Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11619
Title: | การใช้แบคทีเรีย Alteromonas sp. S9730 ในการควบคุมเชื้อ Vibrio harveyi ที่ก่อโรคในลูกกุ้งกุลาดำวัยอ่อน |
Other Titles: | Use of bacteria Alteromonas sp. S9730 in controlling pathogenic Vibrio harveyi in larvae of tiger prawn Penaeus monodon Fabricius |
Authors: | ขนิษฐา แสงงาม |
Advisors: | สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somkiat.P@Chula.ac.th |
Subjects: | กุ้งกุลาดำ โพรไบโอติก แบคทีเรีย Alteromonas sp. S9730 |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Alteromonas sp. S9730 ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวมารีนความเข้มข้น 20 เปรอ์เซ็นต์สามารถผลิตสารยับยั้งการเจริญของ V. harveyi 1526 ได้ และเซลล์สดของ Alteromonas sp. S9730 ที่ได้จากอาหารเลี้ยงเชื้อนี้ยังสามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนของ V. harveyi 1526 ในน้ำทะเลได้ เมื่อศึกษาการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคโดยวิธี Double-Layer Method พบว่า Alteromonas sp. S9730 สามารถผลิตสารยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในสกุล Vibrio ได้หลายชนิด ได้แก่ V. harveyi 6 สายพันธุ์, V. parahaemolyticus, V. vulnificus และ V. alginolyticus อย่างละ 1 สายพันธุ์ เมื่อนำเซลล์สดของ Alteromonas sp. S9730 ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื่อเหลวมารีน ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มข้นเชื้อเท่ากับ 10x10x10x10x10x10x10 โคโลนีต่อมิลลิลิตร แช่ลูกกุ้งกุลาดำระยะซูเอีย ไมซิส และโพสลาวี่ พบว่า อัตรารอดของลูกกุ้งทั้งสามระยะไม่แตกต่างกับชุดควบคุม แต่เมื่อนำลูกกุ้งทั้งสามระยะที่แช่ด้วย Alteromonas sp. S9730 ไปเหนี่ยวนำให้เกิดโรคด้วย V. harveyi 1526 พบว่า ลูกกุ้งระยะไมซิสมีอัตรารอดสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนระยะซูเอียและโพสลาวี่ไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม |
Other Abstract: | Alteromonas sp. S9730 cultured in 20% dilution of marine broth can produce antibacterial substance againts pathogenic V. harveyi 1526. Their fresh cells can also inhibit virulent V. harveyi 1526 in seawater. Alteromonas sp. S9730 showed antibacterial activity against shrimp pathogenic bacterias: V. harveyi 6 strains, V. parahaemolyticus, V. vulnificus, and non-pathogenic V. alginolyticus by using a double layer method. Adding Alteromonas sp. S9730 at 10x10x10x10x10x10x10 CFU/ml in the culture water did not increase survival of Penaeus monodon in the 3 different stages studied: zoea, mysis, and postlarvae. However, after challenging by immersion with V. harveyi 1526, shrimp larvae in mysis stage showed significantly higher survival rate than those of the control group (p<0.05) but no different survival rates among the treatment and the control groups in zoeal and postlarval stages were found. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11619 |
ISBN: | 9740302696 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Khanittha.pdf | 4.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.