Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11458
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา | - |
dc.contributor.author | ศิริกานต์ คุสินธุ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-10-07T04:34:58Z | - |
dc.date.available | 2009-10-07T04:34:58Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11458 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัจจัยที่ส่งผลและแนวทางในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสานประกอบด้วย การศึกษาเชิงสำรวจและการศึกษาพหุกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ มี 3 กลุ่มคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 411 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 411 คน และครูผู้สอนนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจคือ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถาม 3 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ส่วนการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษาได้ศึกษาจากกรณีศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 คน ประกอบด้วยนักเรียนที่มีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารรณญาณสูง 2 คน และต่ำ 2 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2548 มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณค่อนข้างแตกต่างกัน แต่โดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ 2. ปัจจัย 3 ประการ ที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคาดหวังในการศึกษาของนักเรียน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง โดยปัจจัยทั้ง 3 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ประมาณ 27% 3. แนวทางในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต้องให้ความสำคัญกับการสนับสนุนของผู้ปกครอง โรงเรียนควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในตัวลูกและให้กำลังใจ ดูแลเรื่องความรับผิดชอบในการเรียน สนับสนุนให้ข้อมูลที่ชัดเจนเพื่อให้ลูกมีภาพความคาดหวังในการศึกษาที่ชัดเจน ฝึกให้ลูกวางแผนปฏิบัติงานและแก้ปัญหาการปฏิบัติงานอย่างรับผิดชอบ นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ลูกได้ทำกิจกรรมด้านดนตรีและกีฬา รวมทั้งสนับสนุนให้ลูกทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อฝึกให้คิดและแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ | en |
dc.description.abstractalternative | To study state, factors affecting and approach for developing critical thinking for prathomsuksa 6 students. A mixed method research was employed. It consisted of 2 parts a survey and a multiple case study. The survey was conducted through 3 groups of sample. They were 411 prathomsuksa six students 411 parents and 114 teachers in school under the Education Bangkok Metropolis. The survey instruments were critical thinking test and 3 questionnaires. The data were analyzed by descriptive statistics and multiple regression analysis. The multiple case study was based on 4 students. Two students obtained high scores on the critical thinking test while the others obtained low scores. The research finding were as follow 1. The prathomsuksa six students Education Bangkok Metropolis were different in the level of critical thinking. In general their critical thinking were at a rather low level. 2. Three factors statistically affected the critical thinking of the students were learning achievement students education expectation and parent level of education. The 3 factors were able to explain about 27% of the variation of the critical thinking score. 3. Approaches for the critical thinking development had to value the significant of the supporting roles of the parents. Schools ought to motivate the parents to trust their children. The parents had to support and norish learning responsibility and provided information to help their children to develop a clear expectation. They had to support their children to practice working systematically. Art and music activities as well as collaborative their work were important activities to create opportunities to develop critical thinking of the students. | en |
dc.format.extent | 1264194 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1211 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความคิดอย่างมีวิจารณญาณในเด็ก | en |
dc.subject | นักเรียนประถมศึกษา | en |
dc.title | การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและแนวทางการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | A study of factors affecting and approaches for developing critical thinking of prathomsuksa six students in schools under the Department of Education, Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.1211 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirikan_Ku.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.