Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11651
Title: | กฎหมายต้นแบบของ UNCITRAL เกี่ยวกับการล้มละลายข้ามชาติ : ศึกษากรณีการยอมรับถึงผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต่างประเทศ |
Other Titles: | UNCITRAL model law on cross-border insolvency : case study on the recognition of judgement or order of the foreign court |
Authors: | มนุเชษฐ์ โรจนศิริบุตร |
Advisors: | มุรธา วัฒนะชีวะกุล วิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ล้มละลาย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษากฎหมายต้นแบบของ UNCITRAL เกี่ยวกับการล้มละลายข้ามชาติ (UNCITRAL Model Law on Cross-Border Insolvency) เกี่ยวกับการรับรองกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายต่างประเทศเป็นหลัก โดยศึกษาถึงเขตอำนาจรัฐ และเขตอำนาจศาลเหนือคดีล้มละลายข้ามชาติ ลักษณะที่มาของกฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลายข้ามชาติ และทฤษฎีว่าด้วยผลของกระบวนการล้มละลาย รวมทั้งวิเคราะห์การรับหลักการของประเทศไทยต่อกฎหมายต้นแบบฉบับนี้ด้วย ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า กฎหมายต้นแบบมีบทบัญญัติ และแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับ การรับรองกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายต่างประเทศ ซึ่งสามารถรองรับและเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น จากคดีล้มละลายข้ามชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่บทบัญญัติเกี่ยวกับการล้มละลายต่างประเทศในมาตรา 177 และมาตรา 178 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ของประเทศไทยมีความไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยและไม่สามารถรองรับต่อการจัดการ และแก้ไขปัญหาของคดีล้มละลายข้ามชาติให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีรวมทั้งบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการดำเนินกระบวนพิจารณา รวมถึงการไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอและเป็นธรรมด้วย โดยเฉพาะกับเจ้าหนี้ในประเทศไทยเอง ซึ่งอาจสูญเสียผลประโยชน์ที่ควรได้รับไป นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการค้า และการลงทุนในทางระหว่างประเทศอีกด้วย เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ต่อการได้รับความคุ้มครองที่เพียงพอ อันเนื่องมาจากการขาดกฎหมายรองรับในการแก้ไขปัญหา และสามารถปกป้องผลประโยชน์ต่อกิจการและทรัพย์สิน ที่มีอยู่ในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังไม่เอื้ออำนวยต่อพันธกรณี ในการเปิดเสรีทางการค้า จากการที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) อีกด้วย ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะว่า ประเทศไทยควรจะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการล้มละลายข้ามชาติขึ้น เพื่อจะได้สามารถรองรับกับคดีล้มละลายข้ามชาติได้ โดยเฉพาะการรับรองและการยอมรับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายต่างประเทศ ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอให้พิจารณาจากหลักการแห่งกฎหมายต้นแบบเป็นหลัก เพราะมีหลักการที่เด่น ไม่เคร่งครัดเกินไปนัก และมีความเป็นสากล โดยควรบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง ต่างหากจากกฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลายของประเทศไทยที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้มีความชัดเจนเนื่องจากกฎหมายรับหลักการ จะมีวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กับคดีล้มละลาย ที่มีองค์ประกอบพัวพันกับต่างประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้เสนอให้ศาลล้มละลาย รวมทั้งหน่วยงาน และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรับหลักการโดยตรง เพราะเป็นศาลชำนัญพิเศษและมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการรับหลักการ และกฎหมายรับหลักการนี้จะเป็นปัจจัยเอื้ออันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างชาติ เป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติให้มีมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และบุคคลผู้มี ผลประโยชน์ได้เสียในประเทศต่อคดีล้มละลายข้ามชาตินั้นให้ได้รับการจัดสรรชำระหนี้ที่เป็นธรรมยิ่งขึ้นอีกด้วย |
Other Abstract: | This thesis is aimed at exploring the UNCITRAL model law on cross-border insolvency, with particular emphasis on the recognition of a foreign insolvency proceeding. The study is also extended to the state and court jurisdiction over a cross-border insolvency case, the characteristic and origion of the law relating to cross-border insolvency, and the theory on consequence of insolvency proceeding. Morever, this is aimed to analyze the possibility of Thailand adopting this model law. The examination by this thesis reveals that while the model law sets out specific rules conjunction with the recognition of a foreign insolvency proceeding that effectively resolve the problems arising from the cross-border insolvency case, no particular law in this instance has been in place in Thailand. In addition, the unsuitable of Articles 177 and 178 of the Thailand Insolvency Act B.E. 2483 which can not deals with the cross-border insolvency case by effectively, affecting to the interested persons of the case that no obtain enough and fair protection, in particular to Thai creditors. All this, indeed, constitutes barriers to international trade and investment and it is not pursuant to Thailand's obligations of free-trading as Thailand has been a member of World Trade Organization (WTO). This thesis suggets that Thailand should, in effects, have the law relating to cross-border insolvency, to deal with the cross-border insolvency cases, in particular the recognition of foreign insolvency proceeding. This thesis suggests that underlying legal principles as contained in the model law be adopted as guidance for the enactment of specific legislation intended to be applicable to the recognition of foreign insolvency proceeding, due to its universal characteristic and no moreover strictly provided. Its promulgation should be separate from the existing law because of the enacting law is aimed to play a role in the insolvency cases having a foreign element. This thesis also suggests that the bankruptcy court, relating offices and officers should directly be the authority persons of the enacting law due to having theirs relate experiences. Finally, the enacting law will be the factors of investment promotion from aboard, creating confidence to foreign investors and protection the interests of creditors, debtors, and interested persons involving the cases, to obtain more fair practice and distribution. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11651 |
ISBN: | 9740315097 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Manuchest.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.