวิจัยส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ความเป็นชุมชนและศักยภาพของชุมชนร่วมกัน โดยเน้นเรื่องสุขภาพของชุมชนโดยรวม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับครอบครัว กลุ่ม ชุมชนประชาสังคม มากกว่าระดับปัจเจกบุคคลหรือเฉพาะกลุ่มเสื่ยง กระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นเน้นการคำนึงถึงบริบททางสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนประชาสังคม โดยนำแนวคิดเรื่องกลุ่ม ชุมชน ประชาสังคมมาประยุกต์ใช้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารเพื่อ "สร้างเสริมสุขภาพ" มากขึ้น นอกเหนือจากการมุ่ง "แก้ไขปัญหาสุขภาพ" ที่เกิดขึ้นในชุมชน พัฒนาการของประชาสังคมไทยโดยรวมมีจุดเริ่มต้นที่การดูแลกันเองในครอบครัวหรือชุมชนเดียวกัน ต่อมาหลังจากเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้การรวมกลุ่มประชาสังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้น กลุ่มประชาสังคมส่วนมากมีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่รวมกลุ่มกันเองด้วยความสมัครใจ โดยมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอันหลากหลายในชุมชนประชาสังคม นอกจากนี้ยังมุ่งสร้างและขยายเครือข่ายความสัมพันธ์ โดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพึ่งพาตนเองช่วยเหลือกันเองในกลุ่มประชาสังคม และประสานพลังเพื่อเพิ่มอำนาจในการสื่อสาร เจรจาต่อรอง ขอความร่วมมือจากกลุ่ม องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ภายนอกประชาสังคม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารของประชาสังคมที่พบมาในงานวัจัย ได้แก่ ความสามารถในการเป็นผู้สื่อสารแก่สมาชิกในชุมชน องค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารที่มีความสอดคล้องกับบริบททางสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนประชาสังคม การเปิดโอกาสให้ชุมชนประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสาร สัมพันธภาพระหว่างกีนในชุมชนประชาสังคมและเครือข่าย ความสัมพันธ์กับภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคาอื่น ๆ ภายนอกชุมชน แนวทางในการสื่อสารของประชาสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเน้นการใช้สื่อต่าง ๆ ในชุมชนที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากคนในชุมชน ได้แก่ สื่อบุคคลที่เกิดขึ้นภายในชุมชนนอกเหนือจากผู้นำที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากทางการ เช่น พระสงฆ์ ปราชญ์ ชาวบ้าน หมดชาวบ้าน ฯลฯ สื่อพื้นบ้านอันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละชุมชน และสื่อกิจกรรมต่าง ๆที่เอื้อต่อการสือสารสองทางแบบมีส่วนร่วม เช่น การประชุมกลุ่มย่อย เสวนา ประชาพิจัย กิจกรรมพบปะสร้างความสัมพันธ์ เป็นต้น สื่อต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างผสมผสานเพื่อสร้างความสนใจ ความตระหนักในเรื่องสุขภาพ อันมาซึ่งการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | This research is qualitative, conducted by documentary research from 28 Health Systems Research Institute's studies during 1996-2003 and 178 theses of Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University, during 1981-2002. The purposes of this research are: to study the new communication paradigm, evolution of civic society concept, factors influencing communication of civic society and tendency of communication of civic society in promoting health. The findings of research are as follows: The objectives of the communication for health promotion of civic society in the new paradigm are to develop and shared learning by action, to improve community relationship through civic society process, and to strengthen the ties between civic society network to produce cooperation and learning process that brings about changes in health concept and health behavior of people in civic society. In the process of civic societys health communication promotion, the issue of holistic approach is exercised and focused. Thepowerful communication to promote health agenda needs participation from all of social parts in communication process, which should start from their common health problems and interested public issues. The tendency of effective communication is 2-way communication with balanced combination of horizontal, and vertical, with upward and downward communication, including more open opportunities for people to participate in health communication process. The civic society under study tended to improve their experience in helping individuals, families, and communities affected by health problems through their own community relationship and civic society mechanism. Resulting from civic society's communication for health promotion, this process led to great benefit for people in civic society as it increased the opportunity for people to participate more during the developmental stage, broadened their understanding towards health problems, motivated people to help one another in determining their own appropriate means to solve their health problems and found their own ways for health promotion as well. Accordingly, what were witnessed are their learning process, increased knowledge, and changed attitude and behavior towards health promotion. | en |
dc.format.extent | 3518284 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.28 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสาร | en |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | en |
dc.title | กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาสังคม | en |
dc.title.alternative | New communication paradigm for health promotion of civic society | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | วาทวิทยา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.28 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungsima.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.