Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1155
Title: | พฤติกรรมของหัวเจาะระบบแรงดันดินสมดุล ในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในดินกรุงเทพฯ |
Other Titles: | Behavior of EPB shield for subway construction in Bangkok subsoils |
Authors: | กีรติ เมืองแสน, 2519- |
Advisors: | วันชัย เทพรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | fcewtp@eng.chula.ac.th |
Subjects: | อุโมงค์ อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ปฐพีกลศาสตร์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาพฤติกรรมของหัวเจาะระบบแรงดันดินสมดุล (Earth Pressure Balance, EPB, Shield) ขณะขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้ามหานครในชั้นดินกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาปัจจัยควบคุมการขุดเจาะที่มีผลต่อการทรุดตัวของผิวดิน การขุดเจาะอุโมงค์ด้วย EPB Shield เป็นวิธีที่ใช้เทคนิคค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งมีระบบตรวจสอบและควบคุมอัตโนมัติในการทำงาน เช่น ควบคุมแรงดันในห้องพักดิน (Face Pressure) คำนวณปริมาณดินในการขุดเจาะ ควบคุมการอุดช่องว่างระหว่างผิวของการขุดเจาะกับผิวด้านนอกอุโมงค์ (Backfill Grouting) นอกจากนี้ยังควบคุมทิศทางการขุดเจาะอีกด้วย การควบคุมการขุดเจาะจะกำหนดอัตราส่วนดินขุด โดยการกำหนดความเร็วรอบของ Screw conveyor เพื่อควบคุมปริมาณดินออกจากห้องพักดิน การกำหนด Face Pressure ต้องให้สอดคล้องกับอัตราส่วนดินขุด พฤติกรรมการเคลื่อนตัวของหัวเจาะจะมีลักษณะการเลื้อยคล้ายงู ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของแม่แรงในการควบคุมทิศทางการขุดเจาะการวางตัวของหัวเจาะโดยปกติจะทำมุมเงยเมื่อเทียบกับแนวการขุดเจาะ เพื่อป้องกันการจมเนื่องจากน้ำหนักของหัวเจาะ ซึ่งจะเป็นผลให้เกิด Over-Excavation การควบคุมการทรุดตัวของผิวดิน ทำได้โดยการรักษาความมั่นคงของดินบริเวณหน้าหัวเจาะ ด้วยการควบคุม Face Pressure ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของชั้นดิน และสอดคล้องกับหน่วยแรงดันดินรวมด้านข้างสถิตย์ นอกจากนี้จะต้องควบคุมประสิทธิภาพการทำ Backfill Grouting ด้วยการกำหนดแรงดันที่ใช้ให้สอดคล้องกับ สภาพของชั้นดินและหน่วยแรงดันดินรวมในแนวดิ่ง และจะต้องควบคุมอัตราส่วนการอุดช่องว่างให้มีค่ามากกว่า 100% เพื่อควบคุมปริมาณการทรุดตัวให้อยู่ในพิกัดที่เหมาะสม (GL< 2.5%) ค่า Face Pressure ในกรณีการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินในชั้นดินเหนียวแข็งกรุงเทพฯ ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 60-130 kN/square m. หรือ 45-100% ของหน่วยแรงดันดินรวมด้านข้างสถิตย์ และควบคุมอัตราส่วนดินขุดมีค่าอยู่ระหว่าง 100-115% การทำ Backfill Grouting ควรกำหนดแรงดันมีค่าอยู่ระหว่าง 2-3 bar หรือ 70-100% ของหน่วยแรงดันดินรวมแนวดิ่ง และควบคุมอัตราส่วนการอุดช่องว่างอยู่ในช่วง 110-150% |
Other Abstract: | To study the behavior of the Earth Pressure Balance (EPB) shield during subway tunnelling of MRTA project in Bangkok subsoils by considering the controlled factors those influenced to ground surface settlement. The EPB shield is fully automatic Tunnel Boring Machine (TBM) to control face pressure, excavated soil volume, backfill grouting and direction of boring. The excavated soil ratio is controlled by setting screw revolution speed to extrude soil volume from chamber. Face pressure has to be corresponded to the excavated soil ratio. The movement of EPB shied is look like a snake motion due to the controlled direction of the thrust jacks. The EPB shield is generally drilled incline upward with pitching angle to prevent a sinking effect of EPB shield. This pitching angle creates the over-excavation effect. The ground surface settlement can be minimized by controlling the stability of soil at EPB shield face. This stability can be controlled by using the optimize face pressure related to the soil conditionsand at rest total lateral earth pressure. In addition, the efficiency of backfill grouting have to be set at the optimize level correspond to the soil conditions and the overburden pressure. The grout filling ratio shall be controlled greater than 100%. In order to minimize ground surface settlement with ground loss less than 2.5%, the face pressure based on MRTA project for normal boring condition in Bangkok stiff clay is in the range of 60-130 kN/square m. or 45-100% of at rest total lateral earth pressure (sigma ht) and the excavated soil ratio is in the range of 100-115%. Backfill grouting is in the order of 2-3 bar or 70-100% of total overburden pressure with controlling grout filling ratio in the range of 110-150%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1155 |
ISBN: | 9740316697 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Keerati.pdf | 4.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.