Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11371
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประสิทธิ์ โฆวิไลกูล-
dc.contributor.authorศุภพงษ์ สวภาพมงคล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-29T03:04:51Z-
dc.date.available2009-09-29T03:04:51Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743339442-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11371-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractศึกษาปัญหากฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม โดยพิจารณาถึงบทบาท สิทธิ หน้าที่ รวมทั้งความรับผิดของบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของรัฐในฐานะผู้กำกับดูแลธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนรายย่อยเป็นจำนวนมาก เช่นการลงทุนในกองทุนรวมนี้ โดยการกำกับดูแลกองทุนรวมสามารถกระทำได้ใน 2 ระดับดังนี้ 1. การกำกับควบคุมในแนวดิ่ง คือ การกำกับเชิงมหาชนที่รัฐจักต้องเข้าไปตรวยสอบโดยตรง โดยการกำหนดให้กองทุนรวมเป็นกิจการที่ต้องมีใบอนุญาต การกำหนดคุณสมบัติ ตลอดจนการตรวจสอบการดำเนินการภายหลังจากได้รับใบอนุญาต 2. การกำกับควบคุมในแนวนอน คือ การที่รัฐใช้กลไกทางกฎหมาย ในการกำหนดให้บุคคลฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบกันเองได้อย่างเปิดเผย และก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายผ่านสิทธิหน้าที่ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นการกำกับควบคุมโดยอ้อม การกำกับควบคุมทั้งในแนวดิ่งและแนวนอนจะต้องดำเนินควบคู่กันไป เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะต่างมีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ในตัวเอง สำหรับการศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหากฎหมายเป็นไปในเชิงเปรียบเทียบ ทั้งในกฎหมายที่เกี่ยวข้องของไทยและสหรัฐอเมริกา โดยมุ่งศึกษาถึงข้อแตกต่างและข้อดีข้อเสีย โดยประมวลจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ โครงสร้าง รูปแบบ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ จากการศึกษาพบว่าแม้การกำกับควบคุมกองทุนรวมของไทยในปัจจุบัน จะได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ ในการให้ความคุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุนโดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญดังนี้ 1) ปัญหาความเป็นนิติบุคคล 2) ปัญหาสถานะและสิทธิทางกฎหมายของผู้ถือหน่วยลงทุน ในการเข้าไปมีส่วนควบคุมกองทุนรวม 3) ปัญหาความเป็นอิสระในการตรวจสอบบริษัทจัดการโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ 4) ปัญหานิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุน 5) ปัญหาค่าธรรมเนียมที่ไม่เหมาะสมและเป็นธรรม 6) ปัญหาการควบคุมผู้ทำหน้าที่ขายหน่วยลงทุน ท้ายที่สุดผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางแก้ไข โดยในระยะยาวการกำกับควบคุมกองทุนรวมของไทยควรมีลักษณะเฉกเช่นเดียวกับ Investment Company ของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในระยะสั้นผู้วิจัยได้เสนอแนวทางแก้ไข เรื่องบทบาทและหน้าที่ของนิติบุคคลกองทุนรวม และรูปแบบการดำเนินการของผู้ดูแลผลประโยชน์ ตลอดจนเพิ่มสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้เพื่อยังผลให้เกิดความคุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่อผู้ถือหน่วยลงทุน จนกว่าจะได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการกำกับควบคุมกองทุนรวมของไทยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับ Investment Company Act of 1940 ของประเทศสหรัฐอเมริกาen
dc.description.abstractalternativeStudying the legal problem concerning the protection of the unit holders in mutual funds. The study investigated the role, rights, duties and responsibilities of these persons involved; the asset management limited, the mutual fund supervisor and the unit holders, it also examined the role and duty of the government, which as the controller of the business, has an impact on a great number of unit investors in the mutual fund. The control of mutual funds can be divided into two types: 1. The "vertical" control refers to the form of major control by direct government audit. It means that the mutual fund must have a license, and is subject to auditing of the management after receiving the license. 2. The "horizontal" control means that the government use the law requiring persons involved to audit each other: thereby bringing the justice to those involved by means of their right and duty. Vertical and horizontal control should proceed simultaneously, as each has advantages as well as limitations. When studying and analyzing the legal problem a comparative study was done in terms of Thai and U.S. law. This study aimed at clarifying the differences, advantages and disadvantages of the two forms by studying the factors involved, including historical factors, structure, patterns and other factors. The study showed that there is no perfect form of protection for unit holders, although there is evidence of improvement in the control of Thai mutual funds. The main problems are as follows : 1) The problem of being a juristic person. 2) The problem of the legal status and lawful rights of the unit holder when having to take part in the mutual fund. 3) The problem of independence in auditing the asset management limited by the mutual fund supervisor. 4) The problem of the legal relationship between the mutual fund supervisor and the unit holders. 5) The problem of inappropriate and unfair remuneration (fees) for the asset management limited. 6) The problem of how to control those who sell the units. In conclusion, the research suggests that in the long-term, the control of Thai mutual funds should be the same as Investment Companies in the U.S.A. However, in the short-term, the problem that needs to be solved is the role and duty of juristic person of the mutual fund, the management of mutual fund supervisor and the establishment of the lawful rights of the unit holders. Such changes will result in the protection of the unit holder e.g. by ensuring voting rights and identifying the representatives who have duties and responsibilities to the unit holders. Such measures should be implemented until the law can be amended more fundamentally so as to bring it in line with "The investment Company Act (1940" of the U.S.A.en
dc.format.extent901046 bytes-
dc.format.extent1084203 bytes-
dc.format.extent1506698 bytes-
dc.format.extent1293170 bytes-
dc.format.extent1182615 bytes-
dc.format.extent846664 bytes-
dc.format.extent707002 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกองทุนรวมen
dc.subjectกองทุนรวม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.titleปัญหากฎหมายในการคุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุนen
dc.title.alternativeLegal problem on protection of the unit holdersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPrasit.Ko@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaphong_Sa_front.pdf879.93 kBAdobe PDFView/Open
Supaphong_Sa_ch1.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Supaphong_Sa_ch2.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Supaphong_Sa_ch3.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Supaphong_Sa_ch4.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Supaphong_Sa_ch5.pdf826.82 kBAdobe PDFView/Open
Supaphong_Sa_back.pdf690.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.