Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11704
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพโดยองค์รวม กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลที่เข้าร่วม โครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
Other Titles: Relationships between total quality management and effectiveness of patient units as perceived by staff nurses, hospitals participated hospital accreditation program
Authors: ละมัยพร โลหิตโยธิน
Advisors: พนิดา ดามาพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบริหารคุณภาพโดยรวม
ประสิทธิผลองค์การ
โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ
พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพโดยองค์รวม กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย และศึกษาตัวแปรการจัดการคุณภาพโดยองค์รวม ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการ จำนวน 320 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยปรับปรุงจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีจำนวน 2 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามการจัดการคุณภาพโดยองค์รวม และแบบสอบถามประสิทธิผลของหอผู้ป่วย หาค่าความเที่ยงด้วยวิธีของครอนบาค มีค่า .98 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ส่วนความสัมพันธ์ของตัวแปรรายด้านของการจัดการคุณภาพโดยองค์รวมคือ ด้านบุคลากรสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง ส่วนอีก 7 ด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ตัวแปรการจัดการคุณภาพโดยองค์รวมที่สามารถร่วมทำนายประสิทธิผล ของหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 คือ บุคลากรสัมพันธ์ (Empl Re) บทบาทของหอผู้ป่วย (Ward Rol) และการจัดการด้านกระบวนการ (Proc Mg) โดยสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของประสิทธิผล ของหอผู้ป่วยได้ร้อยละ 54.57 (R2 = .5457) โดยมีสมการทำนายดังนี้ Z = .3976 บุคลากรสัมพันธ์ + .2653 บทบาทของหอผู้ป่วย + .1709 การจัดการด้านกระบวนการ
Other Abstract: To study the relationships between total quality management and effectiveness of patient units and to determine variables which could predicted effectiveness of patient units, Hospitals participated, Hospital Accreditation Program. The sample of 320 staff nurses were selected through simple random sampling techniques. The two research instruments which were adopted and developed by the researcher, namely total quality management and effectiveness of patient units questionnaires, tested by Cronbach method were .98 and .96 respectively. The data were analyzed by using Stepwise Multiple Regression Analysis. The major finding were as follows: 1. There was highly positive relationship at .05 level between total quality management and effectiveness of patient units, while each element of total quality management, employee relations and other 7 elements were highly and middle positive relationships respectively with effectiveness of patient units at .05 level. 2. Variables that could predict effectiveness of patient units were employee relations, role of patient units and process management. The predictors accounted for 54.57 percent (R2 = .5457) of the variances. The function derived from the analysis was as follows: Z = .3976 Employee relations + .2653 Role of Patient units + .1709 Process management (standard scores).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11704
ISBN: 9743345493
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lamaiporn_Lo_front.pdf794.11 kBAdobe PDFView/Open
Lamaiporn_Lo_ch1.pdf868.11 kBAdobe PDFView/Open
Lamaiporn_Lo_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Lamaiporn_Lo_ch3.pdf805.99 kBAdobe PDFView/Open
Lamaiporn_Lo_ch4.pdf804.32 kBAdobe PDFView/Open
Lamaiporn_Lo_ch5.pdf909.22 kBAdobe PDFView/Open
Lamaiporn_Lo_back.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.