Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11817
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัมพร ทีขะระ | - |
dc.contributor.author | ปรางทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-12-09T09:38:04Z | - |
dc.date.available | 2009-12-09T09:38:04Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745680249 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11817 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่า หนังสือหายากภาษาไทยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนารถ ในห้องสมุดอนุสรณ์ที่หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 969 เล่ม ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาเนื้อหาหนังสือหายากภาษาไทยส่วนพระองค์ในห้องกรมพระจันทบุรีนฤนา รถ 2. เพื่อศึกษาลักษณะและหนังสือหายากภาษาไทยเหล่านั้นในแง่ของหนังสือหายาก 3. เพื่อประเมินค่าของหนังสือหายากดังกล่าวในฐานะเป็นวัสดุสูงค่า ของมหาวิทยาลัยอันควรแก่การสงวนรักษา ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า หนังสือหายากภาษาไทยส่วนพระองค์มีเนื้อหาหนักไปทางด้านมนุษยศาสตร์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดศาสนา วรรณคดี ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ รองลงมาเป็นเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์และเบ็ดเตล็ดมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากเกณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อประเมินค่าหนังสือหายากภาษาไทยส่วนพระองค์ใน ห้องกรมพระจันทบุรีนฤนาถ จำนวน 969 เล่ม พบว่า หนังสือภาษาไทยส่วนพระองค์เป็นหนังสือหายากประเภทที่มีประวัติการครอบครอง มากที่สุด หลักฐานการครอบครองได้แก่ บรรณสิทธิ์ ลายพระหัตถ์ ลายมือหรือภาพของผู้เขียน และเอกสารที่ปะคั่นสอดแทรกอยู่ภายในหนังสือนั้น รองลงมาเป็นหนังสือหายากประเภทที่มีความสำคัญทางด้านประวัติการพิมพ์ใน ประเทศไทย หนังสือเก่าแต่มีสภาพสมบูรณ์และมีรูปเล่มประณีตสวยงาม และหนังสือที่มีเนื้อหาเป็นที่กล่าวขวัญถึง จากการศึกษาถึงแหล่งที่พิมพ์ละช่วงเวลาที่พิมพ์หนังสือหายากภาษาไทยส่วน พระองค์ ปรากฏว่า หนังสือพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2461-2474 นั้นพิมพ์โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรณนากรมากที่สุด รองลงมาเป็นหนังสือพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2441-2460 ส่วนใหญ่พิมพ์โดยโรงพิมพ์ไทย และที่น้อยที่สุดเป็นหนังสือที่พิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2421-2440 หนังสือส่วนใหญ่ในช่วงนี้พิมพ์โดยโรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย ในกลุ่มสุดท้ายมีหนังสือเก่าซึ่งเป็นเอกสารปฐมภูมิในด้านประวัติการพิมพ์ของ ไทย 2 เล่ม คือ หนังสือที่พิมพ์โดยโรงพิมพ์ครูสมิทเมื่อ พ.ศ. 2406 1 เล่ม กับโรงพิมพ์หมอบลัดเลเมื่อ พ.ศ. 2415 1 เล่ม หนังสือที่จัดทำอย่างประณีตสวยงามส่วนใหญ่พิมพ์โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร และมีหนังสืออีกจำนวนหนึ่งที่ไม่แจ้งชื่อโรงพิมพ์ด้วย สำหรับการประเมินราคานั้น ปรากฏว่า ยังไม่มีเกณฑ์ประเมินราคาหนังสือหายากที่แน่นอนในการค้าหนังสือเก่าของไทย ในการวิจัยเรื่องนี้มีการเสนอหลักพิจารณาอย่างคร่าวๆ โดยดูจากเนื้อหา ครั้งที่พิมพ์ แหล่งต้นฉบับ ปีพิมพ์ และโอกาสที่พิมพ์ สำหรับราคาประเมินของหนังสือหายากภาษาไทยส่วนพระองค์ ในห้องกรมพระจันทบุรีนฤนาถจากการวิจัยครั้งนี้ คิดเป็นเงินงบประมาณ 130,146 บาท ข้อเสนอแนะสำหรับหอสมุดกลาง เนื่องจากหนังสือหายากภาษาไทยส่วนพระองค์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านมนุษยศาสตร์ และประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย หอสมุดกลางจึงควรมีการประชาสัมพันธ์โดย 1. เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับหนังสือหายากในห้องกรมพระจันทบุรีนฤนาถเป็นบริการต่อ ผู้ใช้ 2. จัดนิทรรศการตามโอกาสอันควร 3. นำหนังสือที่น่าสนใจมาจัดพิมพ์ใหม่ในโอกาสพิเศษ 4. รวบรวมบรรณานุกรมประกอบบรรณนิทัศน์ของหนังสือหายากของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ 5. นำหนังสือหายากมาถ่ายทำเป็นไมโครฟิล์มออกให้บริการ เพื่อรักษาสภาพฉบับพิมพ์ทุกเล่มไว้ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการวิจัยต่อไปเพื่อประเมินค่าหนังสือหายากภาษาต่างประเทศ ให้ห้องกรมพระจันทบุรีนฤนาถ 2. ควรได้มีการศึกษาวิธีอนุรักษ์หนังสือหายากที่เหมาะสม สำหรับอากาศในประเทศไทย 3. ควรได้มีการศึกษาเปรียบเทียบความต้องการ ของผู้ใช้ห้องสมุดหนังสือหายากในกรุงเทพมหานคร 4. ควรได้มีการสำรวจและเปรียบเทียบปัญหาในการดำเนินงานห้องสมุด หนังสือหายาก 5. ควรได้มีการศึกษาเรื่องความนิยมในการออกแบบรูปเล่มหนังสือ และการออกแบบบรรณสิทธิ์ของไทย | en |
dc.description.abstractalternative | Purposes to evaluate 969 Thai rare books in H.R.H. Krom Pra Chandaburinarunath Memorial Collection at the Central Library of Chulalongkorn University with the objectives to study their contents, evaluate them by rare book criteria, and appraise them as valuable property worthy for preservation. Finds out from the research results that content of the rare books are predominantly in the field of humanities, most of them are characterized by their provenance, the largest group was printed in the period between B.E. 2461-2474, and there is no current criteria to estimate the price of these rare books. Gives recommendations for the Central Library as well as suggestions for other researchers. | en |
dc.format.extent | 52717659 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | จันทบุรีนฤนาถ, กรมพระ, 2417-2474 | en |
dc.subject | หนังสือหายาก -- ไทย | en |
dc.subject | หนังสือและการอ่าน -- ไทย | en |
dc.subject | การพิมพ์ -- ไทย -- ประวัติ | en |
dc.title | การประเมินค่าหนังสือหายากภาษาไทยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ในห้องสมุดอนุสรณ์ที่หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title.alternative | The evaluastion of Thai rare books of H.R.H.Krom Pra Chandaburinarunath in his memorial collection, at the central library, Academic Resource Center, Chulalongkorn University | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บรรณารักษศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prangthip.pdf | 51.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.