Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11646
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วาทิต เบญจพลกุล | - |
dc.contributor.author | สัญญา พินัยกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-11-04T02:12:30Z | - |
dc.date.available | 2009-11-04T02:12:30Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740303501 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11646 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการในการปรับปรุงถังรั่วแบบดั้งเดิมที่ใช้เป็นหน่วยควบคุมพารามิเตอร์การใช้ในโครงข่ายเอทีเอ็มที่มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับสภาพเลือกเฟ้นและความไว วิธีที่เสนอจะมีการดัดแปลงถังรั่วแบบดั้งเดิมให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้มีการตัดสินใจที่เร็วขึ้นและตัดบัฟเฟอร์ด้านเข้าออกเพื่อไม่ให้มีการหน่วงเวลาซึ่งจะทำให้ถังรั่วแบบใหม่มีความเหมาะสมกับทราฟฟิกที่ต้องการความเป็นเวลาจริง และมีการใช้โทเค็นพิเศษที่เรียกว่าเครดิตโทเค็น เครดิตโทเค็นนี้ได้มาจากการทำนายของตัวทำนายปริมาณเครดิตโทเค็นแบบฟัซซี ซึ่งจะทำนายจากปริมาณทราฟฟิกที่ผ่านเข้าไปในขณะนั้น ทำให้ระบบมีการปรับเปลี่ยนตัวเองตามเวลาและปริมาณข้อมูลที่เข้ามาตลอดเวลา ปริมาณเครดิตโทเค็นที่ได้จากการทำนายเป็นปริมาณโทเค็นที่จะให้สำหรับข้อมูลเบิรสต์ถัดไปที่กำลังจะวิ่งเข้ามาเพื่อแสดงถึงจำนวนของเซลล์ที่ยังสามารถผ่านเข้าสู่ระบบได้ แม้ว่าถังรั่วจะเต็มแล้วโดยที่ไม่โดนคัดทิ้งหรือโดนแท็ก วิธีการนี้สามารถทำให้ถังรั่วชนิดใหม่นี้ทำงานได้แม่นยำและรวดเร็ว นอกจากนี้คุณลักษณะทางสถิติของแหล่งกำเนิดที่หลากหลายยังส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานของถังรั่วแบบใหม่นี้ได้น้อยลง ผลจากการทดสอบในงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าถังรั่วแบบเครดิตโทเค็นมีความสามารถทางด้านสภาพเลือกเฟ้นสูงกว่าถังรั่วแบบดั้งเดิม สามารถลดปริมาณเซลล์ส่วนเกินจากอัตราข้อมูลที่ได้ตกลงไว้ไม่ให้เข้าสู่โครงข่ายได้ดีกว่าถังรั่วแบบดั้งเดิม ถึง 90%, 8% และ 77% ในกรณีของแหล่งกำเนิดเสียง ภาพนิ่ง และวิดีโอโฟนตามลำดับ โดยรักษาคุณภาพของการบริการที่ต้องการไว้ได้ และยังสามารถป้องกันการละเมิดอัตราข้อมูลที่ได้ตกลงกันไว้จากแหล่งกำเนิดที่มีการจัดรูปร่างข้อมูลให้มีลักษณะเหมือนกับแหล่งกำเนิดประเภท MMDP (Markov Modulated Deterministic Process) ได้ โดยช่วยลดอัตราข้อมูลส่วนเกินที่ผ่านเข้าสู่โครงข่ายได้ถึง 39%, 88% และ 55% ในกรณีของแหล่งกำเนิดเสียง ภาพนิ่ง และวิดีโอโฟนตามลำดับ ในขณะที่ถังรั่วแบบดั้งเดิมไม่สามารถป้องกันการละเมิดด้วยวิธีนี้ได้ ส่วนความสามารถทางด้านความไวนั้น ถังรั่วแบบเครดิตโทเค็นมีความสามารถทางด้านนี้ใกล้เคียงกับถังรั่วแบบดั้งเดิม คือมีความไวที่ดีกว่าสำหรับแหล่งกำเนิดข้อมูลเสียงและวิดีโอโฟนที่มีค่า Burstiness ไม่สูงมากนัก แต่สำหรับแหล่งกำเนิดภาพนิ่งซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดที่มีค่า Burstiness สูง ถังรั่วแบบเครดิตโทเค็นจะให้ความไวที่ด้อยกว่าถังรั่วแบบดั้งเดิมเล็กน้อย | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis proposes a method to improve the conventional Leaky Bucket (LB) in ATM Usage Parameter Control (UPC) that lacks selectivity and sensitivity performance. The proposed method has a small bufferless leaky bucket as a part of UPC system. These concepts yield a new system with more sensitive decision and less delay when applying to realtime traffic. Special tokens called "credit tokens" are used, the number of which is predicted out from fuzzy credit token predictor. This fuzzy predictor monitors trailing data passing through the UPC into network. The information from these monitored data makes the system dynamically adaptable to traffic condition. Credit tokens give special rights to the data cells for entering the network. The number of credit tokens which is equal to the number of cells that can enter network although the internal leaky bucket is fully filled. Credit token lifetime is valid only in a specific burst and a new group of credit tokens will be generated for the next burst. This new model, named Credit Token Leaky Bucket (CTLB), has good selectivity, good sensitivity and more tolerance to the statistical variation of the burst length. The simulation results show that CTLB has higher selectivity than Conventional LB. CTLB returns fewer excessive cells entering ATM networks than LB does (90%, 8% and 77% reduction of excessive cell) while CTLB maintains the negotiated QOS for non-violating sources. The CTLB can prevent the violation caused by MMDP (Markov Modulated Deterministic Process) sources (39%, 88% and 55% reduction of excessive cell) while sensitivity is not much different from that of LB. CTLB sensitivity for normal bursty voice and videophone sources is better than that of LB and a little worse than that of LB in case of still picture high bursty sources. | en |
dc.format.extent | 1095686 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เอทีเอ็ม (การสื่อสารข้อมูล) | en |
dc.title | การปรับปรุงถังรั่วแบบดั้งเดิมในการควบคุมพารามิเตอร์การใช้เอทีเอ็มโดยการใช้เครดิตโทเค็นและฟัชซีลอจิก | en |
dc.title.alternative | Improvement of conventional leaky bucket in ATM usage parameter control using credit token and fuzzy logic | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมไฟฟ้า | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Watit.B@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.