Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11519
Title: การนำเสนอรูปแบบของกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ สำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
Other Titles: Proposed process models of learning network for forest resources conservation
Authors: วิมลลักษณ์ ชูชาติ
Advisors: ชนิตา รักษ์พลเมือง
สีลาภรณ์ บัวสาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: chanita.r@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเรียนรู้
ป่าไม้ -- ไทย (ภาคเหนือ)
การอนุรักษ์ป่าไม้
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์รูปแบบและปัจจัยในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่ประสบผลสำเร็จในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และนำเสนอรูปแบบของกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ สำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ที่ศึกษา ได้แก่ เครือข่ายการเรียนรู้ของกลุ่มฮักเมืองน่าน เครือข่ายการเรียนรู้ของกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่วาง เครือข่ายการเรียนรู้ขององค์กรชุมชน ลุ่มน้ำแม่จัน-แม่สะลอง และเครือข่ายการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนบ้านป่านอด ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลเป็นเวลา 16 เดือน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สัมภาษณ์แบบกลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสาร รูปแบบของกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ สำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่นำเสนอ ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบหลักของเครือข่ายการเรียนรู้ได้แก่ คน ความรู้ และทรัพยากร ศักยภาพขึ้นอยู่กับผู้นำสามารถเชื่อมความรู้เก่าและใหม่ ที่เกี่ยวกับป่าในการรวมพลังคนในชุมชน ให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้ กระบวนการเรียนรู้ในเครือข่ายมีการนำความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ของท้องถิ่นเป็นฐานในการสร้างความตระหนักต่อปัญหา และการถ่ายทอดความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สมาชิกเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทางการ เพื่อถ่ายทอดวิทยาการสมัยใหม่ ในการแก้ปัญหาของชุมชน 2. ปัจจัยในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ได้แก่ ผู้นำที่ได้รับความศรัทธา และมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาชุมชน การสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรชุมชน การประสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาการสมัยใหม่ และกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ 3. รูปแบบของกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่นำเสนอ 3.1 เครือข่ายการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จ พัฒนาจากเครือข่ายระดับ คน-คน ไปสู่คน-กลุ่ม และกลุ่ม-กลุ่ม 3.2 กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (1) การก่อตัวเริ่มจากการสร้างผู้นำ โดยอาจเป็นผู้นำตามธรรมชาติ หรืออาจเป็นผู้นำภายในหรือภายนอกชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนให้แก้ปัญหาของชุมชน (2) การขยายและการเชื่อมประสาน เน้นการสร้างการรวมกลุ่มให้เกิดองค์กรชุมชุมที่เข้มแข็ง การร่วมแก้ปัญหา การเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ พัฒนาฐานความรู้เดิมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งเชื่อมโยงภูมิปัญญาเดิมและวิทยาการสมัยใหม่ (3) การดำรงอยู่เน้นให้สมาชิกของเครือข่ายมีการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพของสมาชิกในการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ และร่วมแก้ปัญหาตลอดจนมีการขยายพื้นที่เครือข่ายที่สนับสนุนกิจกรรมโดยมีการวางแผนอย่างมีเป้าหมาย
Other Abstract: To analyze models and factors relating to the formulation of successful learning network for forest resources conservation and to propose models of the process in organizing the learning network. Data were collected from selected case studies of 4 learning network in Nan, Chieng Mai and Chieng Rai Provinces. Indepth interview, group interview, non-participation observation and documentary research were utilized for data collection. Expert judgement was employed to validate for proposed process models of learning network. Findings are as follows: 1. The major components of learning network are people, body of knowledge, and resources. People referred mainly to the leaders who play active roles in solving community problems. The body of knowledge was utilized and built from local wisdom and modern knowledge. Natural resources in the community determined community potentials in their problem solving. Local tradition and culture was the basis for problem-awareness and knowledge dissemination in forest resources conservation. Members of the learning network use forum for exchanging their learnings. Also, formal training were provided. 2. Relating factors of the learning network formulation were that the leaders must obtain faith from community and have strong intention in solving the problem. Community organizations must be strengthened. Local wisdom and modern knowledge must be both utilized. Interactive group learning should be employed in their learning process. 3. Proposed process model of learning network : 3.1 Successful learning network were developed from individual-individual level to individual-group level and group-to-group level. 3.2 Formulation process were as follows : (1) The emergence of learning network demanded for leaders of the network who would initiate community problem-solving. These leaders were not neccessary to be local people. (2) The expansion and extension of learning network emphasized the stengthening of community organization, participation in problem-solving, interactive group learning as well as the development and formation of knowledge which linked local wisdom and modern knowlege. (3) The existence of learning network depended on provision and continuation of learning activities for the members, strengthening their potentialities in interactive learning and problem-solving. Extention to supporting networks must also be purposefully planned.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11519
ISBN: 9746373625
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimollak_Ch_front.pdf893.24 kBAdobe PDFView/Open
Wimollak_Ch_ch1.pdf954.6 kBAdobe PDFView/Open
Wimollak_Ch_ch2.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Wimollak_Ch_ch3.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Wimollak_Ch_ch4.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Wimollak_Ch_ch5.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Wimollak_Ch_ch6.pdf858.73 kBAdobe PDFView/Open
Wimollak_Ch_ch7.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Wimollak_Ch_back.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.