Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11436
Title: วัจนกรรมการสัญญาของเด็กไทย : การศึกษาเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์
Other Titles: The speech act of promising in Thai children : a metapragmatic study
Authors: สินี วณิชชานนท์
Advisors: กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Krisadawan.H@Chula.ac.th
Subjects: วัจนกรรม
วัจนปฏิบัติศาสตร์
เด็ก -- ภาษา
เด็ก -- ไทย -- การพูด
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเข้าใจ และความรู้ทางอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์เกี่ยวกับวัจนกรรมการสัญญาของเด็กไทยโดยได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 45 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เด็กอายุ 6 ขวบ 8 ขวบ และ 11 ขวบ จำนวน 45 คน ซึ่งคัดเลือกจากการจับสลากที่โรงเรียนสมถวิล มีปัจจัย 3 ปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการศึกษานี้ คือ อายุ เงื่อนไขในการสัญญา (เงื่อนไขความปรารถนาของผู้ฟัง และเงื่อนไขความจริงใจของผู้พูด) และรูปภาษา (คำว่า "สัญญา" และรูปแสดงอนาคตกาล) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเชิงสัมภาษณ์ซึ่งเป็นเรื่องสั้นประกอบการ์ตูนจำนวนแปดเรื่อง และคำถามเพื่อทดสอบความรู้เชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับวัจนกรรมการสัญญา การศึกษานี้มีสมมติฐานว่า (1) ความสามารถในการอธิบายวัจนกรรมการสัญญาของเด็กไทยพัฒนาตามอายุ (2) เด็กเข้าใจเงื่อนไขความจริงใจของผู้พูดได้ดีกว่าเงื่อนไขความปรารถนาของผู้ฟัง และ (3) เด็กเข้าใจถ้อยสัญญาที่มีคำว่าสัญญาได้ดีกว่าถ้อยสัญญาที่ใช้รูปแสดงอนาคตกาล ผลการวิจัยมีทั้งที่สอดคล้อง และขัดแย้งกับสมมติฐาน กล่าวคือ ความรู้เชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ของเด็กไทยเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนสมมติฐานที่เหลือไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: This study is aimed at investigating Thai children's comprehension and metapragmatic knowledge of the speech act of promising. A group of 45 pupils from Somthawil School chosen through random sampling are divided into three categories, namely 6-year old, 8-year old, and 11-year old. There are three factors involved in this study: age, conditions governing the speech act of promising (preparatory condition and sincerity condition), and linguistic forms (the verb "promise" and a marker of future time). There are two kinds of instrument used in this research: an interview questionnaire consisting of eight comic strip stories, and a series of questions designed to test the children's metapragmatic knowledge of the speech act of promising. It is hypothesized in this study that (1) an ability to explain the speech act of promising among Thai children increases by age, (2) the children understand the sincerity condition better than the preparatory condition, and (3) they understand the utterance with the verb promise better than that with the marker of future time. The findings both accept and reject the hypotheses. The metapragmatic knowledge of Thai children increases by age, the differences are statistically significant (p<.05). There are no significant differences found in the rest of the hypotheses.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11436
ISBN: 9746393421
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sinee_Wa_front.pdf751.52 kBAdobe PDFView/Open
Sinee_Wa_ch1.pdf820.49 kBAdobe PDFView/Open
Sinee_Wa_ch2.pdf841.19 kBAdobe PDFView/Open
Sinee_Wa_ch3.pdf950.99 kBAdobe PDFView/Open
Sinee_Wa_ch4.pdf729.48 kBAdobe PDFView/Open
Sinee_Wa_back.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.