Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11423
Title: การทำให้เกิดโครงร่างตาข่ายของแผ่นฟิล์มไคโตแซนโดยการใช้กลูตารัลดีไฮด์เป็นสารช่วยในการเกิดโครงร่างตาข่าย
Other Titles: The crosslinking of chitosan film using glutaraldehyde as a crossslinking agent
Authors: รัดเกล้า ภูติวรนาถ
Advisors: เข็มชัย เหมะจันทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Khemchai.H@Chula.ac.th
Subjects: ไคโตแซน
กลูตารัลดีไฮต์
Crosslinking (Polymerization)
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาปฏิกิริยาโครงร่างตาข่ายของไคโตแซน ที่ใช้สารละลายกลูตารัลดีไฮด์เป็นสารช่วยในการเกิดปฏิกิริยา ในภาวะที่เป็นสารละลายเนื้อเดียวที่อุณหภูมิห้อง เพื่อศึกษาผลของความเป็นกรดด่างของสารละลายไคโตแซนและปริมาณกลูตารัลดีไฮด์ต่อปฏิกิริยาโครงร่างตาข่าย ซึ่งได้ทดลองสารละลายไคโตแซนในช่วงความเป็นกรดด่าง 2 ถึง 6 และปริมาณของกลูตารัลดีไฮด์ในช่วง 3.0x10 -7 โมล ถึง 12.0x10 -4 โมล ต่อไคโตแซน 1 กรัม พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมแผ่นฟิล์ม คือ ที่ความเป็นกรดด่างของสารละลายไคโตแซนเท่ากับ 4 และที่ปริมาณกลูตารัลดีไฮด์ 3.0x10 -6 โมล ต่อไคโตแซน 1 กรัม แผ่นฟิล์มไคโตแซนและไคโตแซนที่เกิดโครงร่างตาข่ายที่ได้จากการเตรียมโดยเทคนิคการหล่อแบบนำมาทดสอบสมบัติทางเคมี ทางกล และการสลายตัว พบว่าไคโตแซนที่เกิดโครงร่างตาข่ายจะมีความเป็นผลึก การละลายในกรดอะซิติก และความสามารถในการดูดซึมน้ำลดลงตามการเพิ่มของปริมาณกลูตารัลดีไฮด์ การเกิดโครงร่างตาข่ายของไคโตแซนจะช่วยปรับปรุงสมบัติทางกล ซึ่งเมื่อนำมาทดสอบความทนแรงดึงทั้งขณะแห้งและเปียกน้ำพบว่าแผ่นฟิล์มจะทนต่อแรงดึงได้มากขึ้นเมื่อปริมาณกลูตารัลดีไฮด์ที่ใช้เพิ่มขึ้นจนถึงปริมาณ 3.0x10 -6 โมล หลังจากนั้นเมื่อเพิ่มปริมาณกลูตารัลดีไฮด์จะทำให้แผ่นฟิล์มมีลักษณะเปราะ ความทนแรงดึงและความยืดลดลง การทดสอบการสลายตัวของแผ่นฟิล์มไคโตแซนและไคโตแซนที่เกิดโครงร่างตาข่ายในสารละลายบัฟเฟอร์ ความเป็นกรดด่าง 7.3 ที่อุณหภูมิ 37 ํC เป็นเวลา 13 สัปดาห์ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงมวลและความแข็งแรงเมื่อเปียก พบว่าแผ่นฟิล์มไคโตแซนที่เกิดโครงร่างตาข่ายมีอัตราการสลายตัวที่เร็วกว่าแผ่นฟิล์มไคโตแซน
Other Abstract: The cross-linking of chitosan in homogeneous solution by using glutaraldehyde as a crosslinking agent was carried out at room temperature. The effect of pH of chitosan solution on the crosslinking was examined in the range of pH 2 to pH 6 and amount of glutaraldehyde was examined in the range of 3.0x10 -7 mole to 12.0x10 -4 mole per 1 gram of chitosan. It was found that the condition at pH 4 and glutaraldehyde 3.0x10 -6 mole was suitable for preparing crosslinked chitosan film. Chitosan and crosslinked chitosan films were prepared from a solvent-casting technique and characterized their chemical and mechanical properties and degradation test. Crosslinking chitosan with glutaraldehyde produced a membrane with lower crystallinity and solubility and less water absorption, but better mechanical properties, especially at amount of glutaraldehyde 3.0x10 -6 mole per 1 gram chitosan. When amount of glutaraldehyde increase beyond this point, chitosan films become brittle ; and tensile strength and elongation decrease. The degradation test of chitosan and crosslinked chitosan films in physiological buffer solution were carried out at 37 ํC, pH 7.3 for 13 weeks. From weight loss and the retention of tensile strength, it was found that crosslinked chitosan films can be degraded faster than chitosan films.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วัสดุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11423
ISBN: 9746365479
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rudklao_Pu_front.pdf790.66 kBAdobe PDFView/Open
Rudklao_Pu_ch1.pdf705.82 kBAdobe PDFView/Open
Rudklao_Pu_ch2.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Rudklao_Pu_ch3.pdf948.68 kBAdobe PDFView/Open
Rudklao_Pu_ch4.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Rudklao_Pu_ch5.pdf687.4 kBAdobe PDFView/Open
Rudklao_Pu_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.