Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11798
Title: | ผลของการใช้โปรแกรมการสอนเพื่อเตรียมตัวคลอดที่เน้นการสนับสนุนจาก สามี ต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ในระยะคลอดของหญิงครรภ์แรก |
Other Titles: | Effects of childbirth preparation program emphasizing husband's support on pain level and pain coping behaviors during delivery of primigravida |
Authors: | สุจินดา ตรีเนตร |
Advisors: | สุชาดา รัชชุกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suchada.Ra@Chula.ac.th |
Subjects: | ความเจ็บปวด การคลอด สูติกรรม -- การศึกษาและการสอน สามี Pain Labor (Obstetrics) Childbirth -- Study and teaching |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ในระยะคลอดของหญิงครรภ์แรก ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนเพื่อเตรียมตัวคลอด ที่เน้นการสนับสนุนจากสามีกับลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์ และคลอดที่โรงพยาบาลบ้านโป่ง จำนวน 30 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คน กำหนดให้ทั้ง 2 กลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน ในด้านอายุ ระดับการศึกษา ลักษณะอาชีพ ระดับสัมพันธภาพระหว่างสามีและภรรยา และการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการสอนเพื่อเตรียมตัวคลอดที่เน้นการสนับสนุนจากสามี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดระดับความเจ็บปวดชนิด Visual Analogue Scale (ค่าความเที่ยงเท่ากับ .95) และแบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด (ค่าความเที่ยงเท่ากับ .92) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ The Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับความเจ็บปวดในระยะคลอดของหญิงครรภ์แรก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนเพื่อเตรียมตัวคลอดที่เน้นการสนับสนุนจากสามี ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของหญิงครรภ์แรก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนเพื่อเตรียมตัวคลอดที่เน้นการสนับสนุนจากสามี ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | To compare pain level and pain coping behaviors during delivery of primigravida between the primigravida group who received childbirth of preparation program emphasizing husband's support and those by normal preparation group. Research samples consisted of 30 primigravidas, who attended prenatal clinic and were later admitted to labor and delivery unit of Bangpong Hospital. They were selected by purposive sampling technique into experimental and control group, 15 subjects each group. Both groups were equally assigned by age, literacy rate, occupation, relationship of husband and wife level and medication for induced labour. The research instruments were the childbirth of preparation program emphasizing husband's support. The pain level form type VAS (reliability = .95). The labor pain coping behavior observation form (reliability = .92). The data were analyzed by using the Mann-Whitney U Test. The major findings were as fallows: 1. Pain level during delivery of primigravida group who received childbirth of preparation program emphasizing husband's support was significant lower than normal preparation group, at the .05 level 2. Pain coping behaviors during delivery of primigravida group who received childbirth of preparation program emphasizing husband's support was significant better than normal preparation group, at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11798 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.658 |
ISBN: | 9741703236 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.658 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sujinda.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.