Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11745
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงลักษณ์ โควาวิสารัช | - |
dc.contributor.author | นันทนา ธินรุ่งโรจน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-12-08T03:47:06Z | - |
dc.date.available | 2009-12-08T03:47:06Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740304338 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11745 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | เสนอวิธีใหม่เพื่อใช้วัดความถูกต้องของภาพที่ ได้จากการแบ่งส่วนคือ วิธีวัดผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งรวบรวมข้อดีของวิธีวัดเชิงคุณภาพโดยให้ผู้วัดมีส่วนร่วมให้ความเห็น ในการวัดและข้อดีของวิธีวัดเชิงปริมาณ โดยวัดความถูกต้องของภาพที่ประเมินจากทั้งบริเวณและขอบของบริเวณที่แบ่งส่วน ได้ร่วมกัน ลักษณะสำคัญของวิธีวัดผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณคือ การกำหนดความสำคัญของบริเวณย่อยในภาพตามความเห็นของผู้วัด โดยการให้ค่าน้ำหนักแตกต่างกันตามระดับความสำคัญ และการใช้วิธีวัดเชิงปริมาณทั้งแบบคำนึงถึงบริเวณที่แบ่งส่วนได้เป็นหลัก และแบบคำนึงถึงขอบของบริเวณที่แบ่งส่วนได้เป็นหลักร่วมกัน ซึ่งผู้วัดต้องกำหนดด้วยว่า วิธีวัดแบบใดสำคัญกว่า วิธีวัดที่นำเสนอนี้สามารถนำไปใช้วัดความถูกต้องของภาพที่แบ่งส่วนได้ที่มี หลายวัตถุ โดยสามารถวัดได้ทั้งแบบรวมวัตถุหรือแยกวัตถุก็ได้ ผลการวัดเป็นเลขผสมผสานที่มีค่าอยู่ในช่วง 0 ถึง 1 โดยที่ค่า 1 หมายถึงถูกต้องสมบูรณ์ ส่วนค่า 0 หมายถึง ไม่มีความถูกต้อง ร่วมกับตัวอธิบายภาพต่างๆ ได้แก่ ซิกเนเจอร์ของบริเวณส่วนขาดและส่วนเกิน ช่องโหว่ในภาพ เปอร์เซ็นต์ของส่วนที่ซ้อนทับ เปอร์เซ็นต์ของส่วนเกินและเปอร์เซ็นต์ของส่วนขาด เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้วัด งานวิจัยนี้ยังได้พัฒนาโปรแกรมสาธิตวิธีวัดที่นำเสนอเพื่อทดสอบการนำไปใช้ งาน จากการทดลองพบว่า ผลของวิธีวัดที่นำเสนอสามารถแสดงความถูกต้องของภาพได้ชัดเจนกว่า ผลของวิธีวัดเชิงปริมาณวิธีใดๆ และมีค่าสอดคล้องในทำนองเดียวกับผลการวัดจากวิธีวัดเชิงคุณภาพ นอกจากนี้วิธีวัดที่นำเสนอที่มีการกำหนดความสำคัญของบริเวณย่อยนั้น ให้ผลการวัดที่ชัดเจนกว่าไม่มีกำหนด และเมื่อกำหนดความสำคัญของวิธีวัดเชิงปริมาณแตกต่างกัน ผลของวิธีวัดที่นำเสนอจะมีค่าต่างกันด้วย อีกทั้งการวัดแบบแยกวัตถุ ทำให้ผู้วัดสามารถวิเคราะห์ภาพได้ละเอียดกว่าการวัดแบบรวมวัตถุ และแม้ว่าวิธีวัดที่นำเสนอจะมีลักษณะของวิธีเชิงคุณภาพรวมอยู่ ผลการวัดก็ไม่แปรปรวนเท่าวิธีวัดเชิงคุณภาพ | en |
dc.description.abstractalternative | To present a new segmentation validation method, namely, "Qualitative and Quantitative Methods for Segmentation Validation Approach". This method combines the advantage of qualitative methods in that it allows users to blend their opinion in the segmentation validation process, and the advantage of quantitative methods in that it evaluates the image from both region and boundary of segmented areas. The main characteristics of this method are as follows: defining different weights to different sub-regions depending upon level of importance, and applying one region-based quantitative method and one boundary-based quantitative method in the process. Besides, users have to define which quantitative method is more important. The proposed method can be used with the images that consist of several segmented areas either by comparing segmented areas in groups or by comparing all areas at once. The result is a "combined number" which ranges from 0, totally incorrect, to 1, perfectly correct. Apart from the combined number, many image descriptors are provided to give more validation details. These descriptors are signatures of exceeding areas and missing areas, holes, and percentages of intersecting areas, missing areas and exceeding areas. In this research, a demonstrative program is also developed for testing the proposed method. The experiments reveal that the results from the proposed method yield clearer correctness than those from other existing quantitative methods. The results also correspond to those from the existing qualitative method. Moreover, it has been found that, when using weights in sub-regions, the proposed method gives more obvious results. Different priorities of quantitative methods expose different results. Results from comparing in groups of segmented areas provide more details than those from comparing all areas at once. Lastly, the results from the proposed method are found to be accurate even though it adopts the character of qualitative method. | en |
dc.format.extent | 3780881 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การประมวลผลภาพ -- เทคนิคดิจิตอล | en |
dc.subject | การวิเคราะห์ข้อมูลภาพ | en |
dc.title | วิธีวัดความถูกต้องสำหรับการแบ่งส่วนภาพโดยการใช้วิธีวัดเชิงคุณภาพและวิธีวัดเชิงปริมาณร่วมกัน | en |
dc.title.alternative | An image segmentation validation approach using a combination of qualitative and quantitative methods | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | nongluk.c@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nantana.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.