Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11362
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา บวรกิติวงศ์-
dc.contributor.authorศุภมาศ การะเกตุ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-09-29T02:06:38Z-
dc.date.available2009-09-29T02:06:38Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743330631-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11362-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractเปรียบเทียบความเที่ยงและความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ ในการประมาณค่าของมาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท และมาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรมในการประเมินการสอนของครู สถานการณ์ที่ใช้ในการศึกษา คือ การให้ครูผู้สอนประเมินตนเอง และให้นักเรียนประเมินครูผู้สอน ในการศึกษาครั้งนี้จะประเมินการสอนของครูในขั้นก่อนสอน ขณะสอนและหลังสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 52 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ครูผู้สอนได้คัดเลือกมาจำนวน 52 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินพฤติกรรมการสอนของครู ที่มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท และมาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความเที่ยง โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างชั้นคะแนน (Intraclass correlation coefficient) แล้วทดสอบความแตกต่างด้วย The Wilcoxon Signed Ranks Test วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความคลาดเคลื่อนเชิงปล่อยหรือกดคะแนน (Leniency error) ด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนผลการประเมินและทดสอบความแตกต่าง ระหว่างกรณีใช้มาตรประมาณค่าต่างรูปแบบกันด้วย The Wilcoxon Signed Ranks Test วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความคลาดเคลื่อน อันเนื่องมาจากการเคยมีปฏิสัมพันธ์มาก่อน ด้วยการเปรียบเทียบค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนผลการประเมินและทดสอบความแตกต่าง ระหว่างกรณีใช้มาตรประมาณค่าต่างรูปแบบกันด้วย t-test กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการตรวจสอบความเที่ยงในการประมาณค่า จากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนผลการประเมินตนเองของครูผู้สอน กับคะแนนผลการประเมินครูผู้สอนโดยนักเรียน ทำให้สรุปว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่ามาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรม ให้ค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินสูงกว่ามาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท 2. ผลการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนเชิงปล่อยคะแนน (Leniency error) จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตของผลการประเมินพฤติกรรม ระหว่างกรณีใช้มาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรมกับ มาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ทเป็นเครื่องมือประเมิน โดยการวิเคราะห์เป็นรายข้อและรายด้านพฤติกรรม ทั้งในสถานการณ์การประเมินตนเองของครูผู้สอน และการประเมินครูผู้สอนโดยนักเรียน ทำให้สรุปได้ว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่ามาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรม ปรากฏความคลาดเคลื่อนเชิงปล่อยคะแนนน้อยกว่ามาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท 3. ผลการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนอันเนื่องมาจากการเคยมีปฏิสัมพันธ์มาก่อน (Halo error) จากการเปรียบเทียบค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนรายพฤติกรรมของผู้ประเมินแต่ละคนเป็นดัชนีบ่งชี้การเกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินระหว่างกรณีใช้มาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรมกับมาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ทเป็นเครื่องมือประเมินทั้งในสถานกาณ์การประเมินตนเองของครูผู้สอนและการประเมินครูผู้สอนโดยนักเรียน ทำให้สรุปได้ว่ามาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรมปรากฏความคลาดเคลื่อนอันเนื่องมาจากการเคยมีปฏิสัมพันธ์มาก่อน น้อยกว่า มาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ทen
dc.description.abstractalternativeTo compare reliability and systematic error of estimation of Liket rating scale and Behaviorally anchored rating scales for teachers' teaching assessment. Situations of this research were teachers' ratings and students' ratings of teachers' teaching in steps before, between and after teaching. The groups of samples consisted of 52 mathematics teachers teaching in Mathayomsuksa five and 52 classes of students selected by the teachers. The tools used in this research were the teachers' teaching rating scales as Likert rating scale and as Behaviorally anchored rating scales. The questionnaires were sent to the subjects by mail. To detect reliability, intraclass correlation coefficient was performed and tested the significance by the Wilcoxon signed ranks test. To detect leniency error, the Wilcoxon signed ranks test was used to compare means of rating scores. For halo error, the dependent t-test was conducted. Results of the study could be summarized as followed: 1. The result of the test of reliability revealed that there was no evidence to confirm that behaviorally anchored rating scales had higher interrater reliability than the Likert rating scale. 2. It was concluded that there was no evidence to confirm that behaviorally anchored rating scales had leniency error less than Likert rating scale. 3. It was found that behaviorally anchored rating scales had Halo error less than Likert rating scale in both situations, teachers' ratings and students' ratings, at .05 significance level.en
dc.format.extent855989 bytes-
dc.format.extent828249 bytes-
dc.format.extent1415200 bytes-
dc.format.extent1397739 bytes-
dc.format.extent1195517 bytes-
dc.format.extent1054561 bytes-
dc.format.extent1545208 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสอน -- การประเมินen
dc.subjectมาตรประมาณค่าen
dc.subjectทฤษฎีการประมาณค่าen
dc.titleการเปรียบเทียบความเที่ยงและความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นะบบ ในการประมาณค่าของมาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท และมาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรมในการประเมินการสอนของครูen
dc.title.alternativeComparisons of reliability and systematic error of estimation of likert rating scale and behaviorally anchored rating scales for teachers' teaching assessmenten
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchada.b@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supamad_Ka_front.pdf835.93 kBAdobe PDFView/Open
Supamad_Ka_ch1.pdf808.84 kBAdobe PDFView/Open
Supamad_Ka_ch2.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Supamad_Ka_ch3.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Supamad_Ka_ch4.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Supamad_Ka_ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Supamad_Ka_back.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.