Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11572
Title: | อนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครองที่มีคู่สัญญาฝ่ายเอกชนเป็นเอกชนต่างชาติ |
Other Titles: | Arbitration in administrative contract where the private party is a foreign national |
Authors: | กิตติชัช พิชัยเดชพงศ์ |
Advisors: | พิชัยศักดิ์ หรยางกูร วิชัย อริยะนันทกะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การระงับข้อพิพาท นิติกรรมทางการปกครอง กฎหมายปกครอง |
Issue Date: | 2546 |
Abstract: | ศึกษาการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาทางปกครองระหว่างคู่สัญญาฝ่ายรัฐ กับคู่สัญญาฝ่ายเอกชนซึ่งมักเป็นนิติบุคคลต่างประเทศภายใต้พระราชบัญญัติจัด ตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ในสามประเด็นคือ ขอบเขตของข้อพิพาทใดที่สามารถระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการได้ วิธีการอนุญาโตตุลาการสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ระหว่างรัฐกับเอกชนต่างชาติควรดำเนินการอย่างไร และศาลปกครองซึ่งเป็นศาลที่มีขอบเขตอำนาจควรใช้หลักกฎหมายใด ในการพิจารณาและบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในคดีที่ข้อพิพาทเกิดจากสัญญาทางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชนต่างชาติ ผลการวิจัยพบว่า การระงับข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาทางปกครองในประเทศไทย สามารถทำการอนุญาโตตุลาการเคยใช้หลักกฎหมายเอกชนในการวินิจฉัยชี้ขาด แต่ประเทศไทยยังขาดกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีพิจารณาความ สำหรับสัญญาทางปกครองและวิธีอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครอง ซึ่งประเทศไทยควรรีบออกกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสม อีกทั้งปัจจุบันเป็นยุคการค้าไร้พรมแดน เอกชนภายในสามารถจดทะเบียนแก้ไขเป็นเอกชนต่างชาติได้ และเอกชนต่างชาติสามารถจดทะเบียนเป็นเอกชนภายในประเทศเช่นกัน กฎหมายที่ใช้สัญญาทางปกครองและวิธีอนุญาโตตุลาการ ในสัญญาทางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชนและระหว่างรัฐกับเอกชนต่างชาติ จึงต้องใช้กฎหมายเดียวกัน มิฉะนั้นจะเกิดความแตกต่างและไม่เป็นธรรม ประเทศไทยจึงไม่ สมควรกำหนดให้สัญญาทางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชนต่างชาติ ใช้กฎหมายในการระงับข้อพิพาทที่มีสิทธืดีกว่าเอกชนภายในประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับต่างประเทศ จากการศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-สิงคโปร์ ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะใช้เป็นต้นแบบในการเจรจากับประเทศไทย พบว่า ในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้ใช้สถาบัน ICSID ซึ่งไม่เป็นธรรมและอาจสร้างปัญหาแก่ประเทศไทย ประเทศไทยจึงควรระวังในประเด็นดังกล่าว และควรออกกฎหมายสารบัญญัติเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง |
Other Abstract: | To study the settlement of dispute in administrative contracts between the state and the private parties, often time foreign ones, under the Act on Establishment of Administrative Court and Administrative Procedure of B.E. 2542 and Arbitration Act B.E. 2545. Three issues have been studied namely, the scope of disputes which are arbitrable, the procedure of arbitration in dispute under administrative contracts between the state and a foreign party and the measures that Thailand should take and finally the substantive law which the Administrative Court having jurisdiction over those case should apply. The study indicated that the settlement of dispute arising out of administrative contracts in Thailand by arbitration had relied on private law in making awards. But Thailand is short of substantive public laws and administrative procedure law for administrative contract, those related to arbitration in administrative contract in particular Thailand should pass those laws to suit the need. Also at present trade knows no border, a domestic private person can cloak itself as a foreign national and likewise a foreign company can registered as a local firm. The law on administrative contract and the arbitral procedure for administrative contract for foreign a domestic private parties should be the same, else difference and inequality shall arise. Thailand should not discriminate between foreign national and domestic national in the matter of settlement of dispute in administrative contract, Now, at present Thailand is making free trade areas agreement with other countries; the study on Singapore -U.S FTA. Thailand should pays close attention to this issue. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11572 |
ISBN: | 9741749376 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kitichut.pdf | 7.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.