Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11540
Title: ผลของการแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 1 โดยการใช้แบบฝึกทักษะ
Other Titles: Results of mathematics basic knowledge deficiency dissolution on fractions of mathayom suksa one students through drilled worksheet
Authors: วัฒนิตา นำแสงวานิช
Advisors: สุวัฒนา อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ข้อบกพร่องทางการเรียน
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
นักเรียนมัธยมศึกษา
นักเรียนสาธิต
การวินิจฉัยการเรียน
การแก้ปัญหา
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วินิจฉัยข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน และศึกษาผลของการแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการใช้แบบฝึกทักษะ ในด้านจำนวนครั้งของการแก้ไขข้อบกพร่อง และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์หลังจากการแก้ไขข้อบกพร่อง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพมหานคร ที่มีข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน จำนวน 42 คน ซึ่งผู้วิจัยสอนโดยใช้แผนการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยการใช้แบบฝึกทักษะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน และแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และการทดสอบค่าไคสแควร์ (X2-test) การวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. ในเรื่อง เศษส่วน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) รองลงมาคือเรื่อง ลำดับขั้นการคิดคำนวณ การแปลงประโยคภาษาเป็นประโยคสัญลักษณ์ การหารจำนวนเต็ม การคูณจำนวนเต็ม การลบจำนวนเต็ม และการบวกจำนวนเต็ม เรียงตามลำดับ 2. ผลของการแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการใช้แบบฝึกทักษะ พบว่า 2.1 หลังการแก้ไขข้อบกพร่องครั้งที่ 1 มีนักเรียนที่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ได้ คิดเป็นร้อยละ 66.67 2.2 หลังการแก้ไขข้อบกพร่องครั้งที่ 2 มีนักเรียนที่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ได้ คิดเป็นร้อยละ 64.29 2.3 อัตราส่วนของจำนวนนักเรียนที่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ได้ ต่อจำนวนนักเรียนที่มีข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ทั้งหมดคิดเป็น 37:42 2.4 สัดส่วนของนักเรียนที่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ได้ และ ไม่ได้ แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Other Abstract: The purposes of this research were to diagnose mathematics basic knowledge deficiency on fractions and to investigata results of mathematics basic knowledge deficiency dissolution on fractions of mathayom suksa one students through drilled worksheet indicated by number of times of the dissolution and numbers of students being corrected mathematics basic knowledge deficiency on fractions after the dissolution. This is an experimental research. The samples were 42 mathayom suksa one students having mathematics basic knowledge deficiency on fractions in the 1996 academic calendar year of Chulalongkorn University Demonstration School (Secondary) in Bangkok Metropolis. The lesson plans of mathematics basic knowledge deficiency dissolution on fractions through drilled worksheet were used in the dissolution. The research instruments were the test of mathematics basic knowledge deficiency on fractions and the test of mathematics learning achievement on fractions. The data were analyzed by means of frequency distribution, percentage and chi-square test. The results of this research revealed that: 1.The topic on fractions, most of mathayom suksa one students had mathematics basic knowledge deficiency on least common multiple (l.c.m.) and order of operations, convertion of mathematical language into mathematical sentence, devision of integers, multiplication of integers, subtraction of integers and addition of integers, respectively. 2. Results of mathematics basic knowledge deficiency dissolution on fractions of mathayom suksa one students through drilled worksheet were as follows: 2.1 Among students who had the first dissolution, 66.67 percent of them were corrected mathematics basic knowledge deficiency on fractions. 2.2 Among students who had the second dissolution, 64.29 percent of them were corrected mathematics basic knowledge deficiency on fractions. 2.3 The ratio of students being corrected mathematics basic knowledge deficiency on fractions after the dissolution to students having mathematics basic knowledge deficiency on fractions was 37:42. 2.4 The proportion of students who were corrected and not corrected mathematics basic knowledge deficiency on fractions after the dissolution was significantly different at the 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11540
ISBN: 9476355562
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wathanita_Nu_front.pdf867.22 kBAdobe PDFView/Open
Wathanita_Nu_ch1.pdf908.02 kBAdobe PDFView/Open
Wathanita_Nu_ch2.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wathanita_Nu_ch3.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Wathanita_Nu_ch4.pdf809.99 kBAdobe PDFView/Open
Wathanita_Nu_ch5.pdf934.89 kBAdobe PDFView/Open
Wathanita_Nu_back.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.